Aminoglycoside Antibiotics

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Aminoglycoside Antibiotics ทางเลือด เพื่อติดตามระดับของอะมิโนไกลโคไซด์ในเลือดที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ว่ามีปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Aminoglycoside Antibiotics

การตรวจ Aminoglycoside Antibiotics โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อติดตามระดับของอะมิโนไกลโคไซด์ในเลือด ที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงว่ามีเพียงพอต่อการรักษา และไม่มากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง

ชื่ออื่น: บางครั้งจะเรียกตามชื่อแบรนด์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชื่อทางการ: Gentamicin, Tobramycin, Amikacin

จุดประสงค์ของการตรวจ Aminoglycoside Antibiotics

แพทย์จะตรวจ Aminoglycoside Antibiotics ที่ประกอบไปด้วย

  • เจนตามัยซิน (Gentamicin)
  • โทบรามัยซิน (Tobramycin)
  • อะมิคาซิน (Amikacin)

เพื่อติดตามระดับของอะมิโนไกลโคไซด์ในเลือด ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดร้ายแรง เพื่อให้มั่นใจว่าระดับของยาในเลือดมีเพียงพอสำหรับใช้รักษาการติดเชื้อ แต่ต้องไม่สูงจนทำให้ผู้ที่รับประทานยาเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น

แพทย์จะกำหนดเวลาที่ใช้วัดระดับยาในเลือด เพื่อสะท้อนความเข้มข้นสูงสุดและต่ำสุดของยา ซึ่งจะใช้จุดเวลาเหล่านี้ประเมินความเพียงพอของยา และติดตามการกำจัดยาออกจากร่างกาย บางกรณีแพทย์จะให้ยาทุก 24-48 ชั่วโมง โดยจะตรวจระดับยาในเลือดหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยา 6-14 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับยาเพียงพอ

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Aminoglycoside Antibiotics?

การเฝ้าสังเกตระดับของ Aminoglycoside Antibiotics ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุ
  • การทำงานของไต
  • สุขภาพโดยรวม
  • โรคประจำตัว
  • อาการที่เกิดจากสารพิษ
  • ระยะเวลาที่ใช้รักษา
  • ชนิดของแผนการให้ยา

แพทย์อาจติดตามระดับของอะมิโนไกลโคไซด์ในเลือดของผู้ที่ได้รับยามากกว่า 3 วัน รวมถึงตรวจประเมินการทำงานของไต เช่น การตรวจครีทินีน ในระหว่างที่รักษาด้วยยาอะมิโนไกลโคไซด์ เพื่อตรวจดูผลข้างเคียง เนื่องจากบางคนอาจมีผลกระทบต่อการได้ยิน และไตทำงานไม่ปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Aminoglycoside Antibiotics

แพทย์จะตรวจ Aminoglycoside Antibiotics จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดก่อนที่จะให้ยาอะมิโนไกลโคไซด์ครั้งถัดไป

นอกจากนี้แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดหลังจากที่ให้ยาทางเส้นเลือดดำจนครบ 30-45 นาที หรือหลังจากที่ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ 60 นาที เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำที่สุด

รายละเอียดการตรวจ Aminoglycoside Antibiotics

แพทย์จะวัดระดับของ Aminoglycoside Antibiotics ในเลือดเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

  • ปรับปริมาณยาตามความจำเป็น
  • เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษามีประสิทธิผล
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นพิษ

เจนตามัยซิน โทบรามัยซิน และอะมิคาซิน เป็นอะมิโนไกลโคไซด์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด ซึ่งแพทย์จะใช้ยาเหล่านี้เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) และแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-positive bacteria) บางชนิด

การติดตามความเข้มข้นของอะมิโนไกลโคไซด์เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะประสิทธิผลของยาขึ้นอยู่กับความเพียงพอของยาในเลือด หากมียาในเลือดเพิ่มขึ้นมาก หรือได้ใช้ยาเป็นเวลานาน อาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นพิษระดับร้ายแรง เช่น เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ทรงตัวได้ไม่ดี ไตเสียหายเฉียบพลัน

แพทย์มักให้ยาชนิดนี้ทางเส้นเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นช่วง เช่น ทุก 8-12 ชั่วโมง หรือให้ยาปริมาณมากทุก 24-48 ชั่วโมง ปริมาณของยาที่ให้แก่ผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การทำงานของไต ยาที่ผู้ป่วยกำลังรับประทาน อายุ น้ำหนัก เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หลังให้ยา แพทย์จะมีการติดตามยาเพื่อประเมินความเข้มข้นสูงสุดหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยา และความเข้มข้นต่ำสุดก่อนที่จะเริ่มให้ยาครั้งต่อไป เพราะปริมาณของยาในครั้งถัดไปจะถูกปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นที่วัดได้

ความหมายของผลตรวจ

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อได้รับยาอะมิโนไกลโคไซด์ ระดับยาในเลือดจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดแล้วจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป บางครั้งแพทย์จะให้ยาเหล่านี้เป็นช่วง เพื่อให้มียาเพียงพอสำหรับการรักษา และฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

ส่วนการให้ยาแบบ Extended-dose แพทย์จะใช้ผลตรวจเพื่อวางแผนการให้ยาครั้งถัดไป ถ้ายาในเลือดอยู่ในระดับต่ำสุดของช่วง แพทย์อาจให้ยาทุก 24 ชั่วโมง หากมียาในเลือดเป็นปริมาณมาก ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ายากำลังถูกกำจัดออกจากร่างกายอย่างช้าๆ ซึ่งแพทย์อาจรอ 48 ชั่วโมงก่อนที่จะให้ยาครั้งต่อไป ในกรณีที่การติดเชื้อไม่ตอบสนองต่อการรักษา แพทย์ก็อาจขยายเวลาการให้ยานานขึ้น หรือใช้วิธีรักษาอื่นๆ

ที่มาของข้อมูล

Lab Test Online, Aminoglycoside Antibiotics (https://labtestsonline.org/tests/aminoglycoside-antibiotics), 29 December 2018.


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What do I need to know about aminoglycoside antibiotics?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27506599)
Aminoglycosides: A Practical Review. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/1998/1115/p1811.html)
List of Aminoglycosides. Drugs.com. (https://www.drugs.com/drug-class/aminoglycosides.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)