คำถาม : แพทย์โรคหัวใจของฉันกล่าวว่าเขาจะทำ bubble study ระหว่างที่ทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่หัวใจ มันคืออะไร?
คำตอบ : ในระหว่างที่ทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่หัวใจนั้น ผู้ตรวจจะใช้อุปกรณ์ที่สามารถส่งคลื่นเสียงความถี่สูงที่จะทำให้เกิดเป็นภาพโครงสร้างของหัวใจในการตรวจ คลื่นเหล่านี้นั้นจะถูกแปลงมาเป็นภาพให้เห็นบนจอ และทำให้เห็นโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ Bubble study จะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเนื่องจากจะเป็นการระบุปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่อยู่ภายในหัวใจฃ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ขั้นตอนการทำ bubble study เป็นอย่างไร?
ในการทำ bubble study นั้นคุณจะต้องมีสายน้ำเกลือ ก่อนที่จะได้น้ำเกลือที่ผสมกับฟองอากาศเล็กน้อยฉีดเข้าไปในเส้นเลือด สารน้ำนี้จะเข้าไปที่หัวใจห้องบนขวาและจะมองเห็นบนจอระหว่างที่ทำการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง แพทย์อาจจะบอกให้คุณไอ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความดันภายในหัวใจด้านขวา
โดยทั่วไปแล้วปอดของคุณจะสามารถกรองเอาฟองอากาศเหล่านี้ออกได้ แต่ถ้าหากคุณมีรูที่ผนังหัวใจที่กั้นระหว่างห้องขวาบนและซ้ายบน นั้นจะทำให้ฟองอากาศบางส่วนนั้นเคลื่อนที่ผ่านรูนั้นและไปที่หัวใจซีกซ้ายได้ รูนี้เรียกว่า patent foramen ovale (PFO) มีคนประมาณ ¼ ที่พบภาวะนี้ซึ่งเกิดจากการที่รูที่เคยมีในช่วงก่อนคลอดนั้นปิดไม่สนิท
ผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่นั้นมีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีปัญหาอะไร แต่มีหลักฐานบางชิ้นที่พบว่า PFO นั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองอุดตันได้ในรายที่ไม่พบสาเหตุอื่น โดยทั่วไปเส้นเลือดที่ปอดนั้นจะทำการดักจับลิ่มเลือดเล็กๆ ก่อนที่เลือดนั้นจะเข้าสู่หัวใจและไปยังร่างกายส่วนอื่น แต่ถ้าหากลิ่มเลือดนั้นผ่านปอดโดยการใช้ทางลัดที่ PFO ก็จะทำให้มันสามารถเดินทางขึ้นไปยังเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงทั้งร่างกายได้ หากเกิดการอุดตันที่สมองก็จะทำให้เกิดโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน แพทย์อาจจะสงสัยภาวะนี้หากคุณมีอายุน้อยและเป็นโรคเส้นเลือดสมองอุดตันแต่ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูงหรือการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ แต่โดยส่วนมากแล้วงานวิจัยไม่พบประโยชน์ในการปิดรูนี้อย่างชัดเจน หากโรคเส้นเลือดสมองอุดตันนั้นเกิดจากการมีรูปนี้ ก็จะต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดในการป้องกันการเป็นซ้ำ Bubble study นั้นยังอาจจะทำให้เห็นรูที่ผนังหัวใจห้องบนในตำแหน่งอื่น ส่วนมากรูเหล่านี้นั้นมักจะพบและทำการผ่าตัดซ่อมแซมตั้งแต่ในช่วงเด็ก แต่ก็อาจจะตรวจพบเมื่อเข้าสู่ช่วงผู้ใหญ่ก็ได้ การผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจทำงานหนักและหัวใจวายในระยะยาวนั้นจะขึ้นขนาดของรูที่พบ