8 ผลิตภัณฑ์ความงามที่ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่น

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 ผลิตภัณฑ์ความงามที่ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่น

มีผลิตภัณฑ์ความงามหลายชนิดที่คุณอาจไม่ได้ใช้แค่เพียงคนเดียว คุณอาจแบ่งให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวใช้ด้วย แต่การทำเช่นนี้กลับเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้เกิดปัญหาผิวได้อย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรรู้ว่ามีเครื่องสำอางหรือสกินแคร์ประเภทใดบ้างที่เป็นของส่วนตัว และไม่เหมาะแก่การแบ่งปันผู้อื่น เพื่อที่จะได้รักษาผิวให้มีสุขภาพดี  เราลองมาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. มาสคาร่า

มาสคาราเป็นไอเทมแต่งดวงตายอดฮิตที่อาจสัมผัสโดนหนังตาเมื่อคุณปัดขนตาตั้งแค่โคนจรดปลาย ซึ่งมันสามารถปนเปื้อนแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ และมีหลายครั้งที่แบคทีเรียเหล่านี้ทำให้เกิดโรคตาแดง ดังนั้นคุณไม่ควรใช้มาสคาราร่วมกับคนอื่นถ้าตาของคุณติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. อายไลน์เนอร์

อายไลน์เนอร์แบบดินสอ หรือลิควิดล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเกิดการปนเปื้อนได้ไม่ต่างจากมาสคารา ซึ่งหมายความว่า ถ้าเพื่อนของคุณมีไวรัสหรือแบคทีเรียในดวงตา มันก็มีโอกาสที่คุณจะติดเชื้อจากเขาหากใช้อายไลน์เนอร์แท่งเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่คุณอาจเจอก็คือ โรคกระจกตาอักเสบ

3. ลิปสติคและบาล์ม

ปากของเราทุกคนล้วนแต่เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย และไม่ใช่ว่าทุกคนจะติดเชื้อ แต่มันจะมีโอกาสเกิดขึ้นหากคุณใช้ลิปสติคหรือลิปบาล์มร่วมกับคนอื่น ซึ่งแบคทีเรียบางชนิดสามารถใช้ช่องทางนี้ในการเคลื่อนที่ สุดท้ายแล้วมันก็จะไปเปลี่ยนค่า pH ของผิวที่ริมฝีปาก

4. บลัชและฟองน้ำแต่งหน้า

การหมั่นล้างอุปกรณ์สำหรับแต่งหน้าซึ่งหมายความรวมถึงแปรงและฟองน้ำเป็นประจำถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผิวหนังและการติดเชื้อ นอกจากนี้คุณไม่ควรใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับคนอื่น โดยเฉพาะคนที่เป็นสิว ผิวระคายเคือง หรือเป็นภูมิแพ้ เพราะผิวของคนเหล่านี้อาจมีแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกที่ทำร้ายผิวของคุณ

5. ยาระงับกลิ่นตัว

ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของแท่งหรือโรลออน คุณก็ไม่ควรแบ่งให้คนอื่นใช้ เพราะแทนที่ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จะช่วยปกป้องคุณ มันกลับทำให้คุณมีกลิ่นเหม็นและอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงเป็นการแพร่แบคทีเรีย เหงื่อ และสิ่งสกปรกไปยังผิวของคนอื่นอีกด้วย

6. มีดโกน

มีดโกนอาจช่วยให้คุณกำจัดขนบริเวณที่ไม่ต้องการได้ แต่คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้มีดโกนร่วมกับคนอื่น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มีดโกนอาจบาดผิวของเราในขณะที่ใช้ ทำให้ความเสี่ยงที่คุณจะติดเชื้อในภายหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีดโกนยังเก็บสะสมเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และนั่นก็สามารถทำให้รูขุมขนอุดตัน

7. อุปกรณ์ตัดเล็บ

การตัดเล็บอาจช่วยให้เล็บของคุณมีสุขภาพดีและสวยงาม และการใช้อุปกรณ์ตัดเล็บร่วมกับคนอื่นอาจเป็นเรื่องปกติที่หลายคนทำ แต่ความจริงแล้วการทำเช่นนี้สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อ เพราะนิ้วและเล็บของเราเป็นศูนย์รวมของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส แม้ว่าคุณจะมองไม่เห็นพวกมัน แต่จุลชีพเหล่านี้สามารถทำให้เกิดปัญหาได้ โดยไปเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดเชื้อราใต้เล็บหรือบนผิว  ทำให้เกิดหูด และทำให้ผิวติดเชื้อ

8. บอดี้ครีมแบบกระปุก

ในแต่ละครั้งที่คุณใช้มือจุ่มลงในกระปุกครีม คุณได้ทิ้งแบคทีเรียลงไปในนั้น และในบางสภาพแวดล้อม แบคทีเรียจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งคนอื่นก็อาจมีเชื้อโรคที่มือเช่นกัน ทางที่ดีคุณไม่ควรใช้ครีมกระปุกร่วมกับคนอื่น และล้างมือให้สะอาดก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ความงามทั้งหลาย

แม้ว่าการแบ่งปันจะเป็นเรื่องดี แต่ในบางครั้งมันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดปัญหาผิวหรือการติดเชื้อ ดังนั้นเพื่อสุขภาพผิวที่ดี คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เรากล่าวไปร่วมกับผู้อื่น การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการต้องมาแก้ปัญหาในภายหลังค่ะ

ที่มา: https://steptohealth.com/8-bea...


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parabens in Cosmetics. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/parabens-cosmetics)
Best Skin Care Blogs of 2019. Healthline. (https://www.healthline.com/health/best-skin-care-blogs)
Bozzo, P., Chua-Gocheco, A., Einarson, A. (2011). Safety of skin care products during pregnancy. Canadian Family Physician, 57(6), 665-667 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3114665/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)