กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำไมอยู่ดีๆ ก็ “คันหู” ?

มาดูกัน คันหูเกิดจากสาเหตุอะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมอยู่ดีๆ ก็ “คันหู” ?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการคันหูเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัสมักเกิดขึ้นเมื่อคุณเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคภูมิแพ้ กรณีนี้แพทย์อาจให้ยาหยอดหูเป็นเวลา 1 สัปดาห์
  • คันหูจากปฎิกริยาแพ้ของผิวหนัง ซึ่งตัวการก็อาจเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์เส้นผมหรือแชมพู รวมถึงเครื่องประดับ หูฟังหรือแม้กระทั่งแพ้อาหาร อีกอย่างคือผื่นผิวหนังอักเสบ ซึ่งอาจรักษาด้วยครีมสเตียรอยด์ หรือยาแก้แพ้
  • การทำความสะอาดหูในบางครั้งก็ทำให้เกิดการอักเสบได้ด้วย เช่น การใช้ไม้พันสำลีแหย่หู หรือการพยายามแคะขี้หูออกมาด้วย 
  • แม้ว่าอาการคันหูจะไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ทำให้เรารู้สึกรำคาญและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ หากหลีกเลี่ยงสาเหตุแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

เคยไหมกับการรู้สึกคันหูจนหยุดเกาไม่ได้ การคันที่ช่องหูสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ และอาการคันจะบรรเทาลงได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าอะไรคือต้นเหตุที่ทำให้คุณคัน 

แต่ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นเพราะเหตุใดก็ตาม คุณก็ไม่ควรนำวัตถุแหย่เข้าไปในหู เพราะมันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อหูชั้นในซึ่งเสี่ยงต่อการที่เยื่อแก้วหูทะลุได้ และรวมถึงกระดูกชิ้นเล็กๆ ที่ช่วยให้คุณได้ยินเสียงด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันหู

1.มีขี้หู

การก่อตัวขึ้นของขี้หูถือเป็นวิธีการหนึ่งของร่างกายที่กำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกออกจากรูหู แต่หากมีขี้หูมากเกินไป มันก็สามารถทำให้รู้สึกคันได้ 

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรกำจัดขี้หูโดยใช้ก้านสำลี เพราะมันจะยิ่งดันให้ขี้หูเข้าไปลึกกว่าเดิม แต่ให้ใช้ยาละลายขี้หูแทน ถ้ายังไม่ดีขึ้น คุณก็สามารถไปพบแพทย์ เพื่อใช้อุปกรณ์พิเศษที่ช่วยกำจัดขี้หูได้อย่างปลอดภัย

2.ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส

บางครั้งการเกิดความรู้สึกคันหูก็เป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่หูได้ ซึ่งมีแบคทีเรียและไวรัสเป็นตัวการ และมักเกิดขึ้นเมื่อคุณเป็นโรคไข้หวัดธรรมดา โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคภูมิแพ้ 

อีกกรณีก็คือหากมีน้ำเข้าไปในหูหลังจากว่ายน้ำมากเกินไป มันก็จะไปกลบชั้นป้องกันตามธรรมชาติของช่องหูที่มีไว้ป้องกันเชื้อโรค อย่างไรก็ดี การติดเชื้ออาจหายไปเองในบางคน 

แต่แพทย์ก็อาจจ่ายยาหยอดหูให้ คุณอาจจำเป็นต้องหยอดยา 2-3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือในบางครั้งคุณอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

3.การติดเชื้อรา

การติดเชื้อราของหูชั้นนอกทำให้มีอาการคันหูได้  รักษาโดยใช้ยาฆ่าเชื้อยาหยอดหู 10-14 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

4.เป็นปฏิกิริยาแพ้ของผิวหนัง    

การคันภายในหูสามารถเกิดขึ้นได้จากปฏิกิริยาภูมิแพ้ด้วย ซึ่งตัวการก็อาจเป็นผลิตภัณฑ์ความงามอย่างสเปรย์สำหรับเส้นผมหรือแชมพู 

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับที่มีนิกเกิล หรือโลหะมันวาวอย่างต่างหู พลาสติก ยาง หรือโลหะที่คุณใส่เข้าไปในหูอย่างหูฟัง หรืออุปกรณ์ช่วยฟังก็สามารถทำให้เกิดผื่นได้ 

ทั้งนี้วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการคือ ให้คุณหาว่าสิ่งใดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้และหยุดใช้มัน นอกจากนี้แพทย์อาจให้ครีมสเตียรอยด์หรือรับประทานยาแก้แพ้  มาใช้เพื่อหยุดอาการคัน

5.ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือโรคสะเก็ดเงิน

หากคุณเป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบ หรือโรคสะเก็ดเงิน คุณก็อาจมีแนวโน้มที่จะคันหู ทั้งนี้คุณสามารถแก้ปัญหานี้โดยใช้ยาหยอดหู แต่ในกรณีที่อาการรุนแรง คุณอาจต้องทานยาสเตียรอยด์

6.ทำความสะอาดหู

การใช้ไม้พันสำลีแหย่เข้าไปในหูโดยเฉพาะหลังอาบน้ำแล้วน้ำเข้าหู  สามารถทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหูชั้นนอก และทำให้เกิดความรู้สึกคันตามมา นอกจากนี้การใช้กิ๊บดำ ลวดหนีบกระดาษ ไม้ขีดไฟ และนิ้ว ก็สามารถทำให้เกิดรอยถลอกภายในหู ทำให้ง่ายสำหรับแบคทีเรียที่จะเข้าไป และก่อให้เกิดการติดเชื้อ

7.เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร

ถ้าคุณเป็นไข้ละอองฟาง หรือแพ้เกสรดอกไม้ คุณก็อาจคันหูเมื่อคุณทานผลไม้ ผัก หรือถั่วบางชนิด อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวควรจะหายไปหลังจากที่คุณกลืนอาหาร หรือคายอาหารออกมาจากปาก และในกรณีส่วนมาก คุณไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อทดสอบดูความรุนแรงของอาการแพ้ ส่วนคนที่แพ้อาหารอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องฉีด Epinephrine auto-injector

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8.โรคทางกาย

โรคทางกายบางชนิดที่ทําให้มีอาการคันของหูชั้นนอกได้  เช่น โรคตับอักเสบ เบาหวาน โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไตวายเรื้อรัง

แม้ว่าอาการคันหูจะไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โต แต่มันก็สามารถทำให้เรารู้สึกรำคาญและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เมื่อทราบแล้วว่ามันเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง คุณก็จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด แต่หากอาการไม่ดีขึ้น คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa)”.
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คันหูจัง….....ทําอย่างไรดี (https://www.si.mahidol.ac.th)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)