โรคตับแข็งคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคตับแข็งคืออะไร?

หนึ่งในโรคเรื้อรังที่เราคุ้นหูกันดี โรคตับแข็งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับที่มีหน้าที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อชีวิตได้มากมาย

โรคตับแข็งเป็นโรคเรื้อรังของตับ เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หมายถึง มีแผลเป็นเกิดขึ้นบนเนื้อเยื่อตับปกติ ทำให้อวัยวะนี้ไม่สามารถทำงานเต็มที่ได้ตามที่ควร หากความเสียหายยังลุกลามต่อไปเรื่อย ๆ ตับจะค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการทำหน้าที่ตามปกติมากขึ้น ซึ่งหากถึงขั้นนี้ จะเรียกว่า ภาวะตับวาย (Liver failure) หรือในบางกรณี อาจเรียกว่า โรคตับระยะสุดท้าย (End-stage liver disease)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด

  • ตับมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของลูกฟุตบอล และอยู่ทางด้านขวาติดท้องด้านหน้า ในระดับถัดจาก ซี่โครงซี่ล่างสุด
  • ตับทำหน้าที่ผลิตสารที่ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ และสารที่ทำหน้าที่ในการแข็งตัวของเลือด กรองสารพิษ และสารติดเชื้อจากเลือด ผลิตสารที่ช่วยในการย่อยสลายสารอาหารบางชนิด และเก็บพลังงานไว้เพื่อใช้ในภายหลัง
  • หน้าที่เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของการทำงานอีกมากมายของตับต่อร่างกาย

ตับอาจได้รับบาดเจ็บจากบางภาวะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในโรคตับอักเสบเฉียบพลัน หรือตับนั้นอาจได้รับบาดเจ็บอยู่เรื่อยๆ เป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี เช่น จากการอุดตันทางเดินน้ำดี หรือจากโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง หรือโดยการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการดื่มแอลกอฮอล์ทุกวัน

  • ตับจะตอบสนองต่อความเสียหายของเซลล์โดยสร้างเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น เข้ามาล้อมรอบกลุ่ม ของเซลล์ที่กำลังรักษาตัวอยู่ (Nodules of healing cells) ทำให้ตับมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่ำ
  • ในตอนแรก การอักเสบในตับทำให้เกิดอาการบวมก่อน แต่เมื่อโรคดำเนินไป และปริมาณของเนื้อเยื่อแผลเป็นในตับเพิ่มขึ้น ขนาดของตับทั้งหมดจะหดตัวลงกว่าเดิม
  • เนื้อเยื่อแผลเป็นเหล่านั้นจะบีบกดหลอดเลือดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในตับ ซึ่งทำให้ขัดขวางการไหลของเลือดไปยังเซลล์ตับ จากนั้นเซลล์ตับดังกล่าวก็จะตายลง
  • การสูญเสียเซลล์ตับทำให้ความสามารถของอวัยวะนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติลดลงอย่างแน่นอน

การสูญเสียการทำงานของตับส่งผลต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน โรคตับแข็งนั้น หากสภาวะโรครุนแรงมากพอ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้มากมาย ซึ่งอาจเป็นภาวะร้ายแรง เช่น

ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ (Portal hypertension):

กลุ่มก้อน และเนื้อเยื่อแผลเป็นสามารถกดทับหลอดเลือดดำภายในตับ เส้นดังกล่าว ทำให้ความดันโลหิตภายในตับสูงขึ้น ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ (Portal hypertension)

  • ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ มักเกิดขึ้นในคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตับแข็ง
  • โรคตับแข็งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ
  • ภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ อาจทำให้เลือดดำย้อนกลับมาอยู่ในลำไส้ และอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง และทำให้หลอดเลือดฉีกขาด มีเลือดไหลเข้าสู่ลำไส้ และเกิดการสะสมของของเหลวทั่วร่างกายซึ่งเป็นภาวะอันตราย

โรคสมองจากตับ (Hepatic encephalopathy):

ภาวะนี้เกิดขึ้นจาก สารพิษถูกสร้างขึ้นอยู่ในกระแสเลือดเป็นปริมาณมาก เนื่องจากตับซึ่งมีแผลเป็นอยู่มากมายนั้น ไม่สามารถกำจัดสารพิษเหล่านี้ออกจากร่างกายได้เพียงพอ

  • สารพิษดังกล่าวสามารถทำให้คุณประพฤติตัวแปลกประหลาด รู้สึกสับสน และเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง หรือคนอื่น ๆ ได้
  • บางคนกลายเป็นคนง่วงนอนมาก และไม่สามารถตื่นขึ้นมาได้ง่ายๆ

เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding):

ความดันโลหิตสูงในเส้นเลือดดำของตับ ทำให้เกิดการไหลเวียนย้อนกลับของเลือดจากกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ภาวะดังกล่าวทำให้เส้นเลือดดำบริเวณต่างๆขยายตัวขึ้นเกิดเป็นลักษณะเส้นเลือดดำโป่งพอง (Varices)
  • จุดทีเกิดเส้นเลือดดำโป่งพองเหล่านี้ สามารถเกิดการฉีกขาด และมีเลือดออก และการเสียเลือดมากอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ซึ่งมักจะแสดงอาการ เป็น อาเจียนปนเลือดสีแดงสด

การติดเชื้อ:

ถ้าคุณมีโรคตับแข็ง คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากตับของคุณไม่สามารถสร้างโปรตีนชนิดต่างๆที่จำเป็นในการต่อสู้กับการติดเชื้อ

น้ำคั่งในช่องท้อง (Ascites):

ภาวะความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดดำของตับนั้นจะบีบบังคับให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดในตับของคุณ ย้อนกลับมารวมไว้ในบริเวณช่องท้องของคุณ

  • ของเหลวหลายลิตรนี้สามารถทำให้ช่องท้องของคุณพองโต ทำให้เกิดอาการปวด บวม หายใจลำบาก และขาดน้ำอย่างหนัก
  • ในขณะที่น้ำคั่งอยู่ในช่องท้องของคุณ ไตของคุณจะพยายามดูดกลับน้ำจากปัสสาวะให้มากขึ้น เพราะไตคิดว่าร่างกายของคุณขาดน้ำอยู่ ทำให้ยิ่งมีของเหลวส่วนเกินสะสมในปอด ขา และท้องของคุณ
  • ของเหลวที่คั่งในช่องท้องของคุณ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ เรียกว่า ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบเองจากแบคทีเรีย (Spontaneous bacterial peritonitis)

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome):

แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ภาวะตับวายทำให้เกิดไตวายในผู้ป่วยบางคน

  • บ่อยครั้งที่ภาวะตับวายจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ
  • แม้ว่าโรคตับแข็งมักเกี่ยวข้องกับโรคพิษสุราเรื้อรัง แต่ก็มีหลายสาเหตุอื่นๆที่สามารถทำให้เกิดโรคตับแข็งได้เช่นกัน สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ โรคพิษสุราเรื้อรังเรื้อรัง และโรคตับอักเสบชนิดซี
  • ไม่มีการรักษาโรคตับแข็ง แต่การกำจัดสาเหตุ อาจทำให้โรคดำเนินได้ช้าลง และหากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่รุนแรงเกินไป ตับสามารถรักษาตัวเองได้แต่ต้องใช้เวลา

 https://www.emedicinehealth.com/cirrhosis/article_em.htm#what_is_cirrhosis


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cirrhosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/cirrhosis/)
Cirrhosis of the liver: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/172295)
John P. Cunha, DO, FACOEP, Cirrhosis (Liver) (https://www.medicinenet.com/cirrhosis/article.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)