สิ่งที่ก่อให้เกิดซีส

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สิ่งที่ก่อให้เกิดซีส

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังนั้นเป็นซึสที่ไม่ใช่มะเร็งที่พบได้บ่อย ซีสต์นี้เป็นสิ่งผิดปกติในร่างกายและอาจจะมีสารที่เป็นของเหลวหรือกึ่งเหลวอยู่ภายใน

ส่วนมากมักพบที่ใบหน้า ลำคอหรือช่วงอก ซึสต์เหล่านี้โตช้าและไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้หากไม่ได้รับการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจร่างกายและประวัติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องมีการตรวจละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อมองหาอาการของโรคมะเร็ง

สาเหตุ

ซีสต์นี้เกิดจากต่อมที่ทำหน้าที่สร้างไขมันที่เรียกว่าซีบัมที่ทำหน้าที่เคลือบเส้นผมและผิวหนัง ซีสต์นี้จะเกิดหากต่อมนี้มีการอุดตัน ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดังกล่าว

การบาดเจ็บนั้นอาจจะเป็นการเกา แผลผ่าตัด หรือโรคทางผิวหนังเช่นสิวเป็นต้น ซีสต์นี้โตช้า ดังนั้นการบาดเจ็บนั้นอาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่หลายเดือนหรือหลายสัปดาห์ก่อนที่คุณจะเห็นซีสต์

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้ประกอบด้วย

  • ท่อในต่อมนั้นมีลักษณะผิดปกติ
  • มีการทำลายที่เซลล์ระหว่างการผ่าตัด
  • โรคทางพันธุกรรมเช่น Gardner’s syndrome หรือ basal cell nevus syndrome

อาการ

มักพบซีสต์ขนาดเล็กที่ไม่เจ็บ ซีสต์ขนาดใหญ๋นั้นอาจจะมีอาการตั้งแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวไปจนถึงมีอาการเจ็บได้ ซีสต์ขนาดใหญ่ที่ใบหน้าและลำคอนั้นจะทำให้รู้สึกตึงและปวดได้

ข้างในซีสต์ชนิดนี้นั้นจะเป็นสารเคราตินสีขาวซึ่งเป็นสารที่ประกอบเป็นผิวหนังและเล็บ ซีสต์ส่วนใหญ่นั้นจะนิ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บริเวณที่มักพบซีสต์คือ

ซีสต์นี้เป็นภาวะผิดปกติ และอาจจะเป็นมะเร็งได้หากมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • ขนาดของซีสต์นั้นใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร
  • มีการกลับเป็นซ้ำอย่างรวดเร็วหลังรักษา
  • มีอาการของการติดเชื้อเช่นบวมแดงหรือมีหนอง

การวินิจฉัย

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจร่างกาย หากซีสต์ของคุณนั้นดูผิดปกติ แพทย์อาจจะมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาโรคมะเร็ง หรือหากคุณต้องการจะตัดซีสต์ออก

การตรวจเพิ่มเติมอาจจะประกอบด้วย

  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยทำให้แพทย์หาจุดในการผ่าตัดและความผิดปกติ
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อระบุสารที่อยู่ภายในซีสต์
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งหรือไม่

การรักษา

แพทย์สามารถรักษาซีสต์เหล่านี้ได้โดยการเจาะหรือผ่าตัดออก โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะตัดออกด้วยเหตุผลด้านความสวยงามเป็นหลัก เนื่องจากซีสต์ชนิดนี้นั้นไม่ได้เป็นอันตราย แพทย์จึงมักจะให้คุณเลือกวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

แต่ถ้าหากไม่ได้ทำการผ่าตัดออกนั้น ซีสต์มักจะกลับเป็นซ้ำอีกครั้ง วิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตัดซีสต์ออกได้ทั้งหมดก็คือการผ่าตัด แต่ก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์อาจจะใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อตัดซีสต์ออก

  • Wide excision การตัดซีสต์ออกทั้งหมด แต่อาจจะทำให้เกิดแผลเป็นที่ยาว
  • Minimal excision เป็นการผ่าตัดที่แผลเล็กกว่า แต่จะมีความเสี่ยงที่จะกลับไปซ้ำได้มากขึ้น
  • เลเซอร์พร้อมกับสุ่มตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นการใช้เลเซอร์เจาะรูเพื่อดูดสารข้างในซีสต์ออกมาก่อนจะนำผนังของซีสต์ออกในเดือนถัดไป

หลังจากที่ตัดซีสต์ออกแล้ว แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะแบบทาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คุณควรจะใช้จนกว่าแผลจะหายสนิท และอาจจะมีการใช้ครีมลดรอยแผลเป็นเพื่อลดแผลเป็นที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ผลลัพธ์

โรคนี้โดยทั่วไปนั้นไม่ใช่เนื้อร้าย ซีสต์ที่ไม่ได้รักษานั้นอาจจะมีขนาดใหญ่และอาจจะต้องผ่าตัดออกอยู่ดีหากทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

หากคุณผ่าตัดซีสต์ออกทั้งหมด ซีสต์ก็มักจะไม่กลับเป็นซ้ำ

ในบางกรณี บริเวณที่ผ่านตัดอาจเกิดการติดเชื้อได้ หากผิวหนังของคุณมีอาการของการติดเชื้อเช่นบวม แดง หรือมีไข้ ควรพบแพทย์ การติดเชื้อส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่บางรายอาจจะเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษา


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sebaceous Cyst - Causes, Treatment & Removal. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/sebaceous-cyst/guide/)
Overview and Treatment of Sebaceous CystsSensitive image. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/sebaceous-cysts-3520634)
Sebaceous cyst: Removal, infections, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/312361)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)