กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ถ้าตั้งครรภ์แล้วยังไปทำงานเหมือนเดิมได้ไหม

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ถ้าตั้งครรภ์แล้วยังไปทำงานเหมือนเดิมได้ไหม

ในยุคปัจจุบันผู้หญิงนั้นแม้ว่าจะแต่งงานแล้ว แต่ก็มักจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งการแต่งงานแล้วไม่ได้เป็นแม่บ้านแม่เรือนก็คงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอะไรสำหรับสังคมในยุคนี้ แต่เมื่อไรที่ผู้หญิงเริ่มคิดจะมีลูก หรือรู้ตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์ ความกังวลว่าการไปทำงานในขณะที่ตัวเองตั้งครรภ์นั้น จะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ เรามีคำตอบมาฝาก

ในทางการแพทย์ยังไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ทำงานใดๆ มีเพียงคำแนะนำว่าไม่ควรยกของหนัก และไม่ควรมีภาวะเครียด เพราะเมื่อร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เครียด (อาจจะเครียดเรื่องงาน เครียดเพราะรถติดในขณะที่เดินทางไปโน่นนี่ ฯลฯ) ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางอย่าง ซึ่งหากเป็นการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก จะเพิ่มโอกาสแท้งได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ตามธรรมชาติแล้ว ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของแม่ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกอ่อนเพลียง่าย เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาและเติบโตในครรภ์ ทำให้คุณแม่อ่อนเพลียง่าย (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) การพักผ่อนของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จึงต้องใช้มากกว่าคนปกติ หากร่างกายอ่อนเพลียแล้วยังต้องไปทำงาน แล้วต้องเจอกับภาวะความเครียดต่างๆ ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายไม่ได้พักและอ่อนแรงมากไปกว่าเดิม

ดังนั้นคนที่ตอบคำถามได้ดีที่สุดก็คือ ตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เองว่า งานที่ไปทำอยู่นั้น ทำแล้วมีความสุขหรือไม่ ถ้าทำแล้วมีความสุข ก็สามารถทำต่อไปได้ เพราะเมื่อร่างกายมีความสุข ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข (เอ็นโดฟินส์) ซึ่งมีผลดีต่อทารกในครรภ์ด้วย แต่หากรู้ตัวว่า ทำแล้วไม่มีความสุข ต้องเครียด ต้องพักผ่อนน้อย ก็น่าจะเลือกลูกเป็นสำคัญไว้ก่อนจะดีกว่า

นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ควรระวังในที่ทำงาน รวมถึงการเดินทางในขณะตั้งครรภ์ดังนี้

  1. คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการทำงานเด็ดขาดกับเครื่อง X-Ray เพราะทารกในครรภ์มีโอกาสพิการ หรือเป็นมะเร็งในเม็ดเลือกขาวจากรังสี
  2. หากลักษณะการทำงานต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ ก็ควรที่จะเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ในช่วง 6 เดือนเป็นต้นไป เช่น อาจจะใช้การเดินไปมาสลับกับการนั่งพัก
  3. การจะขยับตัวหรือเปลี่ยนอิริยบทต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดการหดเกร็งของมดลูกได้หากเปลี่ยนอิริยบทเร็วเกินไป
  4. สำหรับการเดินทางไปทำงานนั้น ไม่แนะนำให้ซ้อนมอเตอร์ไซค๋ ไม่ว่าจะตั้งครรภ์กี่เดือนก็ตาม
  5. หากไม่จำเป็น ไม่ควรเดินทางไปไหนไกลๆ เพราะการนั่งรถนานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยบท จะทำให้ปวดหลัง ชาตามมือและเท้า เพราะระบบไหลเวียนเลือดอาจจะไม่ดีเหมือนตอนร่างกายปกติ
  6. ควรงดการขับรถยนต์เอง เพราะการขับรถนั้นนอกจากจะเครียดแล้ว ยังมีผลต่อการหดเกร็งต่อมดลูกด้วย ซึ่งอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
  7. ไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะการอั้นปัสสาวะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การไปทำงานนอกบ้านบางครั้งอาจจะไม่สะดวกในการเข้าห้องน้ำ ผู้หญิงหลายๆ คนเลยเลือกที่จะอั้นเอาไว้ ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรจะวางแผนการเข้าห้องน้ำให้ดี


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Working during pregnancy: Do's and don'ts (https://www.mayoclinic.org/hea...)
Work and Pregnancy (https://www.stanfordchildrens....)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม