September 05, 2019 21:37

มีอาการรู้สึกปวด รู้สึกหน่วงแน่นที่บริเวณทวารหนัก และหน่วงไม่สบายตัวที่ท้องน้อยเมื่อ5-6ปีก่อนค่ะ เมื่อพบแพทย์คุณหมอบอกว่าเป็นเนื้อเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ รักษาโดยให้กินยาคุมใช้ยาคุม ชื่อYAZS ค่ะ ซึ่งให้กินยานี้ยาวต่อเนื่องมาหลายปีโดยให้กินแต่เม็ดยาสีส้มเพื่อไม่ให้มีประจำเดือน เมื่อหมดเม็ดสีส้มก็ให้ต่อแผงใหม่เลย กินต่อเนื่องทุกวันมาได้5-6ปีแล้ว ไม่มีประจำเดือน ตอนแรกเมื่อกินไปสักพักอาการหน่วงก้นรูทวารหนัก และท้องดีขึ้นและหายไปในที่สุดค่ะ แต่หมอก็ยังคงให้กินยาต่อเนื่องทุกวันถึงปัจจุบัน กินจนผ่านมาได้5-6ปีแล้วค่ะ เพราะหมอบอกว่าอาจจะกลับมาปวดหน่วงก้นได้อีก คำถามคือ อยากทราบว่า อาการนี้ คือ 1)เป็นโรคเนื้อเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ใช่รึป่าวค่ะ? และ2)การรักษาอาการโรคแบบนี้ คือการกินยาฮอร์โมนยาคุมนี้ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนี้รักษาถูกต้องแล้วไหมค่ะ? และ3)การกินยาคุมแบบนี้ ไม่ให้มีเมน และกินยาวนานมากๆนี้มันจะทำให้มีผลต่ออย่างอื่นไหม?ค่ะ เพราะล่าสุดไปตรวจนมอุลตราซาวและเมมโมแกรมมา (เพิ่งเคยตรวจครั้งแรกในชีวิตเพราะเข้าอายุ36ปี) เมื่อตรวจเสร็จพบว่ามีก้อนเล็กๆหรือถุงเล็กๆ 7จุดที่นมค่ะ (จำไม่ได้ ว่าเรียกว่าก้อนหรือถุง) เขาบอกว่าเล็กๆลักษณะฐานเรียบค่ะ7จุด อยากทราบว่า ที่นมมีก้อนถุงเล็กๆนั่นมันเกิดขึ้น เพราะจากการใช้ยาฮอร์โมนยาคุมรักษา โดยกินยาวนานต่อเนื่องหรือไม่? ได้โปรดช่วยตอบคำถามทีนะค่ะ สงสัย และมีความกังวลค่ะ ว่ารักษาถูกต้องแล้วไหม และ กินยานานขนาดนี้ มันเป็นอะไรไหมค่ะ ทำให้เกิดก้อน,จุดที่นมไหม?

ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)

ดูคำถามและคำตอบอื่นที่คล้ายกัน
อยากทราบเกี่ยวกับโรคฝีคันทสูตรค่ะ เพราะคอนนี้เป็นอยู่ มีแนวทางการรักษาแบบไหน หรือต้องผ่าตัดอย่างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปกติเป็นคนถ่ายแข็งอยู่แล้วแต่ช่วงนี้รู้สึกมีก้อนที่บริเวณทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทวารหนักตีบจากการผ่าตัดริดสีดวง2ครั้งมีวิธีรักษามั้ยคะนอกจากการถ่างขยายรูทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)