กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

DCIS: Ductal Carcinoma In Situ (ดัคทอลคาร์ซิโนมาในแหล่งกำเนิด)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

มะเร็งเต้านมรูปแบบนี้พบได้ประมาณ 1/5 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ในสหรัฐอเมริกา

DCIS เป็นมะเร็งเต้านมรูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยความหมายของ carcinoma นั้นหมายถึงมะเร็ง ในขณะที่ in situ หมายถึงอยู่ในแหล่งกำเนิด DCIS เริ่มต้นในเซลล์ของท่อน้ำนม ซึ่งเซลล์ที่ทำหน้าที่บุผิวของท่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจนมีลักษณะคล้ายเซลล์มะเร็ง การวินิจฉัยว่าเป็น DCIS หมายความว่าเซลล์นั้นยังไม่มีการแพร่กระจายออกนอกผนังของท่อไปสู่เนื้อนมโดยรอบอย่างไรก็ตาม DCIS สามารถกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่ลุกลามได้ แพทย์ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ป่วย DCIS รายใดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็ง และรายใดจะไม่เป็นมะเร็ง สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าประมาณ 1/5 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมรายใหม่เป็น DCIS ข่าวดีก็คือว่า DCIS สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รักษาหรือตรวจไม่พบ ก็สามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของเต้านมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของ DCIS

DCIS เริ่มเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเกิดขึ้นในระดับ DNA ของเซลล์ท่อน้ำนมในเต้านม ทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติขึ้น อย่างไรก็ตามเซลล์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่กระจายออกนอกท่อน้ำนม ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าอะไรทำให้เซลล์เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติและกลายเป็ฯ DCIS แต่นักวิจัยเชื่อว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยรวมกันระหว่างพันธุกรรม, การใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อม

อาการของ DCIS

ส่วนใหญ่ มะเร็งเต้านมรูปแบบนี้ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ดังนั้น DCIS จึงมักตรวจพบผ่านการตรวจ mammogram อย่างไรก็ตาม DCIS อาจทำให้เกิดก้อนที่เต้านมหรือมีเลือดออกจากหัวนมได้ในบางครั้ง

การวินิจฉัย DCIS

การทำ mammogram มักทำให้เห็น DCIS หากตรวจพบว่าภาพการตรวจเจอกลุ่มของก้อนที่มีแคลเซียมมาเกาะ รูปร่างประหลาด และขนาดต่างๆ กัน เซลล์กลุ่มนี้อาจเป็น DCIS หรือแค่การแบ่งตัวของเซลล์ที่ท่อน้ำนมผิดปกติ ( atypical ductal hyperplasia (ADH)) ซึ่ง ADH นั้นไม่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมต่อไปในอนาคต ในบางราย การตรวจเจอกลุ่มเซลล์เหล่านี้อาจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามได้ เพื่อให้ทราบว่ากลุ่มเซลล์ดังกล่าวเป็นชนิดไหน แพทย์จะแนะนำให้ทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การรักษา DCIS

วิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการที่สามารถใช้รักษา DCIS ได้

การตัดก้อนออกร่วมกับการฉายรังสี : เป็นการผ่าตัดเพื่อตัดบางส่วนของเต้านมที่มีก้อนออกไป ตามด้วยการฉายแสง วิธีนี้ประสบผลสำเร็จในผู้ป่วย DCIS ส่วนใหญ่

การตัดเต้านม : หากคุณเป็น DCIS ในหลายส่วนของเต้านม หรือเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่ยังไม่ลุกลามที่พบหลายๆ บริเวณของเต้านม แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดทั้งเต้านมออก

การรักษาด้วยฮอร์โมน : วิธีนี้อาจแนะนำให้ใช้เพื่อชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอกที่ไวต่อฮอร์โมน โดยการเข้าไปขัดขวางความสามารถของร่างกายในการผลิตหรือใช้ฮอร์โมน

ยาเคมีบำบัด : เนื่องจาก DCIS ไม่ใช่มะเร็งที่ลุกลามดังนั้นจึงมักไม่จำเป็นที่จะต้องให้ยาเคมีบำบัด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nationalbreastcancer, Ductal Carcinoma In Situ (DCIS) (https://www.nationalbreastcancer.org/dcis),
breastcancer, Ductal Carcinoma In Situ (DCIS) (https://www.breastcancer.org/symptoms/types/dcis), March 9, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
มะเร็งเต้านมมีโอกาสลามไปอีกข้างไหมคะ ตอนนี้ผ่าตัดได้ 4 ปีแล้วค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม เราสามารถทานของอาหารทะเลได้หรือไม่ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อายุ26ปีค่ะ ช่วงก่อนมีประจำเดือน คลำๆหน้าอกด้านขวาตอนนอนตะแคงไปทางซ้ายแล้วเจอเป็นเนื้อแข็งๆ ไม่แน่ใจว่ามีมานานรึยัง ลักษณะแบบนี้ มีโอกาสเป็นซีส หรือ มะเร็งเต้านมรึเปล่าคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เจ็บใต้ราวนมเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมมั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คนที่มีหน้าอกใหญ่มากมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนมีหน้าอกปกติ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แม่ของดิฉันตรวจพบเจอก้อนซีสที่เต้านมแต่ไปหาหมอตรวจแล้วพบเป็นแค่ซีส หมอจึงนัดตรวจผลอีก1ปี อยากถามว่าจะมีสิทธ์เป็นมะเร็งเต้านมได้หรือมั้ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)