คงปฏิเสธไม่ได้ว่าใครๆ ก็อยากมีความจำที่แม่นยำ ซึ่งความจำมีสองประเภทคือ ความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว สำหรับความจำระยะสั้นนั้นก็คือความจำประเภทที่สมองใช้ในการจัดเก็บข้อมูลขนาดเล็กในทันทีอย่างการจำคนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก ซึ่งเราจะลืมข้อมูลในเวลาไม่นาน ในขณะที่ความจำระยะยาวคือสิ่งที่คุณไม่จำเป็นต้องจำในทันทีอย่างความทรงจำในชีวิต หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่รู้ตัวว่าขี้ลืม วันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากวิธีที่ช่วยให้คุณมีความจำดีขึ้น มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
1. จดจ่อกับสิ่งที่ทำ
มีคนจำนวนมากที่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เมื่อเราไม่ได้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันก็เป็นเรื่องยากที่เราจะมีความจำดีขึ้น เพราะสมองจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลอย่างแม่นยำ หากสมองไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ มันก็จะทำให้คุณไม่สามารถหวนนึกถึงได้ในภายหลัง ดังนั้นหากคุณจำเป็นต้องจดจำบางสิ่ง คุณก็ควรเลิกทำงานหลายสิ่งพร้อมกันในครั้งเดียว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
2. ดม สัมผัส ชิม ฟัง และมอง
ยิ่งคุณใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าไร มันก็จะทำให้คุณมีความจำดีมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องจำชื่อของคนที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก การมองไปที่ดวงตาของอีกฝ่ายในขณะที่คุณเรียกชื่อเขาซ้ำและเชคแฮนด์ ก็สามารถทำให้คุณจำอีกฝ่ายได้ง่ายขึ้น
3. ทำซ้ำ
หากเราต้องการจำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานขึ้น และไม่ลืมในภายหลัง วิธีที่คนส่วนมากใช้แล้วได้ผลก็คือ การทำวนเราต้องการจำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานขึ้น และไม่ลืมในภายหลัง วิธีที่คนส่วนมากใช้แล้วได้ผลก็คือ การทวนมันซ้ำๆ ค่ะ่อเขาซ้ำ และเชคแฮมันซ้ำๆ ค่ะ ดังนั้นหากคุณต้องจดจำข้อมูล หรือวิธีการทำสิ่งใดก็ตาม การทบทวนสิ่งที่อ่านเป็นประจำ หรือการฝึกทำซ้ำหลายรอบก็จะทำให้คุณลืมสิ่งเหล่านั้นได้ยากขึ้น และคุณก็อาจจำมันไปได้อีกนาน
4. แบ่งข้อมูลของสิ่งที่จำ
การต้องจำข้อมูลเป็นจำนวนมากอาจทำให้คุณท้อแท้ และลืมสิ่งที่จำภายในเวลาไม่นาน ในกรณีนี้เราขอแนะนำให้คุณใช้เทคนิคการแบ่งข้อมูลในการจำ หากมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก ให้คุณแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อยๆ แล้วค่อยๆ จดจ่อกับการจำข้อมูลแต่ละส่วน
5. จัดระเบียบความจำ
คุณจะเห็นได้ว่าหนังสือยังต้องมีการแบ่งเป็นบท หรือการมี Outlines ในหนังสือเรียน ด้วยเหตุนี้การจัดระเบียบของข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ การจัดกลุ่มหรือจัดระเบียบของข้อมูลที่คุณต้องจำจะช่วยให้สมองนำเข้าข้อมูลได้ดีขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งแน่นอนว่ามันจะทำให้การจำมีแบบแผน ส่งผลให้คุณจำสิ่งต่างๆ ได้แม่นยำและนานขึ้น
6. ใช้เทคนิคช่วยจำ
การใช้เทคนิคที่ช่วยในการจำ หรือที่เรียกว่า Mnemonic Devices สามารถช่วยให้คุณมีความจำดีขึ้น ทั้งนี้มีหลายเทคนิคการจำให้คุณเลือกสรร แต่ทุกเทคนิคมีความเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ การช่วยให้เราจดจำข้อมูลที่มีความซับซ้อนผ่านทางรูปภาพ ตัวย่อ เสียงสัมผัส หรือเพลง นอกจากนี้การใช้เทคนิคดังกล่าวยังทำให้การจำข้อมูลไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
7. หาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง
วิธีการจำข้อมูลใหม่ของแต่ละคนนั้นก็จะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความชอบหรือความถนัด ดังนั้นให้คุณเลือกใช้วิธีที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด แม้ว่ามันจะไม่ใช่วิธีที่คนอื่นเลือกใช้ หรือพยายามเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น บางคนอาจชอบจดเมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในขณะที่บางคนอาจฟังแล้วค่อยกลับไปจดข้อมูลใส่กระดาษในภายหลัง
8. หาความเชื่อมโยง
เมื่อเราเรียนรู้ เรามักลืมที่จะพยายามหาความเชื่อมโยงของข้อมูลที่เราบันทึกเข้าไปในสมอง ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า เราจะมีความจำดีขึ้นหากเราพยายามสร้างความเชื่อมโยงเมื่อรับข้อมูลเข้ามาใหม่ ตัวอย่างเช่น ให้คุณคิดว่าข้อมูลที่คุณรับมามีความสัมพันธ์กันอย่างไร รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลใหม่ที่เพิ่งรับมากับข้อมูลหรือประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วในสมอง
อย่างไรก็ตาม นอกจากวิธีที่เรากล่าวไปจะช่วยให้คุณมีความจำดีขึ้นแล้ว การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพสมอง การออกกำลังกายเป็นประจำ และการนอนให้เพียงพอ ก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นคุณควรทำสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วยค่ะ