August 07, 2019 11:23
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
เบื้องต้นเเนะนำให้พยายามมีเพศสัมพันธ์ ช่วงไข่ตกครับ
กรณี ที่จะนับวันตกไข่ได้ ต้องมีประจำเดือนสม่ำเสมอครับ
เช่น
รอบเดือนหนึ่งมี 28 วัน ไข่จะตกช่วง 14 วันก่อนมีประจำเดือน คือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน
แต่หากรอบเดือนของเรามี 30 วัน ไข่ก็จะตกประมาณวันที่ 16 ของรอบเดือนครับ นับจากวันที่ประจำเดือนมาวันแรก เป็นต้น
อาการช่วงตกไข่ เช่น คัดเคต้านม มีตกขาวมากขึ้น มีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้นครับ
ถ้าพยายามมีลูกมานานเกิน 1 ปีแล้ว แนะนำปรึกษาแพทย์ครับ เพื่อหาสาเหตุ ควรพบสูตินรีเเพทย์ ตาม รพใหญ่ๆ ที่มีศูนย์ดูแลเรื่องการมีบุตรยาก
...........
การมีบุตรยาก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ครับ
ทั้งสาเหตุ จากฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง
...........
สาเหตุ ทางฝ่ายชาย ส่วนใหญ่ เกิดจากน้ำเชื้อผิดปกติมีจำนวนน้อยหรือรูปร่างผิดปกติ
...........
สาเหตุทางฝ่ายหญิง
เช่น ไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตัน โพรงมดลูกมีพังผืด มีก้อนเนื้อ
จะมีการตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์
อาจมีการตรวจฉีดสีดูท่อนำไข่ ตรวจเลือดดูฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
กรณี คนไข้ ต้องการมีบุตร โดยที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอย่างสม่ำเสมอ และไม่ได้คุมกำเนิด แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ใน 1 ปี แนะนำว่าคนไข้ควรไปพบแพทย์ครับ
การรักษาเรื่องภาวะการมีบุตรยากนั้น ไม่สามารถใช้สิทธิการรักษาพื้นฐาน เช่น สิทธิ์ประกันสังคม หรือ สิทธิสามสิบบาทได้ครับ
ในกระบวนการตรวจเกี่ยวกับการมีบุตรยาก คนไข้ ต้องได้รับการตรวจระบบอื่นๆด้วย รวมถึง ตรวจร่างกายคู่สมรสด้วยค่ะ เนื่องจากการมีบุตร ต้องเป็นควาทพร้อมทางร่างกายและจิตใจของทั้งสองฝ่ายครับ
หากคู่สมรส ทีบุตรยาก และต้องการทีบุตร จะต้องตรวจเช็คร่างกายต่างๆ ดังนี้ครับ
1.ความบูรณ์ของฝ่ายชาย ได้แก่ สุขภาพร่างกายโดยทั่วไป น้ำเชื้อของฝ่ายชาย คุณภาพน้ำเชื้อของฝ่ายชาย เป็นต้นค่ะ รมไปถึง การแก้ไขปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยากอื่นๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรามากๆ เป็นต้น
2.ความสมบูรณ์ของฝ่ายหญิง ได้แก่ สุขภาพโดยทั่วไป เช่น โรคประจำตัวต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เลือดจาง ตับ ไต เป็นต้น สุขภาพของระบบสืบพันธ์ เช่น รังไข่ มดลูก อุ้งเชิงกราน และอายุของฝ่ายหญิง (เนื่องจาก อายุมากกว่า 40 ปี โอกาสจะตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ก้อาจไม่มากอยู่แล้ว และอาจมีผบแทรกซ้อนจากการตั้งครรภฺมากครับ) ไปจนถึง ระบบฮอร์โมนเพศต่างๆครับ
ในการตรวจเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธ์และเรื่องการมีบุตรยากนี้ แนะนำให้พบ สูติรีแพทย์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำไรกับแฟนมา5เดือนแล้วค้ะแต่ไม่ท้อง้ลยเป็นหมันรึป้าวค้ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)