August 26, 2019 04:33
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการข้างต้นมีลักษณะที่คล้ายกับโรคแพนิคอยู่ครับ เพียงแต่ว่าอาการในลักษณะนี้ก็อาจเกิดจากอาการทางกายบางอย่างที่อาจมีอันตรายได้ เช่น
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- โรคหอบหืด
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- มีฮอร์โมนของระบบประสาทอัตโนมัติหลั่งออกมามากเกินไป
.
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์อายุรกรรมเพื่อตรวจหาประเมินอาการทางกายเป็นอันดับแรกก่อน ถ้าหากตรวจแล้วไม่พบอาการทางกายที่เป็นสาเหตุจึงให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินเรื่องอาการแพนิคเป็นลำดับต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
เท่าที่เล่ามา อาการที่เกิดขึ้นก็ดูคล้ายกับอาการแพนิค panic ที่มีรากฐานมาจากความวิตกกังวลของคุณที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งปัจจัยด้านความไม่เข้มแข็งทางด้านจิตใจ หรือสิ่งเร้าภายนอกที่มีผลกระทบกับตัวคุณมากจริงๆ ซึ่งในเบื้องต้นแนะนำนะครับว่าให้เข้าพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือที่เหมาะสมจะดีที่สุด ซึ่งทางเลือกในการช่วยให้คุณรับมือกับอาการแพนิคได้ดีขึ้นมีหลากหลายมากครับ ไม่ว่าจะเป็นการทานยา หรือการรับคำปรึกษา ซึ่งตรงนี้สามารถลองเลือกทางที่เหมาะสมกับคุณดูครับ
นอกจากการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา การดูแลตนเองในเรื่องของการบริหารจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันของคุณก็สำคัญเช่นกัน และเป็นสิ่งที่คุณควรที่จะทำควบคู่ไปกับการรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ความเครียดที่อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิค ลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอาการที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ ซึ่งข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอื่นๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ ยินดีรับฟัง และตอบให้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากถามจิตแพทย์ค่ะ รบกวนด้วยนะคะ พอดีว่ามีอาการเหมือนคนจะตายเลยค่ะ รู้สึกหายใจไม่ทั่วท้อง มือไม้สั่น ใจเต้นเเรง กลัวและกังวลไปหมดว่าจะอยู่ไม่ถึงวันพรุ่ฃนี้ ตัวร้อนวูบวาบค่ะ หนาวบ้างเย็นบ้าง เหมือนคนไม่อยากอยู่แล้ว พอมีทางรักษาไหมค่ะ จากที่หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตมาคร่าวๆ เค้าว่าเป็นโรคแพนิคค่ะ พอมีทางรักษาให้หายขาดไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)