Keratosis pilaris

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Keratosis pilaris

Keratosis pilaris นั้นเป็นภาวะที่ผิวหนังของคุณนั้นเป็นตุ่มเล็กๆ แข็งๆ สีแดงและมักจะเกิดที่ด้านหลังแขน หลายๆ คนมักจะรู้สึกว่ามันคล้ายกับกระดาษทรายหรือหนังไก่ และมีหลายคนที่เข้าใจผิดว่ามันเป็นสิวขนาดเล็ก ภาวะนี้ยังสามารถเกิดได้ที่ต้นขาและก้นในผู้ใหญ่และแก้มในเด็กเล็ก ภาวะนี้เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป โดยเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารเคราตินส่วนเกินสะสมอยู่รอบๆ รูขุมขน ซึ่งอาจจะไปทำให้เกิดการอุดตันและไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ ทำให้นูนกลายเป็นตุ่ม ภาวะนี้ไม่มีวิธ๊การรักษาแต่มันก็มักจะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนั้นยังมักจะมีอาการดีขึ้นในหน้าร้อนแต่แย่ลงในหน้าหนาวเนื่องจากผิวหนังนั้นแห้งมากขึ้น อย่างไรก็๖ม มีหลายวิธีที่สามารถทำให้ตุ่มแดงๆ เหล่านี้เห็นชัดน้อยลงได้อย่างมาก

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม

หากภาวะนี้เกิดจากเคราตินไปอุดตัน คุณจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลัดเซลล์ผิวเพื่อกำจัดเคราตินและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกไปถึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ในรายที่มีอาการปานกลางค่อนไปทางรุนแรง อาจจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นที่สามารถผลัดเซลล์ผิวได้เช่นมีส่วนผสมของ salicylic acid, glycolic acid, urea, หรือ ammonium lactate

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เพิ่มยาทา

ขั้นถัดมาก็คือการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่สามารถผลัดเซลล์ผิวได้ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะผลัดเอาเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุดที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วให้หลุดออก และหากมีส่วนผสมของ Boswellic acid ก็จะมีฤทธิ์ช่วยแก้แพ้ แก้อักเสบ และแก้ปวดได้อีกด้วย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ bisabolol และ shea butter นั้นจะช่วยลดอาการแดงที่เกิดขึ้น jojoba, grapeseed และน้ำมันแอลมอนด์นั้นจะช่วยทำให้นุ่มและเพิ่มความชุ่มชื้น คุณสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั่วไป หรืออาจพบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรึกษาเรื่องการใช้ยาทาเช่นยาที่มี salicylic acid ในตอนเช้าและยาในกลุ่ม retinoid ในตอนเย็น อาจมีการใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์หากผิวหนังนั้นมีอาการคันและแดง ครีมในกลุ่ม retinoid นั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วมาอุดตันที่รูขุมขน รักษาการผลิตน้ำมัน ป้องกันแบคทีเรีย และลดการอักเสบ

การลอกผิว

การลอกผิวนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ยาทาและจะเริ่มกระบวนการฟื้นตัว โดยควรใช้การลอกผิวที่มีส่วนผสมของ glycolic acid 20-30% ซึ่งจะเข้าไปทำลายผิวหนังแบบพอดี วิธีนี้จะทำให้ผิวหนังที่เป็นตุ่มของคุณถูกทำลายและกระตุ้นให้ร่างกายมีกระบวนการฟื้นตัวตามปกติ และเมื่อผิวหนังใหม่เริ่มขึ้น คุณก็มักจะเห็นว่าอาการของคุณนั้นดีขึ้น

เลเซอร์กำจัดขน

หากในบริเวณที่เป็นนั้นมีขนเส้นใหญ่อยู่จำนวนมาก การทำเลเซอร์กำจัดขนนั้นก็อาจจะช่วยได้ การใช้ Intense Pulsed Light (IPL) เลเซอร์นั้นสามารถกำจัดขนที่ถึงระดับรูขุมขน และการใช้เลเซอร์กำจัดผิวหนังที่ทำให้เกิดการอุดตันนั้น ก็จะช่วยลดตุ่มนูนๆ ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้นั้นมีรอยโรคที่ดีขึ้นและพอใจกับการรักษา

ใช้ Pulse-Dye Lasers

หากผิวหนังของคุณนั้นมีตุ่มแดงๆ คุณอาจจะลองใช้การรักษาแบบ Pulse-Dye Lasers วิธีนี้จะเป็นการปล่อยแสงสีเหลืองเข้มข้นออกมาสั้นๆ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่ต้องการ แสงนี้จะทำลายเส้นเลือด แต่จะทำให้บริเวณรอบๆ ผิวหนังนั้นยังเป็นปกติ ดังนั้นวิธีนี้จึงปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดการทำลายผิวหนังในระยะยาวแต่ต้องมีการเข้ารับการรักษาหลายครั้ง งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ป่วยทุกคนนั้นมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษา

ใช้วิธีตามธรรมชาติ

หากคุณต้องการใช้วิธีทางธรรมชาติ คุณอาจจะเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวซึ่งพบว่าสามารถลดอาการได้ดี และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มการรักษาทันทีเนื่องจากคุณสามารถหาน้ำมันมะพร้าวได้ง่าย น้ำมันมะพร้าวนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังที่แห้ง บรรเทาอาการคันและมีวิตามินที่ดีต่อสุขภาพ

เปลี่ยนการรับประทานอาหาร

 วิธีหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายในทุกๆ การเจ็บป่วยก็คือการเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้มีต่อสุขภาพ การเปลี่ยนอาหารให้มีแมกนีเซียมและสังกะสีเพิ่มขึ้นนั้นจะทำให้คุณมีอาการดีขึ้น


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Keratosis pilaris: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318746)
Keratosis Pilaris: Symptoms, Causes, Treatment, and Prevention. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/keratosis-pilaris)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป