5 พฤติกรรมอันตราย! ที่ทำร้ายสายตาอย่างเงียบๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 พฤติกรรมอันตราย! ที่ทำร้ายสายตาอย่างเงียบๆ

ประสิทธิภาพการมองเห็นของคนเรานั้นสวนทางกับอายุ กล่าวคือ ยิ่งอายุมาก โอกาสที่จะมองเห็นรายละเอียดยิบย่อยก็ยิ่งน้อยลง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของดวงตานั้นไม่ใช่แค่อายุเพียงอย่างเดียวแน่นอน แต่รวมไปถึง 5 พฤติกรรมอันตรายดังต่อไปนี้ด้วย

1. การเผชิญหน้าดวงตากับแสงแดด

เมื่อพูดถึงความอันตรายจากรังสียูวี (UV) ในแสงแดด ผู้คนส่วนมากมักมุ่งไปในเรื่องของมะเร็งผิวหนังเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งความจริงแล้วรังสียูวีทำลายเซลล์ที่บริเวณดวงตาของเราได้มากพอๆกับการที่มันทำลายเซลล์ผิวหนังของเราเลย เมื่อดวงตาของเราต้องเผชิญหน้ากับแสงแดดโดยไม่มีการป้องกัน รังสียูวีนี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ที่จอประสาทตาได้ทีละเล็กทีละน้อยโดยที่เราไม่รู้ตัว นี่จึงถือว่าเป็นภัยเงียบสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีแสงแดดมากเกือบตลอดทั้งปีอย่างประเทศไทย เพราะเมื่อเราเคยชินกับแสงแดดไปแล้ว เราก็ไม่คิดที่จะพยายามหลีกเลี่ยงมันอีกต่อไป ซึ่งการละเลยการป้องกันตัวเราจากแสงแดดและรังสียูวีนี่แหละคือปัจจัยอันตรายที่ทำลายประสิทธิภาพในการมองเห็นของเราได้อย่างที่เราไม่รู้ตัวเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การสูบบุหรี่ส่งผลต่อประสาทตา

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำลายสายตาได้ไม่ต่างอะไรไปจากแสงแดดเลย เราได้ยินได้ฟังมามากมายว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งปอด แต่จะมีสักกี่คนที่ตระหนักว่าการสูบบุหรี่นั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อมด้วย? การสูบบุหรี่ทำให้การหมุนเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย รวมไปถึงดวงตาของเรามีปัญหา ซึ่งนั่นก็หมายถึงการที่ดวงตาของเราขาดออกซิเจนและสารอาหารที่มากับเลือดด้วย ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดก็คือการสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร

3. การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์

[caption id="" align="aligncenter" width="640"]

ล้าสายตา จากหน้าจอคอม[/caption]

การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานสามารถทำลายประสิทธิภาพในการมองเห็นของเราได้ด้วย เชื่อว่าหลายคนต้องงัดเอาข้อถกเถียงเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ป้องกันรังสีต่างๆจากหน้าจอขึ้นมา ซึ่งเราก็ยอมรับว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ป้องกันสายตาของเราได้ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนที่ยังสามารถทำลายสายตาของเราได้อยู่ก็คือการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่กระพริบตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ เรามักจะจดจ่อกับสิ่งที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอด้วยดวงที่เบิกกว้างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดวงตาของเราแห้งและทำให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆดวงตาเกิดอาการล้า นี่จึงเป็นที่มาของการมองเห็นที่พร่ามัวก่อนวัยอันควรนั่นเอง

4. การบาดเจ็บของดวงตาทั่วไป

หลายคนคงคาดไม่ถึงว่าการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวันสามารถทำให้เราสูญเสียการมองเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็นการกวาดบ้าน การตัดหญ้า การเจาะสว่าน หรือแม้แต่การล้างรถทั่วไป แต่เพราะเราคาดไม่ถึงนี่แหละ...จึงทำให้เราทำกิจกรรมเหล่านี้โดยไม่ระวังเนื้อระวังตัว

จักษุแพทย์หลายท่านกล่าวว่า คนไข้บางรายไม่ยอมตรวจเช็คดวงตาทันทีที่พบว่ามีสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หรือแม้แต่การที่ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนจากการหกล้มทั่วไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อยู่ในขั้นที่สูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปเสียแล้ว

5. การละเลยสุขภาพโดยรวม

สุขภาพโดยรวมของเราส่งผลกระทบต่อดวงตาได้ด้วยเช่นกัน จากการสำรวจพบว่าผู้ที่สูญเสียการมองเห็นมักมีการละเลยการดูแลสุขภาพโดยรวม ทำให้มีระดับไขมันในเลือดและระดับความดันเลือดที่สูง ปัญหาสุขภาพเหล่านี้นำมาซึ่งโรคต่างๆที่เกี่ยวกับการหมุนเวียนเลือด จึงมักทำให้หลอดเลือดรอบๆดวงตาทำงานได้ไม่เต็มที่หรืออาจถึงขึ้นถูกทำลาย ผลลัพธ์ก็คือการสูญเสียการมองเห็นนั่นเอง

พฤติกรรมทั้ง 5 นี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำลายสายตาของเราได้โดยที่เราคาดไม่ถึง เราจึงควรหันมาดูแลสุขภาพดวงตาของเราโดยการหยุดพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ก่อนที่จะสายเกินแก้


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Tips to Protect Your Vision and Prevent Blindness. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/news/10-essential-facts-about-your-eyes/)
What Is Alzheimer's Disease?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/what-alzheimers-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป