July 12, 2019 17:59
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
โรคเริมที่ริมฝีปาก เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่มักไม่หายขาด และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ครับ
>อาการของผู้ที่เป็นโรคเริมที่ปาก มักจะค้นพบตุ่มแดง ๆ ใส ๆ เกิดขึ้นบริเวณปากบนและปากล่าง อีกทั้งยังคงรู้สึกคัน และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา
>โรคเริมที่ริมฝีปาก เกิดขึ้นได้เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส Herpes โดยทางสัมผัสกับตุ่มของคนที่เป็นมาก่อนโดยตรง เช่น การจูบ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน เป็นต้น
>เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายและทำการฟักตัวภายใน 2 – 10 วัน และหลังจากนั้นก็จะเกิดเป็นตุ่นน้ำใส ๆ ขึ้นเป็นกลุ่มบริเวณริมฝีปากอย่างรวดเร็ว ซึ่งตุ่มน้ำใส ๆ นี้จะทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน แต่จะแห้งและหายไปภายใน 7-10 วัน
>คนที่เคยเป็นแล้ว จะไม่หายขาด แต่จะมีช่วงที่อาการสงบครับ ความเครียด การพักผ่อนน้อยเป็นอีกสองสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคเริมซ้ำได้เช่นเดียวกัน
>>การรักษา โรคเริมที่เกิดขึ้นบริเวณปาก ถือได้ว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่อย่างใด หลังจากที่เป็นประมาณ 2 สัปดาห์ โรคเริมจะค่อย ๆ แห้งและหายไปเอง แต่ถ้าหากต้องการหายจากโรคเริมอย่างรวดเร็ว สามารถเลือกซื้อยาต้านเชื้อไวรัสเฉพาะที่ มาทาบริเวณที่เกิดโรคเริมได้เช่นเดียวกัน อีกทั้งผู้ป่วยยังคงสามารถรับประทานยาอะไซโคลเวียร์ร่วมด้วยได้ (ทานยาประมาณ 5 วันค่ะ) และถ้าหากมีอาการปวดมาก ยังคงสามารถประคบด้วยน้ำเกลือหรือน้ำเย็นที่บริเวณแผล วันละประมาณ 4-5 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการปวดให้ลดลงได้นั่นเอง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ โรคเริมถ้าติดมาแล้วจะรักษาไม่หายขาดค่ะ จะเป็นไปตลอดชีวิต โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes Simplex ซึ่งไวรัสนี้จะแฝงอยู่ในน้ำลาย น้ำเหลือง อสุจิ เข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง เยื่อเมือก เยื่อบุช่องปาก เมื่อหายจากอาการแล้ว เชื้อไวรัส Herpes Simplex จะไปซ่อนอยู่ที่ปมประสาทค่ะ เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ เครียด ภูมิคุ้มกันต่ำก็จะกลับมาเป็นเริมได้ใหม่ ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้ค่ะ สำหรับโรคเริมจะเป็นลักษณะกลุ่มน้ำตุ่มใส มีอาการแสบร้อนที่ตุ่ม เมื่อแห้งจะตกสะเก็ด บางรายอาจมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกายได้
การรักษาเพื่อให้อาการสงบลง
สำหรับการติดเชื้อเริมครั้งแรกในช่องปากหรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 5 ครั้ง ทุก ๆ 4 ชั่วโมง (เว้นช่วงนอนหลับตอนดึก) หรือให้รับประทานในขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 10-14 วัน สำหรับการติดเชื้อซ้ำในบริเวณช่องปาก (ริมฝีปากด้านนอก เหงือก หรือเพดานปาก) หรืออวัยวะเพศ แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ทุก ๆ 8 ชั่วโมง นาน 5 วัน นอกจากนี้อาจพิจารณาให้ยาทา Acyclovir cream หรือชื่อการค้าตามตลอดทั่วไปคือ Vilerm หรือ Zovirax ค่ะ เบื้องต้นแนะนำให้ไปพบแพทย์ค่ะ ยาที่ใช้รักษาจำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้นค่ะ สำหรับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศซ้ำอยู่บ่อยๆ (มากกว่าปีละ 6 ครั้ง) แพทย์จะให้รับประทานยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
มีโอกาสหายได้ครับ
แนะนำให้ไปพบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด
บางครั้งถ้าเริ่มเป็นแล้วรีบไปพบแพทย์ หรือมีโรคเริมเป็นซ้ำบ่อยๆ
อาจมีข้อบ่งชี้ในการกินยาลดจำนวนไวรัส เพื่อลดระยะเวลาการเป็นโรค/การเจ็บปวด ลดระยะเวลาการแพร่เชื้อ และลดโอกาสการเป็นซ้ำครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หมอครับผมอยากทราบว่าโรคเริมเป็นแล้วไม่หายใช่ไหมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)