Activated clotting time (ACT)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Activated clotting time (ACT) ทางเลือด เพื่อติดตามปริมาณของเฮปาริน พร้อมโรคที่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการตรวจประเภทนี้ด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Activated clotting time (ACT)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Activated clotting time (ACT) ทางเลือด เพื่อติดตามปริมาณของเฮปาริน พร้อมโรคที่ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการตรวจประเภทนี้ด้วย

การตรวจ Activated clotting time (ACT) โดยเก็บตัวอย่างจากเลือดไปทดสอบ ทำเพื่อติดตามผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือเฮปารินในปริมาณสูง โดยแพทย์สามารถตรวจหา ACT ในผู้ป่วยได้ทันที และมักจะทำที่ข้างเตียงผู้ป่วยเลย ซึ่งสามารถทราบผลได้ในไม่กี่วินาที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่ออื่น: ACT, Activated coagulation time

จุดประสงค์ของการตรวจ Activated clotting time (ACT)

การตรวจ Activated clotting time (ACT) จากเลือด ช่วยติดตามผู้ป่วยที่ได้รับเฮปาริน (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด) ในปริมาณสูง โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะถูกฉีดหรือได้รับยาอย่างต่อเนื่องผ่านทางเส้นเลือดดำ และอาจได้รับเฮปารินปริมาณสูงในระหว่างกระบวนการที่ต้องป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว เช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Heart Bypass Surgery)

การติดตามเฮปารินเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว หากจำนวนของเฮปารินที่ให้ผู้ป่วยไม่เพียงพอที่จะยับยั้งระบบแข็งตัวของเลือด ลิ่มเลือดอาจก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกาย ในกรณีที่มีปริมาณของเฮปารินมากเกินไป ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกมากกว่าปกติ และอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Activated clotting time (ACT)?

แพทย์อาจตรวจ ACT หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเฮปารินเป็นครั้งแรกก่อนที่จะเริ่มผ่าตัดหัวใจ หรือกระบวนการอื่นที่จำเป็นต้องใช้สารกันเลือดแข็งตัวปริมาณมาก

ผู้ป่วยจะถูกวัด ACT ในระหว่างที่ผ่าตัดเป็นระยะเพื่อรักษาระดับของเฮปารินให้คงที่ หลังจากที่ผ่าตัดแล้ว ก็จะมีการติดตาม ACT จนกระทั่งร่างกายของผู้ป่วยกลับมาอยู่ในสภาวะคงที่ ซึ่งถ้าหากร่างกายของผู้ป่วยยังมีปริมาณเฮปารินสูง แพทย์อาจใช้สารที่ทำให้ยาเฮปารินลดลง หรือมีสภาพเป็นกลาง บางกรณีแพทย์อาจวัด ACT ระหว่างที่เลือดออก หรือนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินระดับของเฮปารินที่ข้างเตียงของผู้ป่วย

วิธีเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจ Activated clotting time (ACT)

แพทย์จะตรวจ Activated clotting time (ACT) จากเลือด โดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำในแขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของผลตรวจ Activated clotting time (ACT)

ACT จะถูกวัดภายในไม่กี่วินาที ยิ่งเลือดใช้เวลาแข็งตัวมากเท่าไร ระดับของสารยับยั้งการแข็งตัวของเลือดก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้น แพทย์จะรักษาระดับของ ACT ในระหว่างที่ผ่าตัดให้มากกว่าขอบเขตช่วงล่าง (Lower time limit)  ซึ่งเป็นขีดจำกัดที่เลือดของคนส่วนใหญ่จะไม่จับตัวเป็นลิ่ม โดยแต่ละโรงพยาบาลอาจกำหนดขอบเขตช่วงล่างนี้ต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้หา ACT

การประเมินการตอบสนองต่อการมี ACT อยู่ในขีดจำกัดล่าง และการตอบสนองต่อปริมาณของเฮปารินที่ผู้ป่วยได้รับเป็นเรื่องที่สำคัญ ปริมาณของเฮปารินที่จะทำให้ ACT คงที่ (เช่น 300 วินาที) จะแตกต่างกันในแต่ละคน

หากมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดหรือมีปัญหาเลือดออก ก็อาจต้องปรับยา และ ACT หลังจากที่ผ่าตัด ซึ่ง ACT อาจคงอยู่ภายในช่วงแคบๆ (เช่น 175-225 วินาที) จนกระทั่งร่างกายกลับมาอยู่ในสภาวะคงที่

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Activated clotting time (ACT)

จำนวนของเกล็ดเลือด และการทำงานของเกล็ดเลือดอาจมีผลต่อการตรวจ ACT เพราะเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นระหว่างผ่าตัดมักจะทำหน้าที่ผิดปกติ ในบางครั้งการผ่าตัดและเฮปารินสามารถทำให้เกล็ดเลือดลดลงได้ นอกจากนี้อุณหภูมิของเลือดอาจส่งผลกระทบต่อผลตรวจ ACT ซึ่งเลือดมีแนวโน้มที่จะเย็นตัวระหว่างผ่าตัด เนื่องจากได้รับการกรอง และเติมออกซิเจนด้วยอุปกรณ์เชิงกล

ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังหรือภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ภาวะขาด Coagulation Factor (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ก็อาจกระทบต่อผล ACT เช่นกัน

ที่มาของข้อมูล

Activated Clotting Time (ACT) (https://labtestsonline.org/tests/activated-clotting-time-act), 22 December 2018.


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Activated clotting time (ACT). National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23546712)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป