โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers) หรือโรคสมองเสื่อม ถือเป็นโรคร้ายที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตต่อผู้ป่วยและคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการระยะเบื้องต้นมักจะเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นโรคอื่นๆ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็มีอาการรุนแรงจนไม่สามารถรักษาได้แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้ในระยะสุดท้ายมักไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ได้เลย และมักจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือดจากการเป็นแผลกดทับ เป็นโรคปอดบวม เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม: โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้พยายามวิจัยและพัฒนาการตรวจตัวอย่างเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อยู่ตลอดเวลา เช่น ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2018 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้ร่วมกันพัฒนาวิธีตรวจเลือด ที่สามารถตรวจจับการสะสมของคราบหินปูน (Plaque) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แม้การทดสอบจะให้ประสิทธิผลความแม่นยำมากถึง 90% แต่ก็ยังต้องพัฒนาต่อไปและต้องทดสอบส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมจึงจะสามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้
เมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมในปี 2019 ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ทางวารสาร Nature Medicine ระบุว่า มีการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนในเลือด (NfL) ที่สามารถบ่งชี้ได้ล่วงหน้าถึง 16 ปีว่าผู้เข้ารับการทดสอบมีแนวโน้มจะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ เพราะยิ่งผู้เข้ารับการทดสอบมี NfL ในเลือดมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่สมองจะถูกทำลายมากเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างยังมีขนาดเล็กมาก โดยคิดเป็นเพียง 1% ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทั่วโลก
การศึกษาล่าสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2019 ที่ผ่านมา นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตันระบุว่า สามารถวัดระดับโปรตีนอะมีลอยด์เบต้า (Amyloid beta) ในเลือด ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และนำระดับโปรตีนดังกล่าวมาประเมินร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรค เช่น
- อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มาก 2 เท่า
- ยีน APOE4 การปรากฏยีนนี้เพิ่มความเสี่ยงการเป็นอัลไซเมอร์ 3-5 เท่า
- เพศ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ 2 ใน 3 คนเป็นเพศหญิง
การวัดระดับโปรตีนดังกล่าวทำให้ผลตรวจอัลไซเมอร์มีความแม่นยำถึง 94% อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่า เพศไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการทดสอบแต่อย่างใด ซึ่งในอนาคตจะต้องหาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการทดสอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำขึ้น ซึ่งอาจช่วยรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นให้หายขาดได้