ยาธาตุน้ำขาวไม่ใช่ยาลดกรด

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยาธาตุน้ำขาวไม่ใช่ยาลดกรด

อาจเพราะทั้งยาธาตุน้ำขาวและยาลดกรดชนิดน้ำ ต่างก็เป็นยาน้ำสีขาวขุ่นเหมือน ๆ กัน แถมระบุสรรพคุณแบบย่อ ๆ ว่าแก้ปวดท้องเหมือนกันอีกต่างหาก เลยทำให้บางคนคิดว่าสามารถใช้ยาธาตุน้ำขาวบรรเทาอาการปวดท้องโรคกระเพาะแทนยาลดกรดได้ ซึ่งนั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด

ส่วนประกอบของยาธาตุน้ำขาว

ยาธาตุน้ำขาวที่มีจำหน่ายในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อเลยค่ะ แต่ส่วนประกอบหลักที่มีในยาธาตุน้ำขาวยี่ห้อต่าง ๆ ก็ล้วนแต่ต้องมี...

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Salol หรือ Phenyl salicylate ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ จึงใช้รักษาอาการท้องเสียจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงได้
  • Menthol ซึ่งมีกลิ่นแรงและรสหอมเย็น คล้ายกับกลิ่นและรสของใบสะระแหน่ จึงให้ความรู้สึกเย็นซ่าเวลารับประทาน
  • Anise oil หรือ น้ำมันจากผลเทียนสัตตบุษย์ ซึ่งนอกจากจะมีกลิ่นหอมและรสหวานแล้ว ยังช่วยขับลมได้ด้วยค่ะ

โดยส่วนประกอบเหล่านี้อาจมีปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อนะคะ ทำให้แม้จะมีรสชาติไปในทำนองเดียวกัน แต่ความนัว เอ๊ย! ไม่ใช่แล้ว!! แต่กลิ่นหอมหรือรสเย็นซ่าก็จะต่างกันไป

นอกจากนี้ เกือบทุกยี่ห้อจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ด้วยนะคะ เนื่องจากตัวยา Salol ละลายได้น้อยมากจนถึงไม่ละลายเลยในน้ำ แต่จะละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ บางยี่ห้อก็มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่มาก บางยี่ห้อมีน้อย แต่ก็มีบางยี่ห้อที่สร้างจุดขายว่าปราศจากแอลกอฮอล์ค่ะ

ประโยชน์ของยาธาตุน้ำขาว

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย ยาธาตุน้ำขาวซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน ถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการรักษาอาการเบื้องต้นนะคะ เพราะนอกจากจะฆ่าเชื้อในทางเดินอาหารที่อาจเป็นสาเหตุของการถ่ายเหลวแล้ว ยังช่วยขับลมบรรเทาอาการปวดท้อง แน่นท้องเล็กน้อยได้ด้วย ดังนั้น การแสดงสรรพคุณว่า “แก้ปวดท้อง” ในฉลากยาธาตุน้ำขาว จึงไม่ได้อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงค่ะ

แล้วทำไมจึงใช้ยาธาตุน้ำขาวแทนยาลดกรดไม่ได้?

ตัวยาหลักในยาลดกรดซึ่งเป็นด่างอ่อน จะไปทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร เป็นการทำลายฤทธิ์ของกรดโดยตรง จึงลดการกัดกร่อนและระคายเคืองที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารได้ค่ะ
แต่ยาธาตุน้ำขาวจะไม่ได้ออกฤทธิ์ด้วยกลไกดังกล่าว อีกทั้งการที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ อาจยิ่งเพิ่มการระคายเคืองในทางเดินอาหารให้มากขึ้น จึงไม่ควรนำมาใช้แทนยาลดกรดในการบรรเทาอาการปวดแสบท้องหรือจุกเสียดที่เกิดจากกรดเกิน หรือโรคกระเพาะอาหารกำเริบนะคะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Immediately Dangerous to Life or Health Concentrations (IDLH): Yttrium compounds (as Y). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/niosh/idlh/7440655.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)