กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา

คอมบุชา (Kombucha) คืออะไร? ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์?

Kombucha เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีและปรับสมดุลให้ร่างกาย มาดูกันว่าดื่มอย่างไรจึงจะได้ผลดี?
เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คอมบุชา (Kombucha) คืออะไร? ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คอมบุชามีรสหวานอมเปรี้ยว มีความซ่า มีกลิ่นคล้ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่จัดเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • คอมบุชา หรือน้ำชาหมัก เกิดจากการใช้น้ำชาและหัวเชื้อจุลินทรีย์สุโคบี ซึ่งเป็นส่วนผสมของยีสต์กับแบคทีเรียจากผลไม้รสเปรี้ยวและน้ำ หมักรวมกัน 4-8 เดือน
  • ประโยชน์ของคอมบุชาคือ ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารในร่างกาย ปรับสมดุลในลำไส้ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยดื่มตอนท้องว่าง 200-300 มิลลิลิตร
  • แม้คอมบุชาจะมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร แต่สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกมากๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการสวนล้างลำไส้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจ Detox

คอมบุชา (Kombucha) หรือน้ำชาหมัก เป็นเครื่องดื่มที่ผ่านการหมักด้วยกระบวนการตามธรรมชาติ จนออกมาเป็นเครื่องดื่มรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีความซ่าเหมือนเครื่องดื่มอัดก๊าซ เนื่องจากกระบวนการหมักที่อาจทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

อย่างไรก็ตาม แม้คอมบุชาจะมีกลิ่นแอลกอฮอล์เล็กน้อย แต่ก็ไม่ถือเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการควบคุมกระบวนการหมักให้อยู่ในช่วงที่แอลกอฮอล์ถูกเปลี่ยนเป็นกรดน้ำส้มทำให้ไม่มีแอลกอฮอล์อยู่เลย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
Detox วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 631 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หรือ หากมีแอลกอฮอล์ก็มีเพียง 0.5% เท่านั้น ซึ่งยังไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดตามนิยามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ฉบับใหม่

ส่วนประกอบของ Kombucha

ส่วนประกอบหลักของเครื่องดื่มชนิดนี้คือ น้ำชาและหัวเชื้อจุลินทรีย์พันธุ์ดี หรือที่เรียกว่า "สโคบี (Symbiotic Colony of Bacteria and Yeast: SCOBY)" ซึ่งเป็นส่วนผสมของยีสต์และแบคทีเรียจากผลไม้เปรี้ยว น้ำตาล และน้ำที่หมักรวมกันนาน 4-8 เดือน

สโคบี้จะทำหน้าที่ย่อยสลายน้ำตาลให้กลายเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบภายในร่างกาย

ขั้นตอนการหมัก Kombucha

นำใบชามาต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 10-15 นาที กรองใบชาออก แล้วเติมน้ำตาล ทิ้งไว้จนเย็น ถ่ายใส่ภาชนะสำหรับหมักที่ไม่ใช่โลหะ 

ก่อนเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงไปและหมักเป็นเวลาอย่างน้อย 7-15 วัน แต่ไม่นานเกินกว่านั้น เพราะรสชาติจะเปรี้ยวขึ้นตามระยะเวลาของการหมัก ยิ่งหมักไว้นานจะยิ่งเปรี้ยวเกินกว่าที่จะดื่มได้

ประโยชน์ของ Kombucha

Kombucha มีต้นกำเนิดมากว่า 2,000 ปี และเคยใช้เป็นยาอายุวัฒนะของจีนในสมัยโบราณ ด้วยกระบวนการหมักทำให้เกิดจุลินทรีย์และยีสต์สายพันธุ์ดี หรือโพรไบโอติกส์จำนวนมาก จึงถือเป็นเครื่องดื่มที่มีโยชน์มากมาย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
Detox วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 631 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารในร่างกาย เพราะโพรไบโอติกส์จะไปทดแทนจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีในระบบย่อยอาหารที่สูญเสียไปจากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานอาหารไม่สะอาด หรือการใช้ยาบางชนิด
  • มีประโยชน์ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและช่วยเรื่องระบบขับถ่าย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยการนอนหลับ ช่วยลดคอลเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดการอักเสบ ลดการปวดไมเกรน บรรเทาอาการข้ออักเสบ 
  • จุลินทรีย์ชนิดดีจะช่วยปรับสมดุลในลำไส้ เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย รวมถึงบำรุงตับให้ทำหน้าที่ขับของเสียและสารพิษได้ดีขึ้น
  • กระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและช่วยลดความเครียดได้ ด้วยวิตามินบีและวิตามินซี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีงานวิจัยระบุว่า คอมบุชาช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ มีผลต่อไขมันดี (HDL) และไขมันไม่ดี (LDL) ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ดื่ม Kombucha อย่างไรให้ถูกวิธี?

การดื่ม Kombucha ให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ควรดื่มก่อนรับประทานอาหาร 20-30 นาที หรือหลังมื้ออาหาร 1 ชั่วโมงตอนท้องว่าง ครั้งละ 200-300 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
  • หากดื่มเป็นครั้งแรกควรเริ่มจากปริมาณน้อย แล้วสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย ก่อนจะดื่มต่อและค่อยๆ เพิ่มปริมาณ

ข้อควรระวังในการดื่ม Kombucha

แม้จะมีประโยชน์ปลายประการ ทั้งยังเชื่อกันว่า Kombucha จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่าง แต่จนถึงตอนนี้ ก็ยังมีงานวิจัยผลกระทบจากเครื่องดื่มชนิดนี้ในมนุษย์ไม่มากนัก

ด้วยหลักฐานที่แสดงให้เห็นผลต่อสุขภาพก็ยังมีจำกัด Kombucha จึงยังถือเป็นเครื่องดื่มทางเลือกที่มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ผู้ที่ไม่ควรดื่ม ได้แก่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร เด็กที่อายุน้อยกว่า 4 ปี และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมกับตนเอง โดยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนดื่ม
  • ห้ามดื่ม Kombucha ที่หมักในภาชนะเหล็ก หรือเซรามิกเคลือบ เพราะวัสดุอาจทำปฏิกิริยากับกรดและปล่อยสารพิษออกมาได้
  • การดื่ม Kombucha มากเกินไป หรือดื่มชาที่ผลิตโดยไม่มีคุณภาพ อาจทำให้มึนงง อาเจียน คลื่นไส้ ปวดท้อง ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร หรือตับได้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที
  • กรณีมีโรคประจำตัวอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนดื่ม

คอมบุชา (Kombucha) หรือน้ำชาหมัก ถือเป็นเครื่องดื่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ดังนั้นก่อนดื่มจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการดื่ม การผลิต และการเลือกซื้ออย่างถูกต้อง 

รวมถึงหากมีโรคประจำตัว มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลทุกครั้งก่อนดื่มคอมบุชา เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดจากคอมบุชา  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจ Detox จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Side Effects of Too Much Kombucha (https://www.healthline.com/nutrition/kombucha-side-effects), 29 January 2020.
The health benefits of kombucha (https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/health-benefits-kombucha), 29 January 2020.
ปฏิญญา มั่นเกษตรกิจ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณณี บวรสมบัติ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมบูชาจากชาดําโดยใช้เชื้อบริสุทธิ์, (http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/1051/981), 15 มิถุนายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)