กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 ผลกระทบของการนั่งเป็นเวลานาน

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 ผลกระทบของการนั่งเป็นเวลานาน

การใช้ชีวิตนั่งๆ นอนๆ หรือการนั่งทำงานที่เดิมเป็นเวลานานสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้อย่างที่คุณคาดไม่ถึง โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานที่จำเป็นต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน แม้ว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่มันก็มีหลายวิธีที่สามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการนั่ง สำหรับผลกระทบของการนั่งเป็นเวลานาน และวิธีแก้ปัญหาที่คุณสามารถทำเองได้มีดังนี้

1. ปวดคอ

การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กระดูกสันหลัง การยกศีรษะทำมุม 30 องศาจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าตอนยกศีรษะให้ตั้งตรง 3-4 เท่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีแก้ปัญหา: จัดตำแหน่งคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยให้กึ่งกลางของหน้าจออยู่ในระดับเดียวกับคาง ซึ่งมันจะช่วยให้คอของคุณอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลาง แต่หากคุณไม่สามารถทำได้ ให้คุณจัดท่าทางใหม่ โดยยกคอมพิวเตอร์ หรือทีวีให้สูงขึ้น เพื่อให้มันอยู่ในตำแหน่งที่คุณไม่ต้องก้มดูหน้าจอ

2. ไม่มีสมาธิ

การนั่งเป็นเวลานานจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองตื้อ และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้

วิธีแก้ปัญหา: คุณควรหาเวลาเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยอาจเดินไปส่งเอกสารให้เพื่อนร่วมงาน และเดินไปถ่ายเอกสาร แต่ให้คุณทำสิ่งเหล่านี้ทีละครั้งแทนการทำรวดเดียวตอนลุกขึ้นเดินแต่ละครั้ง

3. ภาวะซึมเศร้า

มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน American Journal of Preventative Medicine ระบุว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่นั่งมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่นั่ง 4 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านี้ต่อวัน

วิธีแก้ปัญหา: ลองใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งนี้มีงานวิจัยพบว่า คนที่ใช้เวลาเดินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ 90 นาที มีแนวโน้มที่จะจมอยู่กับอารมณ์เชิงลบน้อยกว่าคนที่เดินในเมือง การมีความคิดที่ไม่ดีก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตอื่นๆ

4. อินซูลินมีปัญหา

เพียงแค่คุณใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ เพียงวันเดียว มันก็สามารถทำให้กิจกรรมของอินซูลินลดลง เมื่อร่างกายไม่ได้ใช้อินซูลินอย่างเหมาะสม คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีแก้ปัญหา: พกขวดน้ำติดตัว เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ ระดับของฮอร์โมนวาโซเพรสซินจะเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้มีงานวิจัยของประเทศฝรั่งเศสพบว่า คนที่ดื่มน้ำมากขึ้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ลดลง สำหรับปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวันคือ 17-34 ออนซ์

5. ปวดหลังช่วงล่าง

การนั่งที่โต๊ะเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดอาการปวดเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มแรก แต่สุดท้ายแล้วอาการก็อาจแย่จนถึงขั้นที่ทำให้คุณปวดหลัง การจัดท่าทางนั่งที่ไม่ดีสามารถทำให้เกิดปัญหากับกระดูกสันหลังได้

วิธีแก้ปัญหา: จัดท่าทางนั่งให้เหมาะสม ถ้าเป็นไปได้ให้คุณใช้คีย์บอร์ดแยกออกมาจากแล็ปท็อป เพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องก้มหลัง และจัดคีย์บอร์ดให้อยู่ในตำแหน่งที่ข้อศอกงออยู่ใกล้ลำตัวและข้อมือยืดออกได้เล็กน้อย

6. ปวดขา

เมื่อเราไม่ได้เหยียดขาหรือเคลื่อนไหว มันก็จะทำให้คุณเริ่มปวดกล้ามเนื้อ และหากคุณละเลยปัญหานี้ อาการปวดก็จะยิ่งแย่ลง

วิธีแก้ปัญหา: วางเก้าอี้ใหม่เพื่อให้ขาของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้รู้สึกสบาย ในขณะนั่ง ให้คุณวางฝ่าเท้าราบไปกับพื้น และปรับเก้าอี้ให้สูง เพื่อให้หัวเข่าสูงกว่าสะโพกเล็กน้อย

7. ไขมันสะสมมากขึ้น

มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน Exercise and Sport Sciences Reviews พบว่า การมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายมีความเชื่อมโยงกับการลดลงของกิจกรรมการเผาผลาญไขมัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
นวดจัดกระดูก (Chiropractic) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 765 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีแก้ปัญหา: ลุกขึ้นยืน หรือเปลี่ยนท่านั่ง หากคุณไม่สามารถเดินออกจากที่นั่งได้บ่อยครั้ง ให้คุณพักทุก 15 นาที โดยไม่ต้องยืน และใช้เวลา 5 วินาที เคลื่อนอวัยวะ 1 ส่วน หรือมากกว่านี้ โดยอาจหมุนข้อศอก มองเพดาน พิงเก้าอี้ ขยับนิ้ว ฯลฯ

8. กระดูกอ่อนแอ

มีงานวิจัยชิ้นเล็กๆ ใน Journal of Bone Mineral Research ระบุว่า การนั่งอยู่กับที่สามารถทำให้กระดูกเสื่อมสภาพและทำให้แร่ธาตุในกระดูกลดลง

วิธีแก้ปัญหา: คุณสามารถเสริมความแข็งแรงให้กระดูกโดยทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักโขม อาหารที่มีวิตามินดีอย่างไข่และปลาทูนา ทั้งนี้วิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในอนาคต การใช้วิธีที่เราแนะนำกล่าวไป ก็พอจะช่วยลดผลกระทบจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานได้ไม่มากก็น้อย

ที่มา: https://www.rd.com/health/fitn...

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The dangers of sitting: why sitting is the new smoking. Better Health. (https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/the-dangers-of-sitting)
Why we should sit less. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/why-sitting-too-much-is-bad-for-us/)
Sitting risks: How harmful is too much sitting?. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/expert-answers/sitting/faq-20058005)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป