Pilonidal sinus disease คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Pilonidal sinus disease คืออะไร?

Pilonidal sinus นั้นเป็นหลุมหรือท่อขนาดเล็กภายในผิวหนัง ซึ่งอาจจะมีสารน้ำหรือหนองอยู่และทำให้เกิดเป็นถุงน้ำหรือหนองขึ้นมาได้ ภาวะนี้จะเกิดที่บริเวณเหนือบั้นท้าย ถุงน้ำที่เกิดขึ้นนั้นมักจะมีขน สิ่งสกปรกและเศษซากต่างๆ อยู่ภายใน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงและสามารถเกิดการติดเชื้อได้บ่อย หากมีการติดเชื้อ จะทำให้เกิดหนองและเลือดและมีกลิ่นเหม็นได้

โรคนี้เป็นโรคที่มักจะพบในผู้ชายและพบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น นอกจากนั้นยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีการนั่งนานๆ เช่นคนขับรถแท๊กซี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (เนื่องจากเกิดในช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์) การงอกของขน และแรงเสียดสีจากเสื้อผ้า หรือจากการที่นั่งนานเกินไป

กิจกรรมที่เพิ่มแรงเสียดสีเช่นการนั่ง นั้นสามารถทำให้ขนที่กำลังจะขึ้นในบริเวณดังกล่าวนั้นถูกฝังอยู่ใต้ผิวหนังได้ ทำให้ร่างกายเข้าใจว่าขนนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและส่งระบบภูมิคุ้มกันออกมาตอนสนองต่อขนดังกล่าวเช่นเดียวกับเวลาที่เจอเชื้อโรค ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะทำให้เกิดถุงรอบๆ ขนดังกล่าว บางคนอาจจะมีโพรงหรือท่อเหล่านี้หลายๆ อันและเชื่อมต่อกันอยู่ภายใต้ผิวหนัง

อาการที่พบ

คุณอาจจะไม่มีอาการที่สังเกตได้ในระยะแรกนอกจากเป็นรอยบุ๋มเล็กๆ ที่ผิวหนัง แต่เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อที่รอยบุ๋มดังกล่าว จะเริ่มสังเกตเห็นเป็นถุงน้ำหรือหนองอยู่ภายใน

อาการที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อประกอบด้วย

  • เจ็บเวลานั่งหรือยืน
  • ถุงน้ำนั้นบวม
  • ผิวหนังบริเวณโดยรอบนั้นแดง
  • มีหนองหรือเลือดออกมาจากถุงน้ำดังกล่าวและมีกลิ่นเหม็น
  • มีขนงอกขึ้นมาจากบริเวณที่มีอาการ
  • มีท่อหรือโพรงหลายโพรงอยู่ภายในผิวหนัง
  • คุณอาจจะมีไข้ต่ำๆ ได้แต่พบได้น้อย

การรักษา

1.การรักษาแบบประคับประคอง

หากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ คุณอาจจะยังไม่มีอาการปวดที่รุนแรงและไม่มีอาการของการอักเสบ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ยานี้ไม่ได้ช่วยรักษาโพรงที่เกิดขึ้น แต่จะช่วยรักษาการติดเชื้อและอาการไม่สบายตัวที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการนัดติดตามเป็นประจำ และแนะนำให้โกนหรือถอนขนในบริเวณดังกล่าว ควบคู่กับการดูแลสุขอนามัย

2.การเจาะถุงน้ำ

หัตถการนี้จะช่วยลดอาการที่เกิดจากการมีหนองอยู่ภายในโพรงดังกล่าว ก่อนที่จะเริ่มทำ แพทย์จะทำการฉีดยาชาก่อนที่จะใช้มีดกรีดเปิดหนองดังกล่าวออก ทำความสะอาดขน เลือดและหนองที่อยู่ภายใน ก่อนที่จะปิดแผลและปล่อยให้หายจากภายใน ส่วนมากแผลมักจะหายภายใน 4 สัปดาห์และคนส่วนใหญ่มักจะไม่ต้องมีการรักษาเพิ่มเติม

3.การฉีด phenol

วิธีนี้แพทย์จะเริ่มจากการฉีดยาชา ก่อนฉีด phenol ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อเข้าไปในถุงน้ำ วิธีอาจจะต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ก่อนที่ถุงน้ำนั้นจะแข็งขึ้นและทำให้โพรงนั้นปิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีนี้มีโอกาสในการกลับเป็นซ้ำสูง ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่ใช้ไม่บ่อย ในบางกรณีแพทย์อาจจะตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้การผ่าตัดในการรักษาแทน

4.การผ่าตัด

หากคุณเป็นโรคนี้ซ้ำๆ หรือมีโพรงมากกว่า 1 โพรง แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด

ในขั้นแรกนั้นจะเริ่มจากการฉีดยาชา ก่อนที่จะเปิดแผลออกและทำความสะอาดเอาหนองและสิ่งที่อยู่ภายในออก เมื่อเสร็จแล้วก็จะเย็บปิดแผล

หลังจากการผ่าตัด แพทย์จะอธิบายวิธีการทำแผลและแนะนำให้โกนขนที่บริเวณดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้มีขนขึ้นที่แผล

ผลลัพธ์ในการรักษา

โรคนี้มักจะสามารถหายได้ภายใน 4-10 สัปดาห์ขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นและวิธีที่ใช้ในการรักษา

ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่นการติดเชื้อที่แผลและการกลับเป็นซ้ำแม้ว่าจะใช้การผ่าตัดในการรักษาก็ตาม

อาการที่บ่งบอกว่าแผลนั้นติดเชื้อประกอบด้วย

  • เจ็บอย่างรุนแรง
  • ผิวหนังอักเสบและบวม
  • มีไข้สูง
  • มีเลือดและหนองไหลออกจากบริเวณแผล
  • แผลมีกลิ่นเหม็น

วิธีการป้องกัน

คุณสามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้โดยการทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเป็นประจำทุกวันด้วยสบู่อ่อนๆ และล้างให้สะอาด ดูแลให้แห้ง และหลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานานๆ


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pilonidal sinus disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003253.htm)
Pilonidal sinus. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pilonidal-sinus/)
Pilonidal Cyst: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, Surgery. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/pilondial-cyst#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)