September 01, 2019 11:30

ดฺิฉันอายุ 60 ปี มีอาการผิดปกติทางการถ่ายหนักมาไม่กี่ปีนี้โดยเริ่มถ่ายแบบอุจจาระลำเล็กผอม แล้วบางครั้งเหมือนปวดหนักแต่พอเข้าห้องน้ำก็กลับไม่ถ่ายแต่มีแต่ลมออกมาค่ะ....แล้วระยะหลังก็เหมือนชอบถ่ายแล้วเหมือนถ่ายไม่สุดเหมือนมันตุงๆอยู่ปลายทวารหนัก คล้ายๆบิดในบางครั้ง....ที่ผ่านมาแม้แต่ทานผักหรือกล้วยในระยะหลังๆไม่กีเดือนนี้ก็ไม่เคยถ่ายแบบเป็นท่อนยาวทีเดียวเลย จะเป็นนุ่มๆเละๆเสียส่วนใหญ่......แต่ไม่มีอาการปวดในช่องท้อง มีแต่บางคร้้งถ้านั่งถ่ายนานๆ จะปวดตุ๊บๆที่ปลายช่องทวารค่ะ....อ้อ แต่เคยเป็นริดสีดวงทวารมาก่อนมีติ่งเล็กๆที่ปลายทวาร และเคยดื่มน้ำน้อยถ่ายแข็งหน่อยก็จะมีเลือดออกมาสีแดงสดออกมากับอุจจาระบ้างไม่กี่หยด.....แต่ความรู้สึกคือเหมือนเลือดออกจากริสีดวงหลบในด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ!!!......แล้วที่สำคัญระยะไม่กี่ปีหลังๆมานี้ เวลาถ่ายอุจจาระแล้วมันจะลงโถส้วมแบบเอียงๆไปข้างเดียว แบบถ่ายเฉียงลงไป ไม่ตรงถ้าเราเบ่งนะะคะ เหมือนปลายลำไส้ที่ทวารหนักมีก้อนริดสีดวงหรือเนื้องอกขวางคาอยู่ด้านขวาตุงๆทำให้อุจจาระออกมาได้ไม่ตรงทางค่ะ.....เชื่อว่าอยากไปส่องกล้องดูค่ะ เพราะคิดว่าเป็นริดสีดวงหลบในหรือเนื้องอกปิดกั้นปลายทวารหนักแน่นอน....จะไปพบแพทย์ได้โดยตรงทางไหนบ้างคะ/////และส่องกล้องโรงพยาบาลเอกชนแพงมากระดับไหน.....อยากได้การตรวจส่องกล้องก่อนเลยค่ะ........แต่หากต้องเป็นมะเร็งปลายลำไส้ใหญ่จริงๆ ก็คงต้องไปรักษาหรือหาทางอื่นในโรงพยาบาลรัฐต่อไป เพราะเอกชนแพงมาก.....ขอบพระคุณสำหรับคำตอบและคำแนะนำนะคะ

ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)

ดูคำถามและคำตอบอื่นที่คล้ายกัน
อยากทราบเกี่ยวกับโรคฝีคันทสูตรค่ะ เพราะคอนนี้เป็นอยู่ มีแนวทางการรักษาแบบไหน หรือต้องผ่าตัดอย่างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปกติเป็นคนถ่ายแข็งอยู่แล้วแต่ช่วงนี้รู้สึกมีก้อนที่บริเวณทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทวารหนักตีบจากการผ่าตัดริดสีดวง2ครั้งมีวิธีรักษามั้ยคะนอกจากการถ่างขยายรูทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)