December 17, 2019 14:26
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากมีการใช้เท้าข้างที่มีกระดูกหักค้ำยันเพื่อไม่ให้มอเตอร์ไซค์เสียหลักล้มก็มีโอกาสที่จะทำให้กระดูกมีการเคลื่อนจากตำแหน่งที่ใส่เฝือกไว้ได้ครับ และการถอดเฝือกออกเป็นครั้งคราวนั้นก็จะมีโอกาสทำให้กระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งได้เช่นกัน
หลังจากนี้หมอแนะนำว่าควรใส่เฝือกเอาไว้ตลอดเวลาและถ้าหากจะต้องเดินก็ควรมีการใช้ไม้ค้ำยันเพื่อช่วยให้ขาไม่ต้องรับน้ำหนักเสมอ และถ้าหากเป็นไปได้หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ก่อนนัดเพื่อเอ็กซเรย์ดูด้วยว่ากระดูกมีการเคลื่อนและต้องมีการจัดให้เข้าที่ใหม่อีกครั้งหรือไม่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กระดูกนิ้วเท้านิ้วนางข้างขวาหักค่ะ ก่อนอื่นขอเล่ารายละเอียดค่ะ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ดิฉันถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนแนวขวางตอนขับไปทำงาน เมื่อไปถึงมือหมอก็มีแผลถลอกตามตัวค่ะ และพอไปเเอ็กซเรย์กระดูกเท้าข้างที่รู้สึกปวด ทำให้รู้ว่ากระดูกนิ้วเท้าข้างขวานิ้วนางหักค่ะ ซึ่งคุณหมอได้ใส่เฝือกปูนครึ่งนึงแล้วพันไว้เป็นเวลา 2 อาทิตย์และไปเอ็กซเรย์กระดูกอีกรอบวันที่ 4 ธันวาคมค่ะ พอถึงวันนัดเอ็กซเรย์กระดูกออกมา ยังไม่ติดกันดี คุณหมอเปลี่ยนเป็นเฝือกอ่อนให้ แล้วนัดตรวจอีกทีวันที่ 25 ธันวาคมค่ะ ซึ่งในช่วง 2 อาทิตย์กว่าหลังจากเปลี่ยนเฝือก สามีได้ไปทำงานที่ ตจว ดิฉันต้องอยู่คนเดียว ทำอะไรลำบาก เลยถอดเฝือกเพื่อเดินค่ะ ข้างที่กระดูกหัก ใช้ส้นเท้าลงเวลาเดินค่ะ พอตอนนอนก็กลับมาใส่เฝือกไว้เหมือนเดิม มีวันนี้ค่ะ 17 ธันวาคม ดิฉันต้องออกไปรับเอกสารตรงสำนักงานหน้าหอ เลยขับมอเตอร์ไซค์เลยค่ะ แต่รถสูงเลยทำให้เสียหลักก่อนออกรถแล้วเผลอใช้เท้าขวาค้ำไว้ไม่ให้รถเสียหลักล้ม กลับมาถึงห้อง รู้สึกไม่ดีเลยค่ะ กลัวกระดูกไม่ติด เพราะเผลอไปทำแบบนั้น แต่ที่ไปเพราะเหตุจำเป็นค่ะ โอกาสที่กระดูกจะแยกออกจากกันเพราะใช้เท้าค้ำนั้นมีมากมั้ยค่ะ ตอนนี้กังวล จิตตก กลัวไปเอ็กซเรย์แล้วจะไม่ติดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)