Venus Freeze คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Venus Freeze คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

ด้วยวิวัฒนาการที่ก้าวล้ำหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่ต้องการลดไขมันหรือเซลลูไลท์ในบริเวณที่ไม่ต้องการออก ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจมากกว่าใช้วิธีทางธรรมชาติอย่างเช่นการอดอาหารหรือออกกำลังกาย ดังนั้นวิธี Venus Freeze จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

Venus Freeze คืออะไร

Venus Freeze เป็นการนำเอาคลื่นวิทยุแบบ RF ซึ่งเป็นคลื่นแบบหลายขั้วกับแม่เหล็กไฟฟ้า (MP) มาทำงานร่วมกัน ด้วยการปล่อยคลื่นออกมาเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยจะกระจายไปทั่วรอบบริเวณจุดที่ทำการรักษา ทำหน้าที่คล้ายกับการออกกำลังกายเพื่อกระชับกล้ามเนื้อชั้นลึก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูดไขมันหน้าเรียวกับหมอบอส - Natchaya Clinic ผลลัพธ์นาน 1 ปี

ประสบการณ์ 2,000+ เคส / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / ดูดทั้งแก้ม กรอบหน้า และเหนียง

เมื่อเซลล์ไขมันใต้ผิวโดนความร้อนก็จะแตกตัวกลายเป็นน้ำและถูกขับออกมา โดยความร้อนนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน หลังจากนั้นจะเกิดการเรียงตัวของชั้นไขมันใหม่ที่มีความกระชับและเรียบเนียนขึ้น ในระหว่างการทำจะมีการปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะและควบคุมรักษาอุณหภูมิในจุดสิ้นสุดให้คงที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส อย่างต่อเนื่องในบริเวณจุดที่ต้องรักษา

Venus Freeze ทำงานอย่างไร

เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของการสลายไขมันกับยกกระชับมาทำงานร่วมกันคือ

  1. PMF (Pulsed Magnetic Field) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะช่วยทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานดีขึ้น ด้วยการขยายเส้นเลือดฝอย ทำให้เซลล์ไขมันหดตัวลงแล้วสลายเป็นน้ำออกมาตามเหงื่อและปัสสาวะ
  2. Lypolsis เป็นการขับไขมันเซลลูไลท์ให้ออกจากร่างกายและจะไม่กลับมาเป็นอีก นอกจากจะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเข้าไป จนกลับเข้ามาสะสมตามจุดต่างๆ ในร่างกายใหม่

Venus Freeze เหมาะสำหรับใคร

การทำ Venus Freeze เหมาะกับทุกสภาพผิวและผู้ที่มีผิวหย่อนคล้อยหรือมีเซลล์ลูไลท์มาก ต้องการลดไขมันบริเวณต่างๆ เช่น ใบหน้า คอ รอบเอว พุง ต้นขา อีกทั้งยังช่วยลดเลือนริ้วรอย โดยถ้าเป็นบริเวณหน้าและลำคอก็ควรรักษาอย่างต่อเนื่อง 6 – 8 ครั้งขึ้นไป ทุกๆ 7 – 10 วัน หากเป็นลำตัวควรรักษา 8 – 10 ครั้ง ทุกๆ 7 – 10 วัน

ข้อดีของ Venus Freeze

เป็นการทำงานเสริมกันที่ทำให้ไม่มีแผล ไม่รู้สึกเจ็บ และมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นน้อยมาก โดยเห็นผลลัพธ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยเพราะได้รับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา

ข้อเสียของ Venus Freeze

การทำ Venus Freeze จะต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง จึงจะเห็นผลลัพธ์ตามที่ต้องการและหลังการทำอาจมีผิวแดงเล็กน้อย แต่ก็จะหายไปได้เอง อีกทั้งยังต้องทำบ่อยๆ เพื่อให้คงสภาพไว้

การทำ Venus Freeze ไม่เหมาะกับใคร

Venus Freeze มีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคดังต่อไปนี้ เช่น โรคมะเร็งหรือเนื้องอก โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การใส่ลิ้นหัวใจเทียม ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นไข้ ลมชัก มีแผลเปิดบริเวณที่ต้องการทำ เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เป็นโรคปลอกประสาทอักเสบ กำลังอยู่ในช่วงใช้ยารักษาโรค และกำลังตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนการรักษาด้วย Venus Freeze

  • ต้องถอดเครื่องประดับหรือวัสดุที่เป็นโลหะออกทั้งหมด
  • ในบริเวณที่จะทำการรักษาด้วย Venus Freeze จะต้องทำความสะอาดให้ปราศจากเครื่องสำอางหรือครีมใดๆ ทั้งสิ้น
  • ทากลีเซอรินตรงบริเวณที่จะทำให้ทั่วก่อนลงมือรักษา

การดูแลตนเองหลังการรักษาด้วย Venus Freeze

เราสามารถกลับไปทำงานหรือทำกิจวัตรตามปกติได้ทันที โดยหลังการทำ 30 นาที มักจะมีการเก็บภาพหรือวัดสัดส่วนก่อนทำและหลังทำไว้ เพื่อให้เห็นผลของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ราคาของ Venus Freeze

ขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้ที่ต้องการทำ ซึ่งมีราคาตั้งแต่หลักร้อยต่อครั้งจนถึงหลักหมื่นซึ่งก็จะขึ้นอยู่ว่าจะเลือกทำจุดใดและจำนวนกี่ครั้งด้วยหากต้องการทำหลายจุดหลายครั้ง ราคาก็จะสูงตามนั่นเอง

สำหรับการรักษาด้วย Venus Freeze จะเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้ฟื้นฟูสร้างคอลลาเจนขึ้นใหม่ เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาพอสมควร เพื่อป้องกันการผิดพลาดจึงควรทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็จะช่วยป้องกันการกลับมาของไขมันในชั้นผิวหนังในบริเวณที่ทำอีก


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gold, Michael. (2015). Noninvasive Skin Tightening Treatment. The Journal of clinical and aesthetic dermatology. 8. 14-8. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/279991336_Noninvasive_Skin_Tightening_Treatment)
Pritzker, Rachel & Hamilton, Heather & Dover, Jeffrey. (2014). Comparison of different technologies for noninvasive skin tightening. Journal of Cosmetic Dermatology. 13. 10.1111/jocd.12114. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/268392308_Comparison_of_different_technologies_for_noninvasive_skin_tightening)
Sukvanicharat, Petcharat & Panyasiripan, Nutrunit & Thaichinda, Sunisa & Ratanaporncharoen, Kamolchan & Sittiprapaporn, Phakkharawat. (2018). Electroencephalographic study of pluse electromagnetic field in Venus Freeze™ treatment: A case study. 173-176. 10.1109/ECTI-NCON.2018.8378305. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/325705728_Electroencephalographic_study_of_pluse_electromagnetic_field_in_Venus_Freeze_treatment_A_case_study)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)