พญ. นันทิดา สาลักษณ
เขียนโดย
พญ. นันทิดา สาลักษณ

แพ้ยาย้อมผม อาการเป็นอย่างไร? ทำอย่างไรดี?

แพ้ยาย้อมผม อาจมีอาการตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงรุนแรง มาดูกันว่าอาการแพ้ยาย้อมผมเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการเป็นอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แพ้ยาย้อมผม อาการเป็นอย่างไร? ทำอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการแพ้ยาย้อมผม มักเกิดผื่นจากปฏิกิริยา ภูมิแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis) เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารชนิดหนึ่งในยาย้อมผมคือ paraphenylenediamine (PPD)
  • ผู้ที่เคยสักผิวหนัง มีโอกาสเคยได้รับสาร PPD มาก่อน เมื่อย้อมผมโดยเฉพาะสีดำที่มีสาร PPD เข้มข้น อาจทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิในร่างกาย และเกิดอาการแพ้ได้มากและรวดเร็วขึ้น
  • อาการแพ้อาจจะแสดงทันทีหรือเริ่มแสดงหลังจากสัมผัสกับยาย้อมผมประมาณ 48 ชั่วโมง มีได้หลายอย่าง เช่น คันระคายเคืองหรือบวมบริเวณหนังศีรษะ หน้า หน้าผาก หู รอบดวงตา หรือลำคอ มีผื่นแดงคัน หรือตุ่มน้ำ ผิวหนังแห้งแตก หรือหนาตัว
  • ควรทดสอบก่อนใช้ยาย้อมผม โดยการทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่บริเวณหลังใบหู หรือบริเวณต้นแขนด้านใน แล้วสังเกตอาการว่ามีการเกิดผื่นแพ้ใดๆ หรือไม่ ในระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง
  • หากมีประวัติแพ้ยาย้อมผมที่มีส่วนประกอบของ PPD ก็อาจมีความเสี่ยงในการแพ้ยาชาบางชนิดด้วย (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

ยาย้อมผม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลายอย่าง ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะหรือผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบได้

ส่วนใหญ่มักเกิดผื่นจากปฏิกิริยา ภูมิแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารชนิดหนึ่งในยาย้อมผมคือ paraphenylenediamine (PPD)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

PPD เป็นสารเคมีที่พบได้ในหมึกที่ใช้สักผิวหนังแบบชั่วคราว หมึกพิมพ์ และแก๊สโซลีน ซึ่งน้ำยาย้อมผมที่ดีมักจะแยกมาในขวดเฉพาะ เมื่อผสมกับสารที่ทำหน้าที่ออกซิเดชั่นจะห้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นบางส่วน และทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อผิว

ผู้ที่เคยมีประวัติสักผิวหนังมาก่อน โดยเฉพาะการสักสีดำ มีโอกาสที่ผิวหนังเคยได้รับสาร PPD มาก่อน และทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิในร่างกาย เมื่อย้อมผมโดยเฉพาะสีดำที่มีสาร PPD เข้มข้นสูง ก็มีโอกาสเกิดอาการแพ้ได้มากและรวดเร็วขึ้น

แพ้ยาย้อมผม อาการเป็นอย่างไร?

หากคุณมีอาการแพ้ยาย้อมผม อาการที่แสดงอาจมีตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงรุนแรง อาจจะแสดงทันทีหรือเริ่มแสดงหลังจากสัมผัสกับยาย้อมผมประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายอย่างดังนี้

  • คันระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะ หน้า หน้าผาก หู รอบดวงตา หรือลำคอ
  • บวมที่บริเวณศีรษะและหน้า รอบดวงตาหรือริมฝีปาก
  • มีผื่นแดงคัน หรือตุ่มน้ำ
  • ผิวหนังแห้งแตก หรือหนาตัว

แพ้ยาย้อมผม อันตรายหรือไม่?

การแพ้ยาย้อมผมแบบรุนแรง (anaphylaxis) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ควรพบแพทย์โดยด่วน โดยอาการแพ้แบบรุนแรงนี้พบอาการได้ตั้งแต่

  • มีผื่นคันบวมแดง
  • บวมที่บริเวณรอบดวงตา ริมฝีปาก มือ เท้า ลิ้นและช่องคอ
  • หายใจลำบาก หรือหายใจแล้วมีเสียงหวีด
  • รู้สึกคล้ายจะเป็นลม
  • คลื่นไส้อาเจียน

ควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ยาย้อมผม

ควรทดสอบก่อนที่จะใช้ยาย้อมผม โดยการทาผลิตภัณฑ์จำนวนเล็กน้อยที่บริเวณหลังใบหู หรือบริเวณต้นแขนด้านใน แล้วสังเกตอาการว่ามีการเกิดผื่นแพ้ใดๆ หรือไม่ ในระยะเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังสามารถทดสอบว่าแพ้ยาย้อมผมจริงหรือไม่ ด้วยการทำการทดสอบปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (patch test) โดยแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากไม่ได้มีอาการแพ้ เมื่อย้อมผมควรปฏิบัติดังนี้

แม้ว่าจะทดสอบอาการแพ้ด้วยวิธีเบื้องต้นแล้ว การปฏิบัติตนขณะย้อมผมเพื่อป้องกันอาการแพ้ระดับน้อยดังนี้

  • ไม่ทิ้งยาย้อมผมบนศีรษะในระยะเวลาเกินกว่าที่แนะนำ
  • ใส่ถุงมือเมื่อทำการย้อมผม
  • หลังย้อมผม ล้างทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะให้ทั่ว
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาย้อมผม

หากแพ้ยาย้อมผม ต้องทำอย่างไร?

หากคุณมีอาการแพ้เกิดขึ้นทันทีหลังเริ่มย้อมผม ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้

  • กรณีที่อาการไม่รุนแรง ให้รีบล้างยาย้อมผมออกทันที โดยใช้น้ำผสมสบู่อ่อนๆ หรือแชมพูอ่อนๆ
  • ทาครีมให้ความชุ่มชื้นบำรุงบริเวณที่เกิดผื่น
  • หากมีอาการคัน สามารถรับประทานยาแก้แพ้เพื่อลดอาการคันได้

สำหรับยาทาที่ใช้รักษาควรจ่ายโดยแพทย์ และควรตรวจประเมินอาการก่อน เพื่อจัดยาตามรูปแบบและอาการที่เหมาะสม ส่วนใหญ่มักใช้ยาทาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ในช่วงสั้นๆ และไม่ควรทาที่บริเวณใกล้ตาหรือปาก

ส่วนประกอบในยาย้อมผมที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้

ส่วนประกอบในยาย้อมผมที่มักทำให้เกิดอาการแพ้คือสารที่เรียกว่า PPD โดยอาจใช้ชื่อที่หลากหลาย สามารถตรวจสอบที่ฉลากผลิตภัณฑ์ด้วยชื่อต่างๆ เหล่านี้ เช่น

  • phenylenediamine
  • paraphenylenediamine
  • PPD
  • PPDA
  • p-diaminobenzene
  • p-phenylenediamine
  • 4-phenylenediamine
  • 4-aminoaniline
  • 1,4-diaminobenzene
  • 1,4-benzenediamine

สาร PPD นี้มักมีความเข้มข้นสูงที่สุดในยาย้อมผมสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม นอกจากนี้สารอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบในยาย้อมผมก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ammonia, resorcinol, peroxide เป็นต้น

นอกจากนี้หากมีการแพ้ยาย้อมผมที่มีสาร PPD ยังมีตัวเลือกอื่นๆ ทดแทน คือยาย้อมผมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น henna หรือใช้ยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวรอื่นๆ ทดแทน

หากมีประวัติแพ้ยาย้อมผมที่มีส่วนประกอบของ PPD ก็อาจมีความเสี่ยงในการแพ้ยาชาบางชนิดด้วย จึงควรบอกประวัติเหล่านี้แก่แพทย์หรือทันตแพทย์หากจะต้องมีการฉีดยาชา

ดูแพ็กเกจ ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS, Hair dye reactions (https://www.nhs.uk/conditions/hair-dye-reactions), 23 July 2018.
Bolognia, JL., Jorizzo, JJ., Schaffer, JV., Callen, JP., Cerroni, L., Heymann, WR., Schwarz, T., Dermatology, 2012.
Corey Whelan, Hair Dye Allergy (https://www.healthline.com/health/hair-dye-allergy), 1 March 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema)
โรคผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ (Eczema)

รู้จักโรคที่มาพร้อมกับความทรมาน คัน บวมแดง ผื่นขึ้น และมีตุ่มน้ำ เพื่อหาวิธีรักษาและป้องกันอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม
ผดร้อน กับการรักษาด้วยตัวเอง ด้วยวิธีธรรมชาติจากสมุนไพร
ผดร้อน กับการรักษาด้วยตัวเอง ด้วยวิธีธรรมชาติจากสมุนไพร

ผดผื่นคันหน้าร้อน ป้องกันอย่างไร พร้อมรายชื่อสมุนไพรที่ช่วยรักษา

อ่านเพิ่ม
อาการไอแต่ละรูปแบบ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง
อาการไอแต่ละรูปแบบ สามารถบอกโรคอะไรได้บ้าง

อาการไอแต่ละแบบบ่งบอกอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีการรักษา

อ่านเพิ่ม