กระชาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กระชาย

ชื่อท้องถิ่น : กะแอน , ระแอน (ภาคเหนือ) , ขิงทราย (มหาสารคาม) , ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) , จี๊ปู , ชีฟู (ฉาน – แม่ฮ่องสอน) , เป๊าซอเร้าะ , เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช
กระชายเป็นไม้ล้มลุก สูงราว 1 – 2 ศอก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า “ เหง้า ” รูปทรงกระบอกปลายแหลมจำนวนมาก รวมติดอยู่เป็นกระจุก เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ เนื้อในละเอียดกาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวรีปลายแหลม ดอกเป็นช่อ สีขาวอมชมพู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าใต้ดิน

รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อและบำรุงกำลัง

วิธีใช้ : เหง้ากระชายรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด โดยนำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5 – 10 กรัม แห้งหนัก 3 – 5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเวลา มีอาการ หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fingerroot, Boesenbergia rotunda and its Aphrodisiac Activity. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5414452/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป