ทำไมถึงง่วงนอนหลังกินอาหารกลางวัน ?

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมถึงง่วงนอนหลังกินอาหารกลางวัน ?

คุณอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมถึงรู้สึกง่วงขนาดนี้เมื่อกลับมาทำงานหลังจากกินอาหารกลางวัน ไม่ว่าคุณจะใช้คำอธิบายอาการนั้นว่าอะไร ทั้งง่วงนอน อ่อนเพลีย หรือรู้สึกเหนื่อยก็ตาม แล้วมันเกิดขึ้นจากอะไรล่ะ ? จริง ๆ แล้วมันอาจจะเกี่ยวข้องกับวงจรเวลาของเราในแต่ละวัน

ง่วง หลังรับประทานอาหารกลางวัน เป็นอะไรไหม?

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกง่วงนอนหลังจากกินอาหารกลางวัน และบางคนอาจเข้าใจผิดว่านั่นเกี่ยวข้องกับการกินอาหาร 

บางคนเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดจากสมองไปที่กระเพาะหรือระบบทางเดินอาหารเพื่อช่วยในการย่อย และถึงแม้ว่าแนวคิดนี้ฟังดูเป็นไปได้แต่มันก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากนัก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมเราถึงไม่รู้สึกง่วงหลังจากที่กินมื้อเช้ามื้อใหญ่หรือหลังจากกินมื้อเย็นล่ะ ? ความจริงก็คืออาการง่วงนอนนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมื้ออาหาร แต่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น 

บางคนอาจเถียงว่ามันมีสารอาหารบางอย่างภายในอาหารที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ตัวอย่างเช่น โมเลกุลย่อย ๆ ของฮอร์โมนที่ชื่อเมลาโทนิน แต่ถึงแม้ว่าเมลาโทนินจะมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการนอน แต่ระดับของฮอร์โมนต่ำ ๆ ในอาหารนั้นไม่น่าจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างชัดเจน มีอาหารหลายชนิดที่อาจทำให้คุณรู้สึกง่วงนอน เช่น ไก่งวงและอาหารที่มี tryptophan นอกจากนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ก็ทำให้ง่วงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วนี่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาการง่วงนอนหลังกินอาหารเที่ยงแต่อย่างใด 

ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้แทบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่กินเลย (หรือแม้จะไม่ได้กินก็ตาม) แต่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่เพิ่มระดับความง่วงตามธรรมชาติ มี 2 ปรากฏการณ์ที่สามารถอธิบายได้คือ ความต้องการที่จะนอนและวงจรเวลาในแต่ละวัน ความต้องการที่จะนอนนั้นเกิดจากการสะสมอย่างช้า ๆ ของสารเคมีในสมองที่ชื่อ adenosine 

ยิ่งตื่นนานมากขึ้นเท่าไรก็จะมีการสะสมของสารนี้มากขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดความอยากนอน ความอยากนอนนี้จะมีมากที่สุดในช่วงก่อนเข้านอน แต่ก็มีระดับที่สูงในช่วงบ่ายเมื่อเทียบกับช่วงเช้า 

ปรากฏการณ์ที่ 2 ที่ส่งผลโดยอ้อมต่ออาการง่วงนอนคือกลไกวงจรเวลาในแต่ละวันของร่างกาย วงจรนี้คือรูปแบบของสัญญาณการตื่นนอน โดยจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้เราตื่นนอน และถ่วงน้ำหนักกับการสะสมของ adenosine จะมีช่วงเวลาที่วงจรนี้ลดต่ำลงในช่วงบ่าย หรือประมาณ 7-9 ชั่วโมงหลังตื่นนอน ดังนั้นเมื่อสัญญาณการตื่นของเรามีน้อยลงก็จะทำให้ความง่วงนอนแสดงออกมากขึ้นและทำให้เราเกิดความง่วง 

ถึงแม้ว่าเราจะสามารถอธิบายอาการง่วงนอนหลังจากกินมื้อกลางวันได้ แต่ก็มีหลายเวลาที่เราอาจจะง่วงนอนเกินไป หากคุณกำลังอยู่ในช่วงอดนอน อาการง่วงนอนตอนกลางวันนี้ก็อาจจะชัดเจนขึ้นได้ นอกจากนั้นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea) นี้ก็อาจทำให้อาการง่วงนอนรุนแรงมากขึ้นได้ 

คุณอาจจะใช้คาเฟอีนหรือนอนหลับสั้น ๆ 10-20 นาทีเพื่อแก้ไขอาการง่วงนอนที่เกิดขึ้นนี้ 

หรือถ้าหากคุณผ่านช่วงนี้ไปได้ คุณก็จะรู้สึกตื่นตัวตามปกติในเวลาไม่กี่ชั่วโมง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Brandon Peters, Sleepiness After Eating Lunch (https://www.verywellhealth.com/why-am-i-sleepy-after-eating-lunch-3014827)
Anna Schaefer and Sarah L. Coppola, Why Do I Feel Tired After Eating? (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/why-do-i-feel-tired-after-eating) 19 April 2018
Alison Fisher, Why do people feel tired after eating? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323379.php) 18 October 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)