6 วิธีใช้ประโยชน์จากโยเกิร์ตที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีใช้ประโยชน์จากโยเกิร์ตที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

เมื่อพูดถึงโยเกิร์ต หลายคนอาจคิดว่ามันเป็นอาหารว่างที่เป็นมิตรสำหรับคนที่กำลังไดเอท แต่นอกจากโยเกิร์ตมีรสชาติที่อร่อยถูกปากคนทุกเพศทุกวัยแล้ว ยังเป็นที่รู้กันด้วยว่าโยเกิร์ตมีแบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ และการเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้ว่าเราไม่ได้นำโยเกิร์ตมาใช้ทานเป็นอาหารเท่านั้น แต่เราสามารถนำโยเกิร์ตมาใช้บรรเทาได้สารพัดปัญหาเลยค่ะ สำหรับแนวทางการใช้โยเกิร์ตมีดังนี้

1. บรรเทาแผลไหม้

กรดแลคติกในโยเกิร์ตช่วยควบคุมค่า pH ในผิว และเร่งกระบวนการฟื้นฟูผิวในคนที่มีแผลไหม้ระดับเล็กน้อย ทั้งนี้การทาโยเกิร์ตบริเวณผิวที่ไหม้โดยตรงทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น อีกทั้งยังช่วยลดความรู้สึกแสบร้อนและรอยแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีใช้

  • นำโยเกิร์ตไปแช่ในตู้เย็น หลังจากนั้นให้คุณนำมาทาบริเวณที่มีปัญหา
  • ปล่อยทิ้งไว้ 15 นาที และใช้ผ้าเปียกค่อยๆ เช็ดโยเกิร์ตส่วนเกิน
  • ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง จนกว่าผิวจะหายสนิท

2. รักษาเชื้อราในเล็บ

เราสามารถนำโยเกิร์ตมาช่วยรักษาเล็บที่ติดเชื้อราได้ สารต้านเชื้อราในโยเกิร์ตมีคุณสมบัติช่วยหยุดการเจริญเติบโตของจุลชีพ อีกทั้งยังทำให้เล็บมีสีเหลืองลดลง

วิธีใช้

  • ใช้โยเกิร์ตนวดตรงเล็บที่มีปัญหา
  • ปล่อยทิ้งไว้ 30 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น โดยให้ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์

3. ลดรังแค

สำหรับคนที่มีรังแค โยเกิร์ตถือเป็นตัวช่วยที่ดีค่ะ เพราะสารต้านเชื้อราในโยเกิร์ตสามารถช่วยกำจัดรังแคได้ นอกจากนี้สารอาหารในโยเกิร์ตยังควบคุมค่า pH และป้องกันไม่ให้หนังศีรษะแห้งกร้าน อีกทั้งยังช่วยลดซีบัมที่ถูกผลิตออกมามากเกินไปอีกด้วย

วิธีใช้

  • ทำผมให้ชุ่ม แยกเป็นส่วนๆ และใช้โยเกิร์ตทาให้ทั่วหนังศีรษะ
  • ปล่อยทิ้งไว้ 30 นาที แล้วค่อยล้างออก โดยให้ทำเช่นนี้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์

4. รักษาโรคปากนกกระจอก

แบคทีเรียชนิดดีที่พบได้ในโยเกิร์ตธรรมชาติสามารถช่วยต่อสู้กับจุลชีพที่ทำให้เกิดแผลร้อนใน อย่างไรก็ดี การใช้โยเกิร์ตจะช่วยทำให้ค่า pH ที่ผิวกลับมามีระดับที่สมดุล และช่วยในกระบวนการเยียวยา

วิธีใช้

  • ใช้โยเกิร์ตแบบแช่เย็นเพียงเล็กน้อยถูที่บาดแผล
  • ปล่อยทิ้งไว้ และทา 2-3 ครั้งต่อวัน
  • ใช้ทรีทเมนต์สูตรนี้จนกว่ารอยแผลจะหายไป

5. ทำให้ฟันขาวขึ้น

การใช้โยเกิร์ตกับฟันอาจไม่ได้มีประสิทธิผลเท่ากับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับฟันโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม การใช้โยเกิร์ตทุกวันสามารถทำให้คราบสีเหลืองบนฟันที่เกิดจากอาหารดูจางลง โยเกิร์ตจะช่วยกำจัดคราบพลัคที่ทำร้ายเคลือบฟัน

วิธีใช้

  • หยดโยเกิร์ตเพียงเล็กน้อยลงบนแปรงสีฟันและแปรงฟันตามปกติ
  • ปล่อยไว้โดยไม่ต้องล้าง โดยให้ทำเช่นนี้วันละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรนำโยเกิร์ตมาใช้แทนยาสีฟัน แต่ให้คุณใช้โยเกิร์ตแปรงฟันหลังบ้วนปาก

6. จัดการกับสิว

กรดและสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่พบได้ในโยเกิร์ตตามธรรมชาติสามารถช่วยหยุดยั้งการผลิตน้ำมันส่วนเกินบนใบหน้าและลดสิว นอกจากนี้การใช้โยเกิร์ตขัดผิวจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกที่ก่อตัวในรูขุมขน อีกทั้งยังช่วยเติมความชุ่มชื้นและทิ้งความสดชื่นไว้ที่ผิว

วิธีใช้

  • ทาโยเกิร์ตรสธรรมชาติให้ทั่วใบหน้า หรือบริเวณที่มีแนวโน้มเกิดสิว
  • ปล่อยทิ้งไว้ 30 นาที หลังจากแห้งแล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  • ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะว่า โยเกิร์ตสามารถเป็นได้มากกว่าแค่ของหวานแสนอร่อย ซึ่งการใช้โยเกิร์ตไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ และคุณสามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่แน่ว่าคุณอาจติดใจจนถึงขั้นซื้อโยเกิร์ตมาตุนไว้ในตู้เย็น



6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Know-gurt: A Guide to Probiotics and Yogurt. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/digestive-health/knowgurt-a-guide-to-probiotics-and-yogurt.aspx)
Your complete guide to choosing a yogurt to meet your needs. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/your-complete-guide-to-choosing-a-yogurt-to-meet-your-needs)
Yogurt: Types, health benefits, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/295714)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม