วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

รวมประโยชน์ของถั่วเขียว ดีต่อสุขภาพอย่างไร?

ข้อดีของถั่วเหลืองต่อร่างกาย มีประโยชน์ และสรรพคุณทางยาอย่างไรบ้าง มาดูกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 20 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมประโยชน์ของถั่วเขียว ดีต่อสุขภาพอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ถั่วเขียวเป็นไม้ล้มลุกที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือแมงกานีส
  • ถั่วเขียวมีสรรพคุณทางยาช่วยบรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ รวมถึงถอนพิษไข้และขับปัสสาวะได้ดี
  • ประโยชน์ของถั่วเขียวมีอยู่หลากหลายด้าน เช่น กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง มีไฟเบอร์ทำให้อิ่มท้องระหว่างวัน ทำให้ลดน้ำหนักได้ดี บำรุงสุขภาพผมไม่ให้แห้ง รวมถึงทำให้รากผมแข็งแรง บรรเทาอาการท้องผูก ทำให้ขับถ่ายคล่อง
  • ถั่วเขียวงอกซึ่งเป็นถั่วเขียวที่เจริญเติบโตจนมีรากงอกเป็นขาวอมเหลืองมักอยู่ในเมนูอาหารที่คนไทยรับประทานเป็นประจำ เช่น ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และยังมีประโยชน์ช่วยบำรุงภูมิคุ้มกันร่างกาย รวมถึงระบบสายตา อีกทั้งช่วยลดไขมันไม่ดีในหลอดเลือด 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพตา

ในวัยเด็ก ทุกคนน่าจะเคยรับประทานของหวานอย่าง “ถั่วเขียวต้มน้ำตาล” กันมาบ้าง อีกทั้งถั่วเขียวยังเป็นถั่วอีกชนิดที่นิยมนำมาใช้ประกอบขนมหลายชนิดเช่น ถั่วกวน ขนมเปี๊ยะ 

ใครหลายคนยังเคยซื้อเมล็ดถั่วเขียวเพื่อมาทำการบ้านส่งคุณครู เช่น การปลูกถั่วเขียวแบบต่างๆ พร้อมจดบันทึกการเจริญเติบโต 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากประสบการณ์ในวัยเด็กเกี่ยวกับถั่วเขียวเหล่านี้ แล้วคุณรู้อะไรเกี่ยวกับถั่วเขียวในแง่ของประโยชน์ต่อสุขภาพอีกบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้

ความหมายของถั่วเขียว

ถั่วเขียว (Mung bean) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Vigna radiata (L.) R.Wilczek” เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ถั่วบีนซึ่งเป็นถั่วที่มีฝัก เมล็ดมีลักษณะกลมรี สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย ก่อนที่มีการนำไปปลูกอย่างแพร่หลายยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศอื่นๆ

ต้นถั่วเขียวเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร ลำต้นจะแตกแขนงสาขาบริเวณโคนส่วนกลาง เป็นพืชใบเดี่ยว มีใบย่อยแบ่งเป็น 3 ใบต่อ 1 ก้านใบ ตัวดอกของต้นถั่วเขียวจะออกเป็นช่อกระจะ มีสีเหลือง ขาว หรือม่วง ตามแต่สายพันธุ์

เมล็ดถั่วเขียวจะอยู่ในฝักกลมยาว ส่วนปลายโค้งงอเล็กน้อย โดยใน 1 ฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด เมล็ดถั่วเขียวไม่ได้มีแค่สีเขียวเท่านั้น แต่ยังมีทั้งสีขาว สีเหลืองตุ่น หรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

สารอาหารในถั่วเขียว

ในถั่วเขียว 100 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 351 กิโลแคลอรี และยังให้สารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น 

  • โปรตีน 21.7 กรัม 
  • แคลเซียม 353 กรัม 
  • คาร์โบไฮเดรต 62.7 กรัม 
  • ไขมัน 1.5 กรัม 
  • ฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม 
  • แมงกานีส 1,035 มิลลิกรัม 
  • สังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาของถั่วเขียว

ประโยชน์ด้านการรักษาอาการเจ็บป่วยของร่างกายของถั่วเขียวมีอยู่หลายอย่าง เช่น ช่วยถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ​ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยวิธีการรับประทานถั่วเขียวเป็นยานั้นสามารถปรุงเป็นต้มถั่วเขียวร้อนๆ ให้ผู้ป่วยรับประทานได้ แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังอาจปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัย

ประโยชน์ต่อสุขภาพของถั่วเขียว

ถั่วเขียวมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลายด้าน เช่น

1. กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

เพราะในถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี 9 หรือสารโฟเลต (Folate) และกรดโฟลิก (Folic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงให้เพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้กรดโฟลิกยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของระบบประสาทส่วนกลางในทารกด้วย

ดังนั้นถั่วเขียวจึงเป็นอีกอาหารบำรุงครรภ์ชั้นดีที่หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทาน เพื่อบำรุงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกแต่ต้องระมัดระวังปริมาณน้ำตาลด้วย เพราะหากรับประทานรสหวานมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้

2. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด

การอุดตัน หรือการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดีพอ ย่อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจตามมา ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในถั่วเขียวอย่างสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สามารถบำรุงระบบการไหลเวียนของเลือดได้ดี และยังทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเป็นไปอย่างปกติ

นอกจากนี้แร่ธาตุแมกนีเซียม โพแทสเซียม และไฟเบอร์ในถั่วเขียว ยังมีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งช่วยปรับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. ลดโอกาสเกิดโรคอักเสบเรื้อรัง

ถั่วเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น กรดฟีนอลิก (Phenolic acids) สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) กรดคาเฟอิก (Caffeic acid) ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระในร่างกายที่สามารถก่อโรคอันตรายหลายโรคได้ เช่น 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด 
  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร 

4. ช่วยลดน้ำหนักได้ดี

สารโปรตีนและไฟเบอร์ของถั่วเขียวสามารถทำให้อิ่มท้องได้นาน ลดอาการหิวระหว่างวัน และไม่ทำให้รับประทานจุกจิกบ่อยซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะอ้วน และน้ำหนักเกิน

นอกจากนี้โปรตีนในถั่วเขียวยังช่วยบำรุงระบบเมตาบอลิซึมของร่างกายได้ดี และลดการสะสมของไขมันไม่ดี (low density lipoprotein: LDL) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงด้วย

5. ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง

ธาตุสังกะสีในถั่วเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงการผลัดเซลล์ผิวหนังได้ดี ทำให้ผิวหนังเนียนกระจ่างใสขึ้นได้ และอีกสรรพคุณชั้นดีก็คือ การช่วยปรับสมดุลทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย กระตุ้นการตกไข่ ช่วยให้มีประจำเดือนสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้นด้วย

6. บำรุงสุขภาพผม

วิตามินเอในถั่วเขียวงอกจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมยาวเร็วขึ้น อีกทั้งธาตุสังกะสี และธาตุเซเลเนียม (Selenium) ยังมีส่วนทำให้รากผมแข็งแรง ชุ่มชื้น ช่วยผลิตน้ำมันธรรมชาติบนหนังศีรษะ ทำให้ลดโอกาสการเกิดรังแคบนหนังศีรษะได้

7. บำรุงการทำงานของระบบขับถ่าย

ผู้ที่มีปัญหาท้องผูก การรับประทานถั่วเขียวอาจช่วยคุณได้ เพราะในถั่วเขียวมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ (Soluble Fiber) อย่างสารเพกทิน (Pectin) ซึ่งจะเข้าไปช่วยขับเคลื่อนอุจจาระในผ่านออกทางลำไส้ และทำให้การขับถ่ายคล่องตัวมากขึ้น

ประโยชน์ของถั่วเขียวงอก

ถั่วเขียวงอก (Sprouts) คือ ถั่วเขียวที่เจริญเติบโตจนมีรากสีขาวอมเหลืองงอกออกมาจากเมล็ด ประโยชน์ของถั่วเขียวงอกจะใกล้เคียงกับถั่วเขียว เนื่องจากเป็นพืชชนิดเดียวกัน เช่น

  • มีธาตุเหล็กและสังกะสีซึ่งช่วยเสริมสร้างการผลิตเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอต่อร่างกาย
  • บำรุงการทำงานของหัวใจ ช่วยลดระดับไขมันไม่ดี และน้ำตาลในหลอดเลือด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมถึงโรคเบาหวานได้
  • ลดอาการท้องผูก จากสารไฟเบอร์ที่มีในถั่วเขียวงอก ทำให้ขับถ่ายคล่องยิ่งขึ้น นอกจากนี้สารไฟเบอร์จากถั่วเขียวงอกยังช่วยให้อิ่มท้องได้ดี ทำให้ไม่หิวระหว่างวัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือต้องการลดน้ำหนัก
  • เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับรากผม ไม่ทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย
  • มีวิตามินเอ และวิตามินซีซึ่งช่วยบำรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น อีกทั้งวิตามินเอในถั่วเขียวงอกยังช่วยบำรุงสายตาได้ดีอีกด้วย

ตัวอย่างเมนูอาหารเกี่ยวกับถั่วเขียว

ถั่วเขียวถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหารหลากหลายชนิดในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารประเภทของหวานที่มักมีส่วนผสมของถั่วชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ด้วย เช่น

  • ขนมปอเปี๊ยะไส้ถั่วกวน
  • ถั่วเขียวต้มน้ำตาล
  • บัวลอยถั่วเขียว
  • ถั่วเขียวนมสด
  • ขนมพระพาย
  • ขนมถั่วแปบ
  • ขนมหม้อแกง

นอกจากนี้ถั่วเขียวงอกยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารคาวหลายอย่าง เช่น ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋น ขนมจีน ผัดไทย หอยทอด

ลองหาเมนูที่มีส่วนประกอบของถั่วเขียว หรือถั่วเขียวงอกมารับประทานดู เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์ดีๆ จากถั่วชนิดนี้ 

อย่างไรก็ตาม อาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเขียวมักให้พลังงาน ไขมัน และน้ำตาลสูง จึงควรรับประทานแต่พอดี ไม่มากเกินไป เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ซึ่งสามารถเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tarladalal.com, Health Benefits of Mung, Moong, Whole Green Gram (https://www.tarladalal.com/article-health-benefits-of-moong-251), 11 January 2021.
Sarika Rana, 16 Benefits Of Sprouting And The Right Way To Do It (https://food.ndtv.com/food-drinks/6-benefits-of-sprouting-and-the-right-way-to-do-it-1691887), 11 January 2021.
Ryan Raman, 10 Impressive Health Benefits of Mung Beans (https://www.healthline.com/nutrition/mung-beans), 11 January 2021.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)