คุณเป็นนกฮูกราตรีหรือเป็นนกลาร์คตื่นเช้า ?

นาฬิกาชีวภาพส่งผลต่อการนอนไม่หลับและแนวโน้มที่จะง่วงซึม
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณเป็นนกฮูกราตรีหรือเป็นนกลาร์คตื่นเช้า ?

อาจดูเป็นคำถามโง่ ๆ แต่สิ่งนี้อาจมีผลอย่างมากต่อการนอนของคุณได้: คุณเป็นนกฮูกราตรีหรือเป็นนกลาร์คตื่นเช้า ?

เรียนรู้เวลานอนที่คุณชอบ การสะท้อนถึงจังหวะนาฬิกาชีวภาพของคุณ ผลทางพันธุกรรมและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการนอนไม่หลับ และความง่วงเหงาหาวนอนในช่วงกลางวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทบทวนเล็กน้อยเกี่ยวกับความสามารถที่จะตื่นได้ดีที่สุดหรือช่วงที่มีความรู้สึกอยากนอนมากที่สุดสามารถเป็นประโยชน์ได้

เมื่อคุณคิดถึงแต่ละวันของคุณ เมื่อไรที่คุณรู้สึกตื่นตัวมากที่สุดและทำงานได้ดีที่สุด ? เมื่อไรที่คุณมี “แรงฮึด” และพบว่าจิตใจแจ่มใส สามารถมีสมาธิและระดับพลังงานสูงที่สุด ? ช่วงเวลานั้นคือตอนเช้าหรือเป็นเวลาเย็น ? ในทางกลับกัน เมื่อไรที่คุณเหนื่อยและรู้สึกง่วงนอนมากที่สุด ? มีเวลาที่คุณอยากจะนอนซักงีบมากที่สุดช่วงไหน ? เมื่อไรที่คุณง่วงและหลับได้ง่ายที่สุด และเมื่อไรที่คุณตื่นขึ้นมาโดยรู้สึกสดชื่นที่สุด ? การพิจารณาดังกล่าวสามารถช่วยชี้นำความชอบของคุณได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนกฮูกราตรีหรือเป็นนกลาร์คตื่นเช้าก็ตาม

นกฮูกราตรีอาจเป็นใครบางคนที่มีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มอาการ delayed sleep phase syndrome (DSPS) คือช่วงเวลาที่หลับได้ดีที่สุดเกิดขึ้นในตอนกลางคืนระหว่างช่วงตีหนึ่งถึงตีสองและเก้าโมงถึงสิบโมงเช้า ช่วงเวลานอนที่ดีที่สุดนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ดึกกว่านี้ หากพยายามเข้านอนเร็วขึ้น การนอนไม่หลับจะเกิดขึ้นในช่วงนี้เป็นประจำ ซึ่งพวกเขาจะรู้สึกว่าตื่น หากต้องตื่นนอนในตอนเช้า ก็จะเป็นเรื่องยากมากในการปลุกให้ตื่นได้

อาจต้องใช้การตั้งนาฬิกาปลุกหลายครั้ง และอาการตื่นไม่เต็มที่ (sleep inertia) อาจนำไปสู่ความเชื่องช้า การขาดเรียน หรือสมาธิที่ไม่ดี และการง่วงนอนในช่วงแรกของเวลาเช้า DSPS มักพบได้ในวัยรุ่น และอาจคงอยู่ตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลต่อผู้คนประมาณ 10%

ในอีกขั้วตรงข้ามกันอย่างสุดโต่งคือพวกนกตื่นเช้า คือผู้ที่อาจมีปัญหา Advanced sleep phase syndrome (ASPS) และรู้สึกง่วงนอนเร็วมาก และไปนอนก่อนคนส่วนใหญ่ ผลคือตื่นเร็วกว่าคนอื่น ซึ่งอาจเป็นเวลาเช้ามากในช่วงตีสี่หรือตีห้า โดยการตื่นดังกล่าวไม่ได้เป็นจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือซึมเศร้า และยังคงเป็นอยู่แม้จะเข้านอนดึกก็ตาม ASPS พบในคนน้อยกว่า 1%

เป็นไปได้ที่จะมีความชอบ ซึ่งแยกได้เป็นนกฮูกราตรีหรือนกลาร์คตื่นเช้า โดยที่ไม่ได้มีกลุ่มอาการด้านการนอนหลับแต่อย่างใด แนวโน้มที่ไม่สุดโต่งนั้นพบได้มากกว่า และอาจมีความหลากหลายซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ในชีวิต หรืออาจเป็นจากเหตุการณ์เฉพาะ ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาอย่างแน่นอนหากไม่มีผลตามมา และคุณสามารถหลับและตื่นตามที่คุณต้องการได้

หากเวลานอนที่คุณชอบนำไปสู่การนอนหลับที่เริ่มทำได้ยากหรือคงการนอนหลับไว้ได้ยาก ก็อาจเหมาะสมที่จะเริ่มต้นรักษาอาการนอนไม่หลับ วัยรุ่นที่มีอาการดังกล่าวอาจต้องใช้ความพยายามอย่างมากเนื่องจากนอนดึก และไม่สามารถไปโรงเรียนได้ทันเวลา เมลาโทนินอาจมีผลอย่างอ่อน ๆ การถูกแสงอย่างเหมาะสมกับช่วงเวลา และกิจวัตรการนอนหลับที่ทำเป็นประจำสามารถช่วยได้มาก ในบางกรณี อาจใช้การรักษาที่เรียกว่า cognitive behavioral therapy for insomnia (CBTI)

หากรูปแบบการนอนของคุณมีผลเสียต่อชีวิตของคุณ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเกี่ยวกับทางเลือกของคุณ และค้นพบการนอนที่คุณใฝ่ฝันถึง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How does being a night owl impact quality of life and why?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325479)
Morning People, Night Owls, and Circadian Rhythms: How Your Body’s Clock Affects You. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/find-circadian-rhythm#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม
พลังงานที่ใช้ในการทำกิจกรรม

คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมง่ายๆ ทำให้สามารถเพิ่มการขยับร่างกายได้มากขึ้น

อ่านเพิ่ม