กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Pilonidal Cyst (ฝีบริเวณร่องก้น)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ฝีบริเวณร่องก้น (Pilonidal cyst) คือความผิดปกติของผิวหนังที่มีลักษณะคล้ายถุงแทรกอยู่ในชั้นผิวหนัง ส่วนมากพบบริเวณก้นกบหรือเหนือร่องก้น ในภาษาอังกฤษอ่านว่า ไพ-โล-ไน-ดอล (Pilonidal) แปลว่า "กลุ่มของเส้นขน" เนื่องจากฝีชนิดนี้เกิดจากการที่เส้นขนโผล่ออกมาเหนือผิวหนังตามปกติ เกิดการอุดตัน และบางครั้งเกิดการติดเชื้อขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้อย่างมากบริเวณฝี 

โรคฝีบริเวณร่องก้น (Pilonidal disease) เริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงต้นคริสศักราชที่ 1800 โดยฝีที่พบมีตั้งแต่ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่สร้างความเจ็บปวดอย่างมาก โรคนี้มักพบในผู้ชายอายุน้อย แต่ก็สามารถพบได้ในบุคคลทั่วไปเช่นกัน โดยทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่ เพศชายมีโอกาสเป็นฝีบริเวณร่องก้นมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่ในกลุ่มอายุเด็ก เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของฝีบริเวณร่องก้น

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุของโรคนี้ แต่เชื่อว่าการนั่งเป็นเวลานานหรือสวมใส่เสื้อผ้ารัดรูปอาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นฝีบริเวณร่องก้นได้ บางคนเชื่อว่าภาวะขนคุด (เส้นขนที่ไม่โผล่เหนือผิวหนัง) เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรค ทำให้ผิวหนังตอบสนองต่อเส้นขนเสมือนเป็นสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างฝีมาล้อมรอบไว้ กลไกการเกิดลักษณะนี้ช่วยอธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมฝีถึงเกิดขึ้นบริเวณก้นกบ หรือเหนือร่องก้นมากกว่าบริเวณส่วนล่าง 

ในกรณีของช่างตัดผม และช่างแต่งขนสุนัขจะพบฝีอยู่บริเวณง่ามนิ้วมือ โดยมีทฤษฎีรองรับว่าการยืดออกของชั้นส่วนลึกใต้ผิวหนัง จะทำให้รูขุมขน (ตำแหน่งที่มีการงอกของเส้นขน) มีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการฉีกขาดได้ จนฝีเกิดขึ้นล้อมรอบบริเวณนั้น ผู้เชี่ยวชาญบางรายเชื่อว่าฝีบริเวณร่องก้นเกิดขึ้นตามหลังการเกิดอุบัติเหตุที่ผิวหนังบริเวณนั้น 

ทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนมากก็มีฝีบริเวณร่องก้น โดยคาดว่าน่าจะเกิดจากการระคายเคืองเรื้อรัง จากการโดยสารรถทหารขนาดเล็กบนพื้นที่ขรุขระ ภาวะนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “โรคจากการโดยสารรถทหารขนาดเล็ก (Jeep disease)” อยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง

ปัจจัยบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฝีบริเวณร่องก้นได้ เช่น

  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ค่อยได้ออกแรง
  • ทำงานที่ต้องนั่งเป็นระยะเวลานาน
  • มีขนตามร่างกายเป็นจำนวนมาก
  • มีขนที่หยาบและแข็ง
  • มีสุขอนามัยไม่ดี

อาการและการวินิจฉัย

โดยทั่วๆไป แพทย์จะสามารถวินิจฉัยฝีบริเวณร่องก้นได้จากการตรวจร่างกายภายใน โดยฝีอาจจะมีการสะสมของหนองหรือของเหลวอื่นๆ เกิดเป็นโพรงหรือเป็นช่อง (Pilonidal sinus) โดยเป็นช่องว่างใต้ผิวหนังต่อมาจากรูขุมขน (Hair follicle) 

อาการของฝีบริเวณร่องก้นที่มีการติดเชื้อ ได้แก่ รู้สึกเจ็บ ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดง และอาจมีหนองหรือเลือดไหลออกมา บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา หากไม่มีอาการใดๆดังนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตามฝีบริเวณร่องก้นสามารถเกิดอาการบวม เจ็บ และติดเชื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาฝีบริเวณร่องก้น

แพทย์จะซักถามถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของฝีว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รู้สึกเจ็บหรือมีหนองหรือเลือดไหลออกมาหรือเปล่า หากมีความจำเป็นต้องเจาะเอาหนองออกก็สามารถทำได้ทันทีในวันเดียวกัน โดยแพทย์จะฉีดยาชาแล้วเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณฝี เพื่อนำหนองออก คุณอาจได้รับยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อกระจายไปยังตำแหน่งอื่นๆ ด้วย

บางครั้งแพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาฝีออกทั้งหมด โดยหลังผ่าตัดแพทย์จะเปิดแผลทิ้งไว้ โดยมีผ้าก๊อซใส่ไว้ในแผลเพื่อช่วยให้แผลแห้ง การเปิดแผลทิ้งไว้จะทำให้แผลหายช้า แต่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อมากกว่าการเย็บปิดแผล ทั้งนี้ก่อนกลับบ้านคุณควรถามแพทย์ถึงวิธีการทำความสะอาดแผล ระยะเวลาหายของแผล รวมถึงคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลแผลด้วยตนเอง และในบางกรณีอาจต้องอาศัยการปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin grafts) นอกจากนี้ปัจจุบันนักวิจัยกำลังพิจารณาการรักษาโดยไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เช่น การกำจัดขนโดยวิธีการอาบแสงความเข้มข้นสูงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันฝีบริเวณร่องก้นติดเชื้อ

สุขอนามัยที่ดีและการดูแลรักษาที่เหมาะสมสามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ ดังนี้

  • โกนเส้นขนบริเวณใกล้เคียงเมื่อได้รับความยินยอมจากแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดขนคุด
  • ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบด้วยสบู่อ่อนๆ และใช้น้ำสะอาดล้างสบู่ออกให้หมด
  • หากจำเป็นต้องนั่งเป็นเวลานานควรมีเวลาหยุดพักเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป เพราะสามารถทำให้เกิดเส้นขนคุดได้
  • แช่ตัวในน้ำอุ่น เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด

19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pilonidal sinus. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pilonidal-sinus/)
Pilonidal Sinus: Causes, Symptoms, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pilonidal-cyst)
Pilonidal Cyst Home Treatment: Home Remedies, When to See a Doctor. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pilonidal-cyst-home-treatment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ผมมีก้อนแข็งๆใต้ผิวหนังบริเวณร่องก้นครับ ไปสืบค้นมาน่าจะเป็น ฝีบริเวณร่องก้น(pilonidal cyst) คือมันจะเจ็บเฉพาะเวลาไปกดหรือนั่งทับแรงๆครับ เลยอยากทราบว่าสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้มั้ย และอยากทราบวิธีบรรเทาอาการไม่ให้มันอักเสบ,ขนาดใหญ่มากไปกว่าเดิมครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ