June 27, 2019 02:29
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าที่พบได้บ่อยเช่น มีอาการเบื่องานที่ทำ เบื่อการเรียน รู้สึกไม่มีแรง อยากเก็บตัวอยู่คนเดียว ความต้องการเข้าสังคมลดลง ความต้องการทางเพศลดลง หากมีสิ่งใดกระทบกระเทือนจิตใจมักจะกระตุ้นให้อาการแย่ลงและมักหลีกหนีไม่กล้าเผชิญปัญหา ฉะนั้นเบื้องต้น หากทีอาการเหล่านี้ควรระบายปัญหาเหล่านี้ให้คนที่ไว้ใจได้ เช่น พ่อแม่ คนสนิท เป็นต้น และควรมีคนคอยอยู่ข้างๆรับฟังปัญหา ไม่ควรอยู่คนเดียว เนื่องจากจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้ และควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงจองอาการ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม เช่น ด้วยยาต้านซึมเศร้า การบำบัดจิตใจ การเข้าสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาก็มีบางอาการ ความคิดบางอย่างที่คล้ายๆกับภาวะโรคซึมเศร้านะครับ แต่การให้ข้อมูลออนไลน์ตรงนี้ก็ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ครับ จำเป็นจะต้องไปพบกับจิตแพทย์เพื่อรับการประเมินเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคที่แน่ชัดได้นะครับ
อย่างไรก็ตาม เกณฑ์วินิจฉัยของโรคซึมเศร้าจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วน หนึ่งในนั่นก็คือเรื่องของอาการด้านล่างนี้ที่จะมีอย่างน้อย 5 อาการออกมาพร้อมๆ กันภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์ โดยที่มีอย่างน้อยหนึ่งอาการเป็นอาการหมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบ หรืออาการเศร้า
- รู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีค่า ว่างเปล่า ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปหรือทำไปเพื่ออะไร
- รู้สึกเศร้า หรือ ในเด็กและวัยรุ่นอาจรู้สึกหงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย หรือกระวนกระวายใจอยู่บ่อยๆ
- หมดความสนใจในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบ เช่น รู้สึกเบื่อหน่ายอาหารโปรดหรือการร่วมเพศ
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมาก เนื่องมาจากนิสัยการกินที่เปลี่ยนไป
- นอนไม่หลับติดต่อเป็นเวลานาน หรือนอนนานผิดปกติ
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้เลย บางครั้งก็แสดงอาการหลงๆ ลืมๆ และใช้เวลานานในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
คิด พูด และทำงานเร็วขึ้นหรือช้าลง
- รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
จากเรื่องที่เล่ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัวหรือความรู้สึกโดดเดี่ยวตรงนี้ไม่ว่าจะมีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ก็ควรที่จะได้รับการแก้ไขกับ อีกจุดหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือการเข้าพบกับนักจิตวิทยาเพื่อพูดคุยในประเด็นปัญหาในชีวิตซึ่งนักจิตวิทยาจะอาศัยกระบวนการในการพูดคุยเพื่อให้คุณค่อยๆค้นพบทางออก หรือการเข้าใจตนเองและปัญหามากขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในการรับมือกับปัญหาในชีวิตได้ดียิ่งขึ้นครับ แต่หากอาการที่คุณเล่ามาส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันเยอะ คุณก็ควรเข้าพบกับจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการช่วยเหลือในแบบอื่นๆด้วยนะครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความรู้สึกเศร้าหรือความโดดเดี่ยวนี้ลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความเศร้าหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 7 ข้อ และมีอาการเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์ค่ะ
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
4.มีปัญหาการนอนหลับ
5.มีปัญหาเรื่องการทานอาหาร เบื่ออาหาร /ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิเหม่อลอย
7.หงุดหงิด กระสับกระส่าย
8.รู้สึกไร้ค่า ขี้น้อยใจ
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ หากมีเรื่องมากระทบกระเทือนจิตใจก็จะทำให้มีอาการเด่นชัดขึ้น หรือรุนแรงมากขึ้นได้
การรักษาที่ได้ผลดีคือการรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัด ยาจะปรับสมดุลสารเคมีในสมองช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์และพฤติกรรมต่างๆเป็นปกติ ส่วนการทำจิตบำบัดจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจช่วยให้ปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น
ในกรณีนี้หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันทีนะคะ รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาการจะค่อยๆดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากประวัติมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ มีอาการน้อยใจบ่อย รู้สึกเหมือนไม่มีใครเข้าใจ คิดว่าตนเองไม่สำคัญ คิดถึงเรื่องการเสียชีวิตของตนเอง ซึ่งอาการเหล่านี้คิดถึงโรคซึมเศร้าได้ค่ะ
สำหรับโรคซึมเศร้าจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีอารมณ์เศร้าตลอดเวลา ความสนใจสิ่งต่างๆลดลง การนอนหลับผิดปกติ รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง เบื่ออาหาร การเคลื่อนไหวช้าลง มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย มีปัญหากับการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ถ้ามีหลายๆข้อที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเวลาอย่างน้อย2สัปดาห์ หมอจะคิดถึงโรคซึมเศร้าค่ะ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำจิตบำบัดและทานยารักษาโรคค่ะ หรือสามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตได้ที่เบอร์ 1323 ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากทราบอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ **เป็นคนที่นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการน้อยใจเรื่องเพื่อนบ่อย เรื่องครอบครัวบ่อย เหมือนไม่มีใครเข้าใจ รู้สึกว่าเพื่อนก็ไม่เหมือนเดิม บางทีก็มีร้องไห้ คิดว่าถ้าไม่อยู่ แล้วจากไปเลยคงจะดีกว่านี้ เพราะเราก็ไม่เคยสำคัญกับใครอยู่แล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)