Anti-LKM-1

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anti-LKM-1 ทางเลือด ร่วมกับการตรวจแอนติบอดีชนิดอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยโรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Anti-LKM-1

การตรวจ Anti-LKM-1 ร่วมกับการตรวจแอนติบอดี SMA และ ANA ทำเพื่อวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Autoimmune hepatitis) และแยกความแตกต่างระหว่างโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน Type 1 และ Type 2

ชื่ออื่น: Liver kidney microsomal type 1 antibodies, LKM1 antibodies, Anti-Liver/Kidney microsomal antibodies type 1, Anti-LKM1, Anti-P450 2D6 antibody

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Liver kidney microsome type 1 antibodies (Cytochrome P450 2D6 antibodies)

จุดประสงค์การตรวจ Anti-LKM-1

แพทย์จะตรวจ Anti-LKM-1 พร้อมกับตรวจ Smooth muscle antibody (SMA) และ Antinuclear antibodies (ANA) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Autoimmune hepatitis) และแยกความแตกต่างระหว่างโรคที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Type 1 และ Type 2

แพทย์อาจใช้การตรวจเหล่านี้เพื่อติดตามผลตรวจของตับที่ผิดปกติ เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าดังต่อไปนี้

  • Alanine aminotransferase (ALT)
  • Aspartate aminotransferase (AST)
  • บิลิรูบิน (Bilirubin)

นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจอย่างอื่นเพิ่ม เช่น Immunoglobulins เพราะค่าเหล่านี้อาจเพิ่มขึ้นในผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี รวมถึงช่วยตัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบดังกล่าวด้วย

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Anti-LKM-1?

แพทย์อาจตรวจ Anti-LKM-1 เมื่ออยู่ในช่วงตรวจหาโรคตับ และเมื่อต้องการแยกสาเหตุของการบาดเจ็บที่ตับ ซึ่งแพทย์อาจตรวจ Anti-LKM-1 ควบคู่กับการตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจ SMA และ ANA

โดยปกติแล้ว แพทย์จะตรวจค่าเหล่านี้ในผู้ที่มีสัญญาณและอาการอ่อนเพลีย อ่อนแอ เป็นโรคดีซ่าน และมีผลตรวจตับผิดปกติ และอาจตรวจค่าเหล่านี้ในผู้ที่มีสัญญาณและอาการที่สัมพันธ์กับโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • คัน
  • ตับโต
  • ปวดข้อ
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • มีเส้นเลือดผิดปกติในผิว
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • มีปัสสาวะสีเข้ม
  • เบื่ออาหาร
  • อุจจาระเป็นสีซีดหรือสีโคลน
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • ขาดประจำเดือน
  • ผิวเป็นผื่น
  • บวมน้ำ

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Anti-LKM-1

แพทย์จะตรวจ Anti-LKM-1 จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Anti-LKM-1

Liver kidney microsome type 1 (anti-LKM-1) antibodies เป็นออโตแอนติบอดี และเป็นโปรตีนที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผลิตขึ้น แอนติบอดี้ชนิดนี้จะจดจำและทำลายเอนไซม์ของตัวเองที่เรียกว่า Cytochrome P450 2D6 (CYP2D6) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ทั่วไปในเซลล์ตับ

โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน เป็นโรคที่ตับอักเสบแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และในบางกรณีอาจทำให้เกิดภาวะตับวาย โดยโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน เป็นโรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การได้รับยาหรือสารพิษ โรคทางพันธุกรรม หรือการดื่มสุรามากเกินไป ทุกคนสามารถเป็นโรคนี้ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้หญิง

โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน มี 2 ชนิดหลัก คือ Type 1 และ Type 2 ซึ่ง Type 1 สัมพันธ์กับการมี Smooth muscle antibodies (SMA) ในเลือด ในขณะที่ Type 2 พบได้ไม่บ่อยเท่า และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากกว่า และยังสัมพันธ์กับ Anti-LKM-1 มากกว่า Type 1

ความหมายของผลตรวจ Anti-LKM-1

การมี Anti-LKM-1 สูง บ่งชี้ว่าผู้เข้ารับการตรวจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน Type 2 แต่ผลจะยังไม่ชัดเจนจนกว่าจะมีการตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อประเมินความเสียหาย และยืนยันการวินิจฉัย

หากผลของ Anti-LKM-1 เป็นลบ แต่ค่า SMA และANA เป็นบวก อาจบ่งชี้ว่าผู้เข้ารับการตรวจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน Type 1 แต่ถ้าผลตรวจเป็นลบทั้งคู่ อาการของผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ทุกคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกันจะไม่ได้ผลิต Anti-LKM-1 หรือ SMA เสมอไป บางคนอาจผลิตออโตแอนติบอดีชนิดอื่นๆ ซึ่งแทบจะไม่เคยมีการตรวจเลย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Anti-LKM-1

โดยทั่วไปแล้วการตรวจ Anti-LKM-1 ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เนื่องจากโรคตับอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่สามารถระบุได้ แต่หากผู้ที่มีอาการเป็นเด็กผู้หญิงที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ หรือแพทย์สงสัยว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ก็อาจต้องตรวจ Anti-LKM-1 ANA และ SMA ควบคู่กันไป

แม้ระดับของ Anti-LKM-1 จะผันผวนเมื่อเวลาผ่านไป แต่เมื่อร่างกายผลิตออโตแอนติบอดีขึ้นแล้ว แอนติบอดีชนิดนี้ก็จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต

โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน สามารถเกิดร่วมกับโรคไวรัสตับอักเสบอื่นๆ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี หรือโรคไวรัสตับอักเสบซีได้ และอาจพบอาการแย่ลงเมื่อตับเสียหายจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Anti-LKM-1 (https://labtestsonline.org/tests/anti-lkm-1), 27 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป