กฎหมายเกี่ยวกับการปฎิเสธการรักษา
สืบเนื่องจาก มาตรา 12 ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่บัญญัติการตายของผู้ป่วย โดยระบุว่า
“บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การดำเนินการตามหนังสือเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”
‘สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษา’ จึงหมายถึงการแสดงเจตจำนงค์หรือเจตนาที่จะกำหนดวาระสุดท้ายของตนว่าต้องการจะเสียชีวิตแบบใด เป็นไปเพื่อยุติความทรมานของอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงที่การรักษาทำได้เพียงยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยลงรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรใน “หนังสือแสดงเจตนาขอปฏิเสธการรักษา (Living Will)” ที่มีผลยินยอมทางกฎหมาย ในการเขียนเอกสารต้องกระทำในขณะที่ผู้ป่วยมีสัมปชัญญะครบถ้วนไว้ล่วงหน้ารวมทั้งมีการลงชื่อและข้อมูลพยานของทั้งฝั่งผู้ป่วยและพยานฝ่ายผู้ให้การรักษาและผู้ใกล้ชิดที่รับมอบอำนาจในการแสดงเจตนาแทนหรือปรึกษากับแพทย์ในการวางแผนการรักษาดูแลต่อไปในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติทั้งนี้กระบวนการทำหนังสือควรผ่านคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักกฎหมายที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
กฎหมายดังกล่าวถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ทุกข์ทรมาน ไม่ต้องยืดชีวิตด้วยเครื่องมือหรือเทคโนโลยีทางการแพทย์แม้ก่อนหน้านี้จะเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในหมู่แพทย์ นักจริยธรรม และนักกฎหมายว่า การปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขฯ ตามมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ขัดกฎหมายหรือหลักจริยธรรมหรือไม่ และถูกต้องหรือไม่ที่ญาติมีสิทธิในชีวิตของผู้ป่วย
สิทธิปฏิเสธการรักษาเป็นสิทธิที่ผู้ป่วยทุกคนมีติดตัวอยู่แล้ว เพียงแต่ทำการแสดงเจตนาเป็นหลักฐานเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ญาติ สามารถปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาได้ตรงตามความประสงค์ของผู้ป่วยอย่างไม่มีความผิดฐานละเลยการให้การรักษาหรือเพิกเฉยต่อการการรักษาคนไข้ หรือผิดกฎหมาย จึงได้มีการจัดทำร่างกฎกระทรวง หลักเกณฑ์ วิธีการในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตขึ้น
เหตุผลที่บางคนปฎิเสธการรักษา
ตัวอย่างของภาวะความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางจิตใจ ที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายหรือบรรเทาลดน้อยลงพอที่จะทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่น การเป็นอัมพาตสิ้นเชิงตั้งแต่คอลงไป โรคสมองเสื่อม โรคที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและข้อที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรักษาหายซึ่งการเจ็บป่วยนั้นทำให้ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถโต้ตอบ และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อีกต่อไปหรือกรณีป่วยเป็นโรคที่ทางการแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ไม่มีทางรักษาให้หายเป็นปกติได้ สามารถทำได้เพียงแค่ใช้เทคโนโลยียืดชีวิตออกไปโดยไม่มีความหวังว่าจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งบางครั้งเครื่องมือหรือการรักษาต่างๆ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานมากกว่าปกติ เช่น การเจาะคอเพื่อให้อาหาร เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
“งานวิจัยทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งทำในเชิงปริมาณในผู้ป่วยหญิง 15 คนที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะท้าย พบว่าผู้ป่วยไม่รู้กฎหมายนี้เลย แต่ยอมรับว่าดี แต่ก็ยังยุ่งยากในทางปฏิบัติ…”
“การสำรวจในห้องไอซียู พบว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้ายในห้องไอซียู 50 เปอร์เซ็นต์และในหอผู้ป่วยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ไม่รู้ภาวะตัวเอง แล้วก็ต้องกลับมานอนรอความตายด้วยเครื่องพยุงชีพ ซึ่งเป็นความทุกข์ทรมานทั้งผู้ป่วย ญาติ และต่อระบบสุขภาพ”
สถิติข้างต้นเป็นข้อมูลและตัวอย่างของกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ติดเตียงยังไม่นับรวมภาระค่าใช้จ่ายระยะยาวอีกมากในการยืดชีวิตรอคอยวาระสุดท้ายซึ่งไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นต่อเดือน สิทธินี้จึงเป็นข้อมูลทางเลือกเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยตัดสินใจไม่รับการรักษา เพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย และพร้อมเข้าสู่ “วาระสุดท้าย” ที่ตนเป็นผู้กำหนดเอง