6 ปี กับการเรียนรู้ที่จะเป็นหมอ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
6 ปี กับการเรียนรู้ที่จะเป็นหมอ

6 ปี กับการเรียนรู้ที่จะเป็นหมอ

กว่าจะจบการเรียนแพทย์ที่ใช้เวลา 6 ปี นั้น ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง เรียนหนักไหม เวลาที่เขาว่าต้องเสียไปได้ความรู้ความสนุกอะไรแลกมา และเรียนแต่ละปีมีแต่ความสนุกไม่เบื่อหน่ายยังไงน้องๆ คงอยากรู้เพราะที่ว่าบางคนบ่นเหนื่อยจนทนไม่ไหวก็มี บางคน ชอบมากที่ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ของร่างกายผู้เขียนจะนำเสนอสิ่งที่รู้ให้น้องๆ ได้ทราบกันคร่าวๆ เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจว่าใจสู้หรือเปล่า พร้อมไหมกับเวลาที่จะเสียไป เพราะช่วงที่ขาดหายของวัยรุ่นบางคนอยากใช้ชีวิตให้คุ้ม

 จึงอยากรูว่าการเป็นหมอนั้นที่เขาบอกกันว่านอกจากเก่งแล้ว เรียนก็ต้องเรียนนานกว่าคณะ สาขาวิชาอื่นจริงไหมแต่ถึงจะใช้เวลามากแค่ไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเป็น "หมอ"คืออาชีพในฝันของเด็กหลาย ๆ คน เมื่อฝันที่จะทํา ก็ต้องทำให้ได้ และทำให้ดี เพราะกว่าที่จะมาถึงจดุที่จะมาเป็นนักศึกษาแพทย์ เราต้องแข่งขันกับนักเรียนจำนวนมากที่มาสอบเข้าซึ่งก็มีอยู่ทั่วประเทศไทยเมื่อได้โอกาสที่จะเรียนแล้วควรจดจำทุกช่วงปีที่เรียนให้ดี เพราะแต่ละปีมีเรืองสนุกๆ มากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในที่นี้ผู้เขียนจะเล่าคร่าวๆ จากประสบการณ์ของรุ่นน้องที่รู้จักว่าเขาเรียนอะไรประมาณไหน น้องๆ จะได้เจอเรื่องสนุกอะไรในบทเรียนบ้าง ดังนี้

สำหรับปีแรก

ของการเข้าเรียน เป็นปีที่สบายที่สุด เพราะการเริมต้นเรียนแพทย์ในชนให้ 1 นี้จะคล้ายกับเนื้อหาในระดับมัธยมปลาย (แต่ก็ไม่สบายเท่า ม.ปลายนะ) ก็จะมีเรียน ดังแต่ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่เนื้อหาจะค่อนข้างลึกมากกว่า แต่ก็มีคณะแพทย์บางมหาวิทยาลัยเรียนครบทุกตัวทีกล่ามา และยังคงต้องมีเรียนคณิตศาสตร์อยู่ และจะเน้นที่แคลคูลัสด้วย ในส่วนของเรื่องกิจกรรม มีกิจกรรมต่างๆ มากมายทั้งในคณะและนอกคณะ ได้เจอเพื่อร่วมคณะและเพื่อนต่างคณะกิจกรรมใดก็ร่วมกับเขาเถอะ เพราะต่อไปน้องจะใช้เวลากับการศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น จนน้องอาจจะบ่นได้ว่า รู้อย่างนี้ปี 1 ร่วมกิจกรรม หรือใช้เวลาช่วงปีที่ 1 ให้คุ้มเสียก็ดี

ปีที่ 2

การเรียนจะจริงจังกว่าปีแรก จะได้เรียนรู้ร่างกายของ มนุษย์ จะเป็นการเรียนที่ไม่เคยได้เจอมาก่อนน้อง ๆ จะรู้สึกตื่นเต้นกับโครงสร้างและระบบต่างๆ ในร่างกายในภาวะปกติอย่างละเอียด หรือการเรียนรู้วิชากายวิภาค Anatomy หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดวิชากายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนีงของชีววิทยาซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้าง (Form and structure)ของสิ่งมีชีวิตที่ รวมทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิชาสรีรวิทยาคำว่า Anatomy แยกออกได้เป็น Ana = Apart แปลว่า เป็นชิ้นหรือเป็นส่วนๆ ส่วน Tomyหรือ Tome = Cutting แปลว่า ตัด ดังนั้น Anatomy เมื่อรวมกันแล้ว จึงหมายถึงการตัดหรือชำแหละออกเป็นส่วนๆซึ่งในการเรียน Gross Anatomy ใช้การชำแหละ (Dissection) ด้วยตาเปล่าเป็นหลักที่สำคัญเป็นการเรียนรู้ศึกษาร่างจากอาจารย์ใหญ่ผู้อุทิศร่างกายให้นักศึกษาแพทย์จะเห็นสัจจะธรรมอย่างหนึ่งคือไม่ว่ารวยหรือจน ร่างกายก็มีประโยชเสมอหากเรารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์เพราะการให้ของเราจะทำให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์เพื่อนำการศึกษาเหล่านี้ไปช่วยเหลือบุคคลอื่นต่อไปนอกจากนี้แล้วยังมีเรียนวิชาเกี่ยวกับสรีรวิทยา Physiology เกี่ยวกับกลไกการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย จะได้เห็นถึงความซับซ้อนของร่างกาย สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็จะได้รู้ รวมไปถึงการเรียน จุลกายวิภาค เกี่ยวกับเซลล์และเนื้อเยื่อHistology โดยต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง และก็มีอีกหลายวิชาให้สร้างความตื่นเต้นในปีนี้ จะเรียนหนักกว่าปีแรกยิ่งนัก ต้องทนกับกลิ่นฟอร์มาลีน แต่ก็ไม่มาก ส่วนน้อง ๆ ที่กลัวผีอ่านแล้วตกใจต้องเรียนกับอาจารย์ใหณ่ด้วย บอกได้เลยว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเพราะห้องเรียนไม่ได้มืดแต่กลับสว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน บางคนชอบช่วงปีนี้มากเพราะได้เรียนรู้ว่า ร่างกายของตนเองประกอบไปด้วยอะไรที่น่าทึ่ง จากไม่เคยรู้ก็ได้เรียนรู้จากการเป็นนักศึกาแพทย์เนี่ยแหละ

ปีที่ 3

ในปีนี้ บางคนใช้เทคนิคในการท่องจำเป็นหลัก ซึ่งปีนี้จะตื่นเต้นและสนุกกับการเรียนกว่าปีก่อน เพราะคราวนี้จะเรียนเกี่ยวกับ Pathophysiologyกระบวนการ ขั้นตอน กลไก ที่ก่อให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติไปของเซลล์ ของเนื้อเยื่อ และ/หรือของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งการทำงานที่ผิดปกติไปนี้จะส่งผลให้เกิดอาการ โรค หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ หรือพยาธิสรีรวิทยา พยาธิสรีรวิทยามาจาก 2 คำรวมกันคือ พยาธิวิทยา(Pathology) และสรีรวิทยา (Physiology) Pathology มาจากภาษากรีกแปลว่า โรค ส่วน Physiology ก็มาจากภาษากรีกเช่นกันแปลว่า การทำงานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มแรกจะได้เรียนพื้นฐานก่อนเพื่อได้เรียนรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ต่อมาก็เรียนรู้อวัยวะต่าง ๆที่เกิดโรคจะเห็นอวัยวะต่าง ๆ มากมาย ได้ศึกษา เช่น ตับ ไต ม้ามลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ฯลฯ โดยจะได้เรียนรู้ความแตกต่างและตื่นเต้นไปกับอวัยวะของคนเราว่ามี “ปกติ” ก็ต้องมี “ผิดปกติ” ได้เห็นส่วนสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายว่ามีกลไกการทำงานกันอย่างไร บางคนที่เคยข้องใจกับการผิดปกติของร่างกายตนเองแล้วได้มาเรียนรู้ จนทำให้รู้สึกประทับใจกับการเรียนเลยก็มี

ปีที่ 4 (Clinic)

ปีแห่งการรอคอยของใครบางคน เพราะบางคนอยากจะเรียนรู้จากชั้นนี้เพราะจะไดเรียนรู้ในโรงพยาบาลได้เจอคนไข้จริง ๆ ได้พัฒนาความสามารถขึ้นเรื่อย ๆ ได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และที่สำคัญได้ท้าทายร่างกายและอารมณ์ของตัวเองให้ได้ปรับตัวพร้อมทุกสถานการณ์ แต่นักศึกษาแพทย์บางรุ่น บอกเลยว่าไม่อยากเรียนชั้นนี้บ่นเหนื่อย เพลีย กันเลยทีเดียว สำหรับปี 4 ก็จะเรียนชั้นคลินิก เป็นการเรียนรู้บนหอผู้ป่วยจริง ๆ ได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย บอกแนวทางการส่งตรวจเพิ่มเติม แนวทางการรักษา และมีการทำหัตถการเบื้องต้น เช่นการเย็บแผล การเจาะน้ำในท้อง เจาะน้ำในปอด เป็นต้น โดยการเรียนรู้ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยหรือวอร์ด จะเรียนรู้และฝึกฝนในการเรียนชั้นปีที่ 4 และ 5 ของแต่ละภาควิชา ก็จะมีตั้งแต่วอร์ดหลัก ได้แก่ศัลยศาสตร์ อายุรศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยการปฏิบัติงานแต่สะวอร์ด ก็จะวนไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งปี อาจจะอยู่มากอยู่น้อยสลับกันไป เช่น บางวอร์ดอาจจะอยู่ 1-3 สัปดาห์ บางวอร์ดอาจจะอยู่ 6-10สัปดาห์ซึ่งการเรียนชั้นคลินิกนี่ต้องอาศัยการปรับตัวอย่างมาก การเรียนรู้เริ่มเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้มาจากห้องเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองค้นคว้าเอง เรียนรู้แบกึ่งแบบปฏิบัติ ต้องขึ้นเวร จะทำให้เห็นว่ายากกว่าและเหนื่อยกว่า 3 ปีแรก เพราะเริ่มขึ้นปฏิบัติงานบนวอร์ดตั้งแต่ 7 โมงเข้าไปจนถึง 5-6 โมงเย็น หรืออาจมีอยู่เวน ถึง 24.00 น. หรือ อยู่เวรถึงเช้าเลย อันนี้ก็แล้วแต่วอร์ด ทั้งนี้ก็จะได้เห็นตัวตนของตัวเองด้วยว่ามีความรับผิดชอบ มีวินัยต่อการปฏิบัติหน้าที่มากน้อยเพียงใด

ปีที่ 5

เรียนรู้เหมือนปีที่ 4 โดยการเรียนรู้ชั้นคลินิกนี้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่สร้างความอดทน การเรียนรู้ และศึกษาด้ดวยตนเองได้พัฒนาได้ฝึกทักษะของตนเอง ได้คิดค้นใช้กระบวนการทางความคิดได้ลงมือปฏิบัติ ถือว่าเป็นเรื่องที่สนุกน่าตื่นเต้นมาก อยากให้น้องที่สอบติดแล้ว จงสนุกกับการเรียนในทุกชั้นปี ศึกษาความรู้และศึกษาตัวเองไปด้วย จะได้รุ้ตัวตนของตัวเองในรักในการเป็นหมอมากแค่ไหน รู้สึกดีที่ได้ช่วยคนหรือไม่ อาจจะเหนื่อยแต่ก็น่าภูมิใจ อยากให้น้องๆ เตรียมร่างกายให้พร้อมหากร่างกายตนเองแข็งแรงแล้วก็สามารถที่จะรักษาผู้อื่นได้ เพราะการที่จะเป็นหมอต้องพร้อมที่จะใช้ชีวิตเพื่อคนอื่น และควรจะต้องรุ้จักสนใจใฝ่รู้ด้วย เพราะวิชาแพทย์เป้นวิชาที่กว้างดังนั้นควรจะใฝ่รู้ด้วยตนเองนอกจากคนอื่นป้อนให้ ควรศึกาเรื่องการรักษาเวชภัณฑ์ เครื่องไม้เครื่องมือที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพราะนอกเหนือจากตำรามักมาจากความแสวงหาความรู้เสมอ

ปีที่ 6

เป็นปีสุดท้ายของการเรียนแพทย์ เป็นการเรียนที่ถือว่าหนักเพราะเป็นการเรียนที่เปรียบเสมือนแพทย์จริง ๆ ได้ตรวจผู้ป่วย การรักษาด้วยตนเอง และต้องทำหัตถการหลาย ๆ อย่างได้เอง โดยจะมีอาจารย์คอยดูอย่างใกล้ชิด ชั้นปีที่ 6 นี้เรียกกันว่า Extern ซึ่งก็คือนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 การเรียนชั้นนี้อาจจะสร้างความเครียดให้ใครหลาย ๆ คน เพราะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ ผิดพลาดไม่ได้เพราะนั่นหมายถึงชีวิต ต้องใช้ EQ มากกว่า IQ ด้วย ที่สำคัญจะได้เรียนรู้จริงเปรียบเสมือนแพทย์ท่านหนึ่ง ดังนั้นน้อง ๆ ทุกคนสอบเข้าได้ก็จงตั้งใจศึกษาให้ดีไม่แค่ชั้นใดชั้นหนึ่ง แต่ใส่ใจทุกช่วงชั้นปี ทุกเวลาที่มี เพื่อตนเองและสังคมและนี่ก็คือ 6 ปี ที่น้อง ๆ ต้องเรียนเมื่อสอบติด “แพทย์” อ่านแล้วเห็นถึงความสนุก ตื่นเต้น ทั้งในเรื่องทฤษฎี และปฏิบัติ กันแล้วสำหรับศัพท์ที่เขาใช้เรียกกันก็จะมีPre-clinic คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิก หมายถึงชั้นปี 1-3Clinic คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก หมายถึง นิสิตปี 4 และ 5Externคือ นักศึกษาแพทย์ปี 6 Intern  คือ แพทย์จบใหม่ หรือแพทย์ใช้ทุน 3 ปีResidentคือ แพทย์ประจำบ้าน หมายถึง แพทย์ที่เข้ามาศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่งFellowคือ แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ ซึ่งก็คือแพทย์ที่จบสาขาเฉพาะทางแล้วยังต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาย่อยลงไปอีกคร่าว ๆ ประมาณนี้เพียงเท่านี้หวังว่าน้อง ๆ จะไม่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรียนแพทย์นะ หากไม่มีอุปสรรค ก็จะไม่รู้จักเส้นทางที่รื่นรมย์ หากไม่รู้จักเหนื่อยก็จะไม่เข้าใจคำว่าสบายเป็นอย่างไร ทุกอย่าง มีสุข มีทุกข์ มีดีมีร้าย ขอให้น้องๆ โชคดีทั้งก่อนสอบและหลังสอบ ใช้ชีวิตให้สนุกกับการเรียนเป็นแพทย์ทุกคน

 


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)