โรคหนองใน หรือโกโนเรีย (Gonorrhoea) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae ซึ่งเป็นแบคทีเรียรูปร่างกลม (coccus) ชนิดติดสีแกรมลบ (Gram negative) จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus)
เชื้อหนองในสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่อุ่นชื้น โดยเฉพาะในอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและหญิง รวมไปถึงทวารหนัก เยื่อบุตา และช่องปากด้วย นอกจากนี้มารดาที่ติดเชื้อหนองในสามารถถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์ได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เพศหญิงเสี่ยงติดเชื้อหนองในมากกว่าเพศชายหรือไม่?
ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่าเพศหญิงมีโอกาสได้รับเชื้อมากกว่าเพศชายเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อหนองใน อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในเพศหญิงจะมีมากกว่าเพศชาย เช่น อุ้งเชิงกรานอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ
ทั้งนี้ แม้ว่าแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae จะมีการฟักตัวเร็วเพียงแค่ 1-10 วัน แต่เมื่อออกจากร่างกายมนุษย์แล้วจะตายค่อนข้างง่าย จึงเป็นไปได้ยากมากที่จะติดต่อกันทางอื่นนอกจากการมีเพศสัมพันธ์
6 สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหนองใน
- ติดเชื้อหนองในซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Neisseria gonorrhoeae ผ่านทางอสุจิ หรือน้ำในช่องคลอด
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน หรือไม่ใส่ถุงยางอนามัย
- ติดจากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอด จากการสัมผัสเชื้อโดยตรง
- พฤติกรรมการมีคู่นอนมากกว่า 1 คนโดยขาดการป้องกัน
- การซื้อหรือขายบริการทางเพศ
- การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิงที่เยื่อบุปากมดลูกยังไม่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
สำหรับโรคหนองในที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อข้างต้น จะถูกเรียกว่า โรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU) มักเกิดจากการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis มากที่สุด
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม
- Chlamydia trachomatis
- Ureaplasma urealyticum
- Trichomonas vaginalis
- Haemophilus vaginalis
- Mycoplasm genitalium
- Haemophilus vaginalis
- Mycoplasm genitalium
- Herpes simplex virus
- Adenovirus