May 30, 2019 23:05
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการแพนิคไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตครับ แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการตรวจประเมินอาการให้มั่นใจได้ก่อนว่าไม่ได้มีสาเหตุที่เป็นอันตรายและมีอาการคล้ายโรคแพนิคได้ซ่อนอยู่ เช่น ความผิดปกติของหัวใจ ไทรอยด์เป็นพิษ โรคหอบหืด ฯลฯ
ในกรณีที่เป็นโรคแพนิคจริง สาเหตุของอาการก็จะเกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติในร่างกายที่มากกว่าปกติเป็นครั้งคราว โดยอาการเหล่านี้ก็มักเกิดขึ้นมาเองโดยที่ไม่ได้ตั้งตัว ทำให้หลายๆคนกลัวที่จะเกิดอาการและควบคุมตัวเองไม่ได้ และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆตามมาครับ
การรับมือกับโรคแพนิคนั้นจึงต้องเริ่มจากการฝึกการควบคุมสติของตนเองก่อน ต้องบอกกับตนเองอยู่เสมอว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่ชั่วคราว ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ร่วมกับการฝึกทักษะการสร้างความผ่อนคลายให้กับตนเอง เช่น การกำหนดลมหายใจ การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจต้องมีการใช้ยาช่วยเพื่อควบคุมอาการและความกังวลที่มีต่อโรคแพนิคครับ
โรคแพนิคเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้ รวมถึงสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าหากรู้เท่าทันโรค และได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง เมื่อเป็นโรคแพนิคจึงควรไปติดตามอาการกับจิตแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
เหมือนที่คุณหมอว่าไว้นะครับ สิ่งที่สำคัญที่แฟนคุณอาจจะต้องตระหนักไว้ก็คืออาการแพนิค จะไม่ทำให้ถึงชีวิตครับ ถึงแม้ว่าตนเองจะรู้สึกว่าหัวใจจะเต้นแรงมาก หรือมีความรู้สึกที่เหมือนจะตายให้ได้ก็ตาม เมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือการอยู่กับปัจจุบัน และหายใจครับ
การหายใจถือเป็นหัวใจสำคัญมากๆเมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้น และพยายามหาที่นั่งที่ปลอดโปร่งอาการถ่ายเทดี โดยสิ่งที่ต้องระวังก็คือการแพนิคสามารถทำให้เป็นลมได้ และอาจจะเกิดการล้ม และเกิดการบาดเจ็บจากการล้มได้ อันนี้ต้องระวังนะครับ
ในส่วนของการแก้ไขเรื่องอาการแพนิค อาจจะต้องดูสาเหตุ ตัวกระตุ้น สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการแพนิคนี้ก่อน ถ้าหากว่าหลีกเลี่ยงได้ก็ให้ลองหลีกเลี่ยงไว้ แต่ถ้าหากว่าสิ่งกระตุ้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้และต้องเจอในชีวิตประจำวัน หรือเจอบ้างเป็นบางครั้ง ก็อาจจะต้องลองดูในเรื่องของการพบจิตแพทย์เพื่อรับยา หรือการทำบำบัดเพื่อลดอาการแพนิค หรือเสริมทักษะการรับมือเมื่อเกิดอาการแพนิค กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งการฝึกตรงนี้ก็จะสามาถรเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้แฟนคุณสามารถจัดการกับอาการได้ดีขึ้นครับ
การดูแลตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน ความเครียด ความกดดัน สภาพจิตใจ เพราะหากว่าเป็นช่วงที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนน้อย หรือมีความเครียด ความกดดันเข้ามามากๆ ก็มีสิทธิที่จะทำให้เกิดอาการแพนิคได้ง่ายขึ้นนะครับ ดังนั้นการทำให้จิตใจสงบและร่างกายได้รับการพักผ่อนและดูแลที่ดี ก็อาจจะช่วยลดอาการการเกิดแพนิคได้ครับ สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการแพนิค ไม่อันตรายถึงแก่ชีวิตนะคะ
อาการแพนิค เกิดจากความวิตกกังวล กลัวที่มีมากเกินระดับปกติ ส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติในร่างกายทำงานไวขึ้น และแสดงอาการทางร่างกายออกมา เช่น ใจสั่น หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก มือ เท้าชา หน้ามืด เป็นลม เมื่อมีอาการทางกายเกิดขึ้น ตัวผู้ป่วยก็จะยิ่งกังวลกลัวมากกว่าเดิม เมื่อวิตกกังวลมากขึ้นจะควบคุมอาการไม่ได้ และจะกลัวว่าจะมีอาการเกิดขึ้นอีก จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เนื่องจากอาการของแพนิคจะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน และหาสาเหตุไม่ได้ว่าจะเกิดอาการเพราะตัวกระตุ้นใด เช่น ไม่กล้านอนเพราะกลัวจะมีอาการตอนนอนหลับ ไม่กล้าไปไหนมาไหน เพราะกลัวจะไม่มีอาการข้างนอกแล้วไม่มีใครช่วย ไม่กล้าอยู่คนเดียว เป็นต้น
การรักษามีทั้งการรักษาด้วยยาเพื่อลดความวิตกกังวล ร่วมกับการทำจิตบำบัด ฝึกผ่อนคลายความเครียด วิตกกังวล
สำหรับวิธีการรับมือ กับอาการแพนิค เมื่อเริ่มรู้สึกว่าจะมีอาการ ให้ตั้งสติ หาที่สงบๆ กำหนดลมหายใจเข้าออก ช้าๆลึกๆ และบอกตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงภาวะวิตกกังวลที่มากเกินปกติ เมื่อลดความวิตกกังวลได้อาการจะสงบลง อาการแพนิคไม่อันตราย ทำไปเรื่อยๆจะช่วยให้อาการสงบลงได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หมอค่ะแฟนหนูเป็นโรคแพนิคอ่ะค่ะ ต้องทำยังไงค่ะ มีการรับมือแบบไหนบ้างค่ะ อาการแพนิคอันตรายถึงชีวิตเลยป่าวว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)