May 28, 2018 19:35
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
กรณีที่เพิ่งฉีดวัคซีนบาดทะยักไปตอนป.6 และมีแผลเกิดขึ้นในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มครับ
แต่ควรไปโรงพยาบาลเพื่อล้างแผลให้สะอาด และเย็บแผลถ้ามีความจำเป็นครับ
การฉีดวัคซีนกระตุ้นบาดทะยักกรณีที่มีบาดแผลนั้นจะฉีดเมื่อได้รับวัคซีนมาเกิน 5-10 ปี ครับ โดย
-ถ้าบาดแผลมีความลึกมาก ปนเปื้อนสิ่งสกปรกมาก จะฉีดกระตุ้นเมื่อฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 5 ปี
- ถ้าบาดแผลเป็นแผลเล็กๆ ไม่สกปรก ก็จะฉีดกระตุ้นเมื่อฉีดวัคซีนมาแล้วเกิน 10 ปี
ทั้งนี้ควรไปฉีดวัคซีนบาดทะยักกระตุ้นทุก 10 ปีไม่ว่าจะมีบาดแผลหรือไม่ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่ตอนป.6ฉีดเเค่เข็มเดียวเองนะคับปกติต้อง3เข็มใช่ไกมคัย
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ในปัจจุบันประเทศไทยมีโปรแกรมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งมีวัคซีนบาดทะยักรวมอยู่ในนั้นด้วยครับ
ถ้าหากตอนเด็กๆผู้ปกครองพาไปฉีดวัคซีนตามนัดครบทุกครั้ง ก็ถือว่ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อบาดทะยักแล้วครับ
วัคซีนบาดทะยักที่ฉีดตอนป.6 เป็นเพียงแค่วัคซีนเข็มกระตุ้นครับ จึงฉีดเพียงแค่เข็มเดียว
แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าตอนเด็กๆได้รับวัคซีนครบหรือไม่ ก็ควรฉีดใหม่ให้ครบ 3 เข็มครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผมโดนมีดแกะสลักมีปลายๆมีสนิมทิ่มเลือดออกอ่ะคับ เเต่ตอนป.6เคยชีดวัคซีนกันบาดทะยักไปเเล้ว ตอนนี้ม.4(เข็มเดียว)ต้องฉีดไหมคับถ้าชีดชีดเพิ่มกี่เข็มคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)