วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

คาร์ซีทสำคัญอย่างไร มีวิธีเลือกซื้ออย่างไร?

รู้ความสำคัญของคาร์ซีท วิธีใช้งาน ต้องใช้ตั้งแต่ลูกอายุเท่าไร
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คาร์ซีทสำคัญอย่างไร มีวิธีเลือกซื้ออย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คาร์ซีท เป็นเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กเพื่อลดโอกาสการบาดเจ็บเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • ผู้ปกครองจำเป็นจะต้องเลือกคาร์ซีทให้เหมาะสมกับขนาดตัวและวัยของเด็กด้วย จนเมื่อเด็กสูงเกิน 100 เซนติเมตรแล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเบาะนั่งจากคาร์ซีทเป็นเบาะบูสเตอร์ซีทแทนได้ เมื่อเด็กสูงเกิน 135 เซนติเมตร ก็สามารถให้นั่งเบาะรถธรรมดาได้
  • พ่อแม่จำเป็นต้องฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่เด็กเพื่อให้เด็กปรับตัวให้ชินกับการนั่งคาร์ซีท ซึ่งอาจไม่สบายตัวเท่านั่งเบาะรถธรรมดา
  • ตำแหน่งที่ควรติดตั้งคาร์ซีทบนรถคือ เบาะหลังตำแหน่งตรงกลาง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

นอกจากการขับรถอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนแล้ว การคาดเข็มขัดนิรภัยก็เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นตัวคนขับ หรือผู้โดยสารคนอื่นๆ ส่วนผู้โดยสารที่ยังเป็นเด็ก  “คาร์ซีท” ก็เป็นอีกตัวช่วยด้านความปลอดภัยขณะเดินทางด้วยรถยนต์ 

คาร์ซีทเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญยิ่งเพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาขณะเดินทาง เด็กจะมีอุปกรณ์นิรภัยช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของคาร์ซีท

คาร์ซีท (Car Seat) คือ เบาะนั่งนิรภัยบนรถสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ รวมถึงเป็นเครื่องมือช่วยประคองศีรษะ คอ และหลังเด็กไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน

ความสำคัญของคาร์ซีท

สาเหตุที่พ่อแม่มือใหม่ทุกคนควรซื้ออุปกรณ์คาร์ซีทเอาไว้บนรถโดยหลักๆ มีดังต่อไปนี้

  • เพื่อป้องกัน และลดโอกาสการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้ลูกน้อย เมื่อรถชน หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น คาร์ซีทจะช่วยป้องกันร่างกายของเด็กไม่ให้ถูกกระแทก หรือได้รับบาดเจ็บน้อยที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของศีรษะ ลำคอ และกระดูกสันหลังที่หากได้รับบาดเจ็บขึ้นมาจะเป็นอันตรายสูงมาก

  • มีสมาธิในการขับรถมากขึ้น ด้วยวัยเด็กที่กำลังเป็นวัยกำลังซน บางครั้งเด็กอาจพยายามมาเล่นกับอุปกรณ์ขับรถ หรือเล่นกับพ่อแม่ นั่นทำให้พ่อแม่ที่กำลังทำหน้าที่ขับขี่ไม่มีสมาธิในการขับรถได้ อีกทั้งเด็กยังอาจไปขยับเกียร์รถยนต์ พวงมาลัยรถยนต์จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นการให้เด็กนั่งคาร์ซีทจะทำให้เด็กนั่งอยู่กับที่ และทำให้การขับรถไม่เกิดความวุ่นวาย

หากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ยังไม่แน่ใจถึงวิธีการใช้และความสำคัญของคาร์ซีท ให้ลองปรึกษาแพทย์ รวมถึงขอคำแนะนำสำหรับพ่อแม่มือใหม่ในเรื่องอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อจะได้รู้วิธีดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง

วิธีเลือกและใช้คาร์ซีทอย่างเหมาะสม

1. เลือกให้เหมาะสมกับขนาดตัว และช่วงวัย

หลายคนอาจคิดว่า คาร์ซีทมีไว้สำหรับเด็กทารก หรือวัยหัดคลานเท่านั้น แต่ความจริงคาร์ซีทมีขนาดแบ่งออกได้ตามวัย และขนาดตัวของเด็ก ซึ่งแบ่งออกได้หลักๆ 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  • กลุ่มเด็กทารกถึงเด็กอายุ 2 ขวบ หรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 0-13 กิโลกรัม
  • กลุ่มเด็กอายุ 2-5 ขวบ หรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 9-18 กิโลกรัม
  • กลุ่มเด็กอายุมากกว่า 5-12 ขวบ หรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 18 กิโลกรัมขึ้นไป

คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดนั้นจะต้องเป็นแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ (Rearward Facing) จนกระทั่งเด็กมีน้ำหนักตัวประมาณ 9-13 กิโลกรัม หรืออายุ 2 ขวบขึ้นไปแล้ว จึงจะสามารถใช้แบบหันหน้าไปข้างหน้า (Forward Facing) ได้

นอกจากนี้พ่อแม่ต้องเลือกขนาดคาร์ซีทที่เหมาะกับขนาดตัวและสรีระของลูก อีกทั้งอาจต้องเปลี่ยนคาร์ซีทเป็นตัวใหม่เมื่อลูกของคุณโตขึ้น โดยเคล็ดลับการดูขนาดของคาร์ซีทให้เหมาะสมกับตัวเด็กคือ ให้สังเกตว่า ศีรษะของเด็กจะต้องอยู่ต่ำกว่าขอบด้านบนของเบาะคาร์ซีทประมาณ 1 นิ้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การเลือกขนาดคาร์ซีทให้เหมาะกับขนาดเบาะที่นั่งบนรถก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยควรเลือกคาร์ซีทที่มีขนาดพอดี ไม่ควรเล็กกว่าเบาะที่นั่งจนเกินไป เพราะจะทำให้ยากต่อการติดตั้งคาร์ซีทให้แน่นหนาแข็งแรง

2. ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม

หากลูกของคุณอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ควรติดตั้งคาร์ซีทไว้ที่เบาะหลัง ในตำแหน่งตรงกลาง เพราะสามารถป้องกันไม่ให้ตัวเด็กกระเด็นไปข้างหน้าเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้และช่วยลดแรงกระแทกขณะเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด

หากไม่สะดวกติดตั้งคาร์ซีทบริเวณที่นั่งเบาะหลังตรงกลาง ให้ติดตั้งที่ฝั่งตรงข้ามคนขับจะปลอดภัยกว่าฝั่งเดียวกับคนขับ ยิ่งหากเด็กนั่งอยู่บนคาร์ซีทที่ติดตั้งไว้แน่นหนาด้วยแล้ว เด็กก็จะยิ่งมีโอกาสได้รับบาดเจ็บน้อยลงไปอีก

แต่หากคุณไม่สามารถติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะหลังได้ก็ให้ติดตั้งที่เบาะข้างคนขับได้ แต่ให้ปรับระยะห่างของเบาะรถกับกระจกหน้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะปรับได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กถูกถุงลมนิรภัยกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

3. ฝึกให้เด็กนั่งคาร์ซีทตั้งแต่ยังเล็ก

เพื่อให้เด็กเคยชินกับการนั่งคาร์ซีท พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกน้อยหัดนั่งคาร์ซีทตั้งแต่ยังเป็นเด็กแรกเกิด เด็กหลายคนเพิ่งมาฝึกนั่งคาร์ซีทเมื่อเริ่มรู้ความแล้ว และจะเกิดอาการงอแงร้องไห้เพราะรู้สึกไม่สบายตัวเหมือนนั่งเบาะรถธรรมดา

พ่อแม่ทุกคนจะต้องใช้ความอดทนในการฝึกเด็กให้หัดนั่งคาร์ซีทให้ชินและไม่ตามใจเด็กโดยการปล่อยให้เด็กนั่งบนเบาะรถธรรมดา หรืออุ้มเด็กไว้บนตัก เพราะนั่นเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บ จนไปถึงขั้นเสียชีวิตได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้คุณยังต้องสอนให้เด็กอย่ายื่นศีรษะ มือ และเท้าออกนอกจากคาร์ซีท หรือนั่งคาร์ซีทในท่าทางที่ไม่เรียบร้อย

อีกเคล็ดลับที่ช่วยเบนความสนใจให้กับเด็กในระหว่างนั่งคาร์ซีทได้คือ ให้เขามีของเล่น หนังสือนิทาน หรือติดตั้งจอโทรทัศน์เล็กๆ เพื่อเปิดการ์ตูนให้เด็กดูระหว่างที่นั่งรถ จะช่วยให้เด็กยอมนั่งคาร์ซีทได้ง่ายขึ้น

แต่หากเด็กไม่ยอมนั่งคาร์ซีทจริงๆ พ่อแม่ก็ยังไม่ควรออกเดินทางจนกว่าเด็กจะนั่งอยู่บนคาร์ซีทและรัดเข็มขัดนิรภัยบนเบาะเรียบร้อยแล้ว เพื่อความปลอดภัย

4. เลือกคาร์ซีทที่มีคุณภาพ

คาร์ซีทส่วนมากมักมีราคาแพงแต่หากมีคุณภาพมากพอที่จะปกป้องลูกน้อยจากอันตรายได้ ก็คุ้มค่าพอที่จะจ่าย นอกจากนี้คาร์ซีทยังต้องมีระบบเข็มขัดนิรภัย 5 จุดซึ่งจะปกป้องจุดสำคัญของร่างกายเด็กไว้ ได้แก่ หัวไหล่ อก หน้าท้อง และสะโพก

นอกจากนี้พ่อแม่ทุกคนต้องตรวจสอบความแข็งแรงและอายุการใช้งานคาร์ซีทซึ่งสามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา ซึ่งโดยปกติคาร์ซีทจะมีอายุการใช้งานได้ไม่เกิน 7-10 ปี

หากคุณมีคาร์ซีทเก่าจากลูกคนก่อนหน้าและต้องการใช้คาร์ซีทตัวเดิมสำหรับลูกน้อยคนต่อไป ควรตรวจสอบความพร้อมในการใช้งานให้ดีเสียก่อน หากคาร์ซีทมีสภาพไม่แข็งแรงพอก็ควรซื้อตัวใหม่มาติดตั้งแทน

อย่างไรก็ตาม เมื่อระยะเวลาผ่านไปและเด็กเริ่มโตขึ้น เช่น มีอายุประมาณ 8 ขวบ หรือมีส่วนสูงอยู่ที่ประมาณ 100 เซนติเมตรขึ้นไป พ่อแม่ก็สามารถเปลี่ยนจากคาร์ซีทมาเป็น “บูสเตอร์ซีท (Booster Seat)” ซึ่งเป็นเบาะนั่งเสริมแทนการใช้คาร์ซีทได้

เมื่อเด็กมีส่วนสูงมากกว่า 135 เซนติเมตร หรืออายุมากกว่า 12 ปี ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เบาะเสริมอีก และสามารถนั่งเบาะรถธรรมดาโดยใช้เข็มขัดนิรภัยประจำรถได้

คาร์ซีทอาจเป็นอุปกรณ์ราคาแพงที่คู่สามีภรรยาหลายคู่ไม่อยากซื้อ เพราะมองว่า การใช้คาร์ซีทเป็นการใช้งานเพียงในช่วงที่ลูกยังเด็กขณะเดินทางโดยรถยนต์เท่านั้น เมื่อเขาโตขึ้นก็สามารถนั่งบนเบาะรถยนต์ได้ตามปกติ จึงจัดเป็นเรื่องสิ้นเปลือง

และที่สำคัญพ่อแม่บางรายมักคิดว่า เมื่อตนเองขับรถดีแล้ว อุบัติเหตุบนท้องถนนไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและลูกน้อยได้

แต่เพราะเหตุผลของความประมาทนี้เอง จึงทำให้พ่อแม่หลายคนต้องสูญเสียลูกน้อยไปจากการไม่เตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยขณะขับรถยนต์ ดังนั้นคาร์ซีทจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เมื่อคุณมีลูกเล็กๆ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zawn Villines, The Importance of Car Seat Safety to Prevent Injuries (https://www.spinalcord.com/blog/the-importance-of-car-seat-safety-to-prevent-injuries), 22 September 2020.
The Swaddle Team, Why Car Seats Are Important: Seperating Fact From Fiction (https://theswaddle.com/why-are-car-seats-important/), 22 September 2020.
Teresa Boardman, Importance of Car Seats for Babies and Children (https://nannyoptions.ie/parenting-guide/family/importance-car-seats-babies-children/), 22 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม