คุณมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คุณมีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่

โชคดีที่สมัยนี้เรารู้แน่ชัดแล้วว่าโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถป้องกันได้ แต่ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนตนเอง และถ้ารู้ว่ามีพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงก็ยิ่งต้องวางแผนดูแลป้องกันแต่เนิ่นๆ หากดูแลสุขภาพหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ก็จะสามารถลดอัตราการตายของโรคนี้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน

มีข้อแนะนำง่ายๆ 7 ข้อที่ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเพิ่มคุณภาพชีวิต การปรับเปลี่ยนทีละน้อยจะนำไปสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้า ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. บอกลาบุหรี่
  2. ดูแลน้ำหนักตัว
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. เลือกกินอาหารที่เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ
  5. ควบคุมดูแลระดับน้ำตาลในเลือดในปกติ
  6. ควบคุมความดันโลหิตและไขมันในเลือดให้ปกติ
  7. หยุดความเครียด

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2020 คนอเมริกันจะต้องมีสุขภาพหลอดเลือดหัวใจดีขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะลดอัตราการตายของโรคนี้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน ประเทศไทยเราก็มีเป้าหมายทำนองเดียวกัน

บอกลาบุหรี่

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดเอชดีแอลคอเลสเตอรอล ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย และทำให้เกิดมะเร็ง บุหรี่ยังเป็นอันตรายกับทุกคน โดยเฉพาะบางคนที่มียีนอ่อนแอ เมื่อได้รับสารอันตรายในบุหรี่ก็อาจก็อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

การงดบุหรี่จะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล 15-20 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นนักสูบหรี่มือสอง บุหรี่ไร้ควัน บุหรี่ที่มีทาร์หรือนิโคตินต่ำก็ตาม ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจเลย เพราะในบุหรี่ที่มีสารเคมีมากถึง 4,800 ชนิดที่ทำลายหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบ นำไปสู่การเกิดหัวใจวายในที่สุด

นิโคตินทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบ หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากการพยายามสูบฉีดเลือด จึงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ก๊าชคาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในกระแสเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ บางคนที่ค้านว่าสูบเฉพาะเวลาที่เข้าสังคมหรือเฉพาะสังสรรค์กับเพื่อน แต่เพียงเท่านั้นก็เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจแล้ว ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่มีความเสี่ยงหัวใจวายและสโตรกมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบหรี่แย่ไปกว่านั้นคือความเสี่ยงจะสูงขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะอายุ 35 ปีขึ้นไป

ดูแลน้ำหนักตัว

เดี๋ยวนี้แทบทุกคนรู้ว่าความอ้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำให้โรคหัวใจ ความดันโลหิต และเส้นเลือดสมองแตก รวมถึงโรคเบาหวานและโรคมะเร็งจะวิ่งไล่ตามคนอ้วน

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายตั้งแต่ระดับเบาๆ จนถึงระดับกลางๆ วันละ 30 นาทีก็ให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตช่วยเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาล ลดการอักเสบ ลดความเครียด ควบคุมน้ำหนักตัว และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น แต่มีข้อแนะนำว่าต้องทำให้ได้วันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน การเดิน การขึ้นบันได ทำสวน ทำงานบ้าน เต้นรำ และออกกำลังกายอยู่กับบ้าน ก็นับได้ว่าเป็นการออกกำลังกาย ส่วนการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานและกระโดดเชือก เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความฟิตให้กับหลอดเลือดหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เลือกกินอาหารที่เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ

บริโภคผักผลไม้ให้มากขึ้น อาหารที่มีผลในการป้องกันโรคหัวใจและลดความดันโลหิตคือ อาหารแดช ซึ่งประกอบด้วยผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ โปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่นปลา

สิ่งที่ควรจำกัดคือไขมันบางชนิด ในอาหารที่เรากินทุกวัน ประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว และไขมันทรานส์ ในบรรดาไขมันเหล่านี้ ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เป็นตัวที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะละเลยคือการกินผักผลไม้น้อยไป เป้าหมายที่เหมาะสมคือวันละ 5-10 ส่วน หรืออุ้งมือ ซึ่งปริมาณนี้นอกจากจะช่วยป้องกันโรคหัวใจแล้วยังช่วยป้องกันมะเร็งได้อีกด้วย

ควบคุมดูแลระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และควบคุมความดันโลหิตและไขมันในเส้นเลือดให้ปกติ

ดูแลความดันโลหิตให้ปกติ

เวลาที่มีความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูงจะทำลายหัวใจและหลอดเลือด เมื่อสิ่งเหล่านี้เริ่มก่อตัวจะไปปรากฏอาการให้เห็นแต่จะรู้ได้โดยวิธีการตรวจสุขภาพเท่านั้น

ดังนั้นเราควรตรวจความดันโลหิตอยู่เสมอ โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ผู้ใหญ่ควรตรวจวัดความดันโลหิตทุก 2 ปี และตรวจบ่อยขึ้นถ้าความดันผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจุบันการตรวจสุขภาพค่าคอเลสเตอรอลไม่ใช่ค่าสำคัญที่สุดอีกต่อไป แต่สัดส่วนของคอเลสเตอรอลต่อเอชดีแอลและสัดส่วนของแอลดีแอลต่อเอชดีแอลจะสำคัญกว่าในการทำนายความเสี่ยงโรคหัวใจ

คอเรสเตอรอลชนิดต่างๆ มีขนาดแตกต่างกัน แอลดีแอลเอชดีแอล และไตรกลีเซอไรด์จะมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ขนาดที่อันตรายที่สุดคือขนาดเล็กและมีความหนาแน่นสูง เพราะขนาดเล็กจะไชชอนเข้าไปในหลอดเลือดได้ง่าย ส่วนขนาดใหญ่จะมีลักษณะฟูๆ ปุยๆ ซึ่งไม่เป็นอันตราย แม้จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูง พวกที่มีขนาดใหญ่จะลื่นไหลออกจากหลอดเลือดได้ง่าย จึงไม่เป็นอันตรายเหมือนขนาดเล็ก

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คอเลสเตอรอลเป็นอันตรายต่อสุขภาพคือ คอเลสเตอรอลที่ถูกทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรืออนุมูลอิสระและถูกทำลาย (Oxidative Stress) จะกระตุ้นให้เกิดวัฏจักรที่ไม่ดีในกระบวนการอักเสบ (Inflammation) รวมทั้งเกิดตะกรันไขมันที่สะสมภายใต้หลอดเลือดแดงซึ่งจัดว่าเป็นอันตราย เมื่อแอลดีแอลขนาดเล็กที่หนาแน่นถูกทำปฏิกิริยาจะกลายเป็นแอลดีแอลที่อันตราย และสะสมตะกรัน หรือคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง

ความเสี่ยงต่ำเมื่อ

  • แอลดีแอล/เอชดีแอล (LDL/HDL) £ 3.0
  • คอเลสเตอรอลรวม/เอชดีแอล (Chol/HDL) £ 4.0

ต้องตรวจระดับไขมันในเลือดบ่อยแค่ไหน

สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ผู้ใหญ่อายุ 20 ปี ขึ้นไปควรตรวจระดับไขมันทุกชนิดทุกๆ 5 ปี แต่ถ้ามีปัญหาใน 4 ข้อนี้ ควรตรวจเช็คบ่อยกว่านั้น

  • คอเลสเตอรอลรวม ³ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • เพศชายอายุ 45 ปี ขึ้นไป หรือเพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • เอชดีแอลคอเลสเตอรอล £ 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหัวใจที่กล่าวมาก่อนหน้านี้

หยุดความเครียด

ความเครียดอย่างเดียวทำให้เกิดหัวใจวายได้ และเป็นชนวนที่จะนำไปสู่อันตรายต่อชีวิต ความเครียดทำให้เกิดโรคหัวใจ โดยทำให้เกิดการอักเสบ เพิ่มระดับคอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต รวมทั้งทำให้เลือดแข็งตัวได้ ดังนั้นการควบคุมความเครียดจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพ การฝึกนั่งสมาธิและการออกกำลังกายทำให้ระบบประสาทผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียด การลดคอเลสเตอรอล ลดการอักเสบ ปรับสมดุลระดับน้ำตาล และทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ตัวอย่างแบบบันทึกการติดตามระดับคอเลสเตอรอล

บันทึกระดับคอเลสเตอรอลทุกครั้งที่ได้รับการตรวจเลือด ร่วมกับบันทึกการออกกำลังกายและเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณ


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coronary heart disease - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-heart-disease/causes/)
Coronary Artery Disease - Coronary Heart Disease. American Heart Association. (https://www.heart.org/en/health-topics/consumer-healthcare/what-is-cardiovascular-disease/coronary-artery-disease)
Coronary Artery Disease. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/heartdisease/coronary_ad.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)