เมื่อไรที่เด็ก ๆ ควรจะเริ่มเข้าแข่งขันกีฬา

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เมื่อไรที่เด็ก ๆ ควรจะเริ่มเข้าแข่งขันกีฬา

หากลูกของคุณกำลังสนใจหรือไปได้ดีกับการเล่นกีฬา คุณอาจจะสงสัยว่าเมื่อไรที่ควรจะให้พวกเขาแข่งขันแบบเป็นทีมหรือแข่งขันเดี่ยว ? คำตอบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความกดดันที่เด็กแต่ละคนจะรับได้ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจต่อไป

พวกเขาโตพอที่จะเล่นกีฬาแบบแข่งขันได้หรือยัง ?

ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาในเด็กและพัฒนาการของเด็กให้คำแนะนำว่า เด็ก ๆ จะพร้อมสำหรับการแข่งขันเมื่อพวกเขาอายุอย่างน้อย 8 ปี โดยก่อนหน้านั้นพวกเขาจะไม่สามารถทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างการแข่งที่มีการชนะ การแพ้ ความกดดันระหว่างคะแนน ซึ่งส่งผลกับการเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ ของพวกเขาได้ ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี พวกเขาควรเล่นกีฬาเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและความสนุกสนาน อาจมีบ้างที่เล่นกีฬาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นนักกีฬาต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กทุกคนจะพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาแบบแข่งขันทันทีที่พวกเขาอายุครบ 8 ปี เด็กหลายคนต้องใช้เวลาจนพวกเขาอายุถึง 10 ปี เพื่อที่จะเข้าใจการแข่งขัน เพราะบางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากในการเรียนรู้ที่จะแพ้ ในเมื่อคุณได้พยายามเตรียมพร้อมมาเต็มที่แล้ว

ตามหลักการของพัฒนาการเด็กแล้วนั้น การที่เด็กจะสามารถเล่นกีฬาแบบแข่งขันได้ พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองและมีสมาธิมากพอ พวกเขาต้องโตพอที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจกฎกติกาและเคารพผู้ฝึกสอน

ยกตัวอย่างเช่น หากลูกของคุณสนใจกีฬาฟุตบอลมาก แต่เขาไม่มีความอดทนพอที่จะฝึกฝนซ้ำไปซ้ำมา เขาก็ยังไม่พร้อมที่จะร่วมทีมลงแข่งขัน

ในกีฬาที่มีการปะทะ เช่น ฟุตบอล เด็ก ๆ ควรมีอายุอย่างน้อย 11-12 ปี หรือเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เพื่อลดโอกาสในการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการปะทะในการเล่นกีฬาเหล่านี้ นอกจากนั้นหากลูกของคุณเล่นกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเล่นในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในทีมมาตลอดตั้งแต่อายุยังน้อย อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการใช้งานซ้ำ ๆ ได้มากกว่าเด็กทั่วไป

ลูกของคุณจะมีความสามารถมากพอที่จะลงแข่งขันหรือไม่ ? หรือพวกเขาจะได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันเหล่านั้น ?

ความหลงใหลในสิ่งหนึ่ง ๆ ไม่ได้มีค่าเท่ากับความเชี่ยวชาญในสิ่งนั้นเสมอไป

ลูกของคุณอาจชอบบาสเก็ตบอลมาก แต่สุดท้ายได้แต่นั่งในที่นั่งสำรองตลอดการแข่งขันเนื่องจากเข้าร่วมกับทีมที่มีความสามารถสูงกว่าเขามากเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทีมที่เข้าแข่งขันมักจะตั้งเป้าหมายไว้ที่การชนะการแข่งขันในแต่ละครั้ง นั่นหมายถึงนักกีฬาที่มีความสามารถน้อยกว่ามักจะไม่ได้ลงเล่นในการแข่งขันนั้น ๆ

Jim Thompson ผู้อำนวยการบริหารของ Positive Coaching Alliance (PCA) โครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการเล่นกีฬา แนะนำให้ผู้ปกครองมองหาครูฝึกและทีมที่เน้นด้านการฝึกฝนทักษะการเรียนรู้มากกว่าการมุ่งมั่นเอาชนะเพียงอย่างเดียว

โดยมีหลักการที่ย่อว่า ELM ซึ่งเป็นการที่ผู้เล่นจะต้อใช้ความพยายาม (Effort), การเรียนรู้ (Learning) และการตอบสนองต่อความผิดพลาด (Mistake) ซึ่งเป็นปัจจัยที่พวกเขาควบคุมได้ต่างกับการแพ้ชนะ

โดย Thompson กล่าวว่า “สำหรับเด็ก ๆ อายุ 8-10 ปี พวกเขาไม่ได้สนใจผลของการแข่งขันมากไปกว่าการที่พวกเขารู้ว่า พวกเขาเล่นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ หรือพวกเขาเล่นได้ดีกว่าหรือไม่ ? ความมุ่งมั่นเอาชนะที่ดีที่สุดคือมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาความสามารถ ซึ่งการเอาชนะที่ง่ายที่สุดคือการเอาชนะทีมที่ด้อยกว่า แต่คุณจะได้อะไรจากมันล่ะ ? ”

ลูกของคุณอยากเล่นกีฬาที่เป็นการแข่งขันจริงหรือ ?

ก่อนที่จะเริ่มต้นจัดการสิ่งใด ๆ คุณต้องมั่นใจก่อนว่าลูกของคุณอยากทำสิ่งนั้นจริง ๆ ไม่ใช่การลงเล่นในทีมเพราะมีเพื่อนไปด้วยกัน หรือเป็นความต้องการของผู้ปกครองเอง (ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว) ที่บีบบังคับให้เด็ก ๆ ลงเล่นในทีมนั้น ๆ ซึ่งหากพวกเขาต้องการที่จะเข้าร่วมในการแข่งขันจริง ๆ นั่นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากคำตอบคือไม่ พวกเขายังมีทางเลือกอื่นที่จะเล่นกีฬาที่พวกเขาชอบโดยไม่ต้องมีการแข่งขันได้ โดยลงเล่นในทีมที่ไม่ได้มีการแข่งขันสูง หรือแข่งเล่น ๆ กับเพื่อนและครอบครัว

นอกจากนั้น การพิจารณาว่าจะลงแข่งขันแบบประเภททีมหรือเดี่ยวก็เป็นสิ่งจำเป็น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับบุคลิกของแต่ละคน เด็กบางคนชอบบรรยากาศของการเล่นเป็นทีม ส่วนบางคนชอบที่จะควบคุมชะตาชีวิตของตนเอง บางคนคิดว่าการเล่นเป็นทีมจะช่วยลดความกดดันลง ส่วนบางคนจะกังวลมากขึ้น กลัวว่าจะทำให้เพื่อนร่วมทีมผิดหวัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลูกของคุณอยากแข่งขันด้วยเหตุผลใด ?

การแยกแยะระหว่างการแข่งขันเพื่อชัยชนะหรือการแข่งขันเพื่อพัฒนาตนเองเป็นสิ่งสำคัญ การแข่งขันเพื่อชัยชนะคือการเล่นให้ดีและโดดเด่นกว่าคนอื่น ส่วนการแข่งขันเพื่อพัฒนาตนเองเป็นการเล่นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของตัวเอง

จากการศึกษานักเรียนชั้นมัธยมปลายที่เป็นนักกีฬา 110 คน พบว่านักกีฬาที่ตั้งเป้าหมายของการแข่งขันไว้ที่การพัฒนาตนเองจะได้ประโยชน์มากกว่าในด้านการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองและการลดความซึมเศร้า

นักกีฬาที่แข่งขันเพื่อชัยชนะก็สามารถผลักดันให้ประสบความสำเร็จได้ โดยเป้าหมายของพวกเขาอยู่ที่การตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนที่จะตั้งเป้าเพียงแค่การเอาชนะผู้เข้าแข่งขันคนอื่น นอกจากนั้นการแข่งขันเพื่อพัฒนาตนเองยังช่วยให้ปัญหาเรื่องการชนะหรือแพ้เป็นเรื่องรอง โดยเปลี่ยนความสำคัญของการชนะหรือแพ้ไปเป็นการผลักดันให้แต่ละคนไปถึงเป้าหมายของตน ซึ่งการแข่งขันเพื่อพัฒนาตนเองนี้ ยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การแข่งขันกับตนเองเพื่อการพัฒนา หรือ task-oriented,, need to perform well

คุณสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาด้านการสร้างความมั่นใจจากการแข่งขันได้ โดยเน้นที่การเสริมสร้างทักษะ เช่น การชื่นชมที่พวกเขาทำได้ดีที่สุดแล้วแม้จะไม่ได้รับชัยชนะ หรือการเรียนรู้ความผิดพลาดและการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อทีม แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะไม่ได้ชนะในการแข่งขันนั้นก็ตาม นอกจากนั้นการบอกพวกเขาว่าคุณภาคภูมิใจมากเท่าใดที่เขาฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและพยายามอย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแค่การได้รับชัยชนะ

ครอบครัวของคุณพร้อมหรือไม่สำหรับกีฬาที่มีการแข่งขัน

หากลูกของคุณเข้าร่วมกับทีมใด ๆ โดยเฉพาะการเข้าร่วมทีมของคนรวยหรือทีมที่มีการท่องเที่ยวบ่อย คุณอาจจำเป็นต้องเตรียมตัวในเรื่องเวลาและจำนวนเงินที่ต้องใช้ นอกเหนือจากการรับส่งลูกของคุณระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขันแล้ว คุณอาจจำเป็นต้องสนับสนุนทีมหรือสโมสรนั้น ๆ ด้วย

Darell Hammond CEO ของ play advocacy group กล่าวว่า ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่คุณต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่การแข่งขันทำให้ลูกของคุณมีเวลาทำอย่างอื่นน้อยลง หรือการแข่งขันไปขัดขวางจินตนาการของพวกเขา เป็นต้น Hammond กล่าวค้านไว้ในวารสาร The Huffington Post  ในเรื่องที่ว่าการอยู่ในทีมที่มีการจัดการที่ดีจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับเด็ก ๆ แต่หากพวกเขาเล่นกันเอง พวกเขามีแนวโน้มที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เช่น การเล่นสเก็ตบอร์ด แม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง แต่เป็นการเสริมสร้างจินตนาการ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และการแสดงออก

ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายถึงการสนับสนุนให้เล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง แต่คุณอาจจำเป็นต้องกำหนดเวลาให้เหมาะสม เพื่อให้เด็ก ๆ มีเวลาว่างสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kids Sports: Teach Your Child to Love a Sport. Parents. (https://www.parents.com/fun/sports/exercise/teach-your-child-to-love-a-sport/)
When Should Kids Start Playing Competitive Sports?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/when-should-kids-start-competitive-sports-1257040)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)