กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัปดาห์ที่ 35-40 ของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สัปดาห์ที่ 35-40 ของการตั้งครรภ์

ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาใกล้คลอดเต็มทีแล้ว ร่างกายของทารกจะมีพัฒนาอย่างเต็มที่ ทารกสามารถกระพริบตา ปิดตา หมุนศีรษะ กำมือแน่น และตอบสนองต่อเสียง แสง และสัมผัสได้ ในช่วงนี้ทารกจะกลับหัวลงมาที่บริเวณเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอดทางช่องคลอดต่อไป

สัปดาห์ที่ 35

ทารก: ปอดทารกจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงนี้ ทารกจะยังมีการสะสมไขมันไว้ในผิวหนังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายภายหลังจากออกจากครรภ์มารดาแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณแม่: มดลูกจะอยู่สูงกว่าสะดือประมาณ 6 นิ้ว ช่วงนี้น้ำหนักตัวคุณจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 10.9 – 13.2 กิโลกรัม แพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย Group B Streptococcus ระหว่างช่วงสัปดาห์นี้จนถึงสัปดาห์ที่ 37

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: คุณพร้อมสำหรับการให้กำเนิดทารกแล้วหรือยัง? อย่างลืมเช็คว่าคุณมีเสื้อผ้าที่จำเป็นสำหรับทารกครบแล้ว รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ที่นั่งสำหรับทารกในรถยนต์ (car seat) รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่จำเป็น อย่างน้อยเพื่อให้คุณผ่านช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังทารกเกิดได้เป็นอย่างดี

สัปดาห์ที่ 36

ทารก: ทารกจะมีขนาดประมาณ 20.7 นิ้ว (วัดจากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.7 กิโลกรัม ตัวทารกจะเลื่อนมาอยู่ด้านล่างของช่องท้อง และมีการกลับหัวมาอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอด สมองของทารกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และทารกจะฝึกการกระพริบตาในช่วงนี้

คุณแม่: มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายอาจกดไปที่ซี่โครงของคุณ ช่วงนี้คุณควรอยู่แต่ในบ้าน และภายหลังสัปดาห์นี้คุณต้องมาพบแพทย์ทุกๆ สัปดาห์แล้ว คุณอาจรู้สึกอ่อนเพลีย สลับกับมีเรี่ยวแรงอย่างมาก อาจมีอาการปวดหลัง และรู้สึกหนัก ไม่สบายตัวที่บริเวณก้นและเชิงกรานของคุณ 

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: คุณควรเริ่มมีการสต็อกอาหารแช่แข็งไว้ในตู้เย็น โดยเป็นอาหารที่ทำให้สุกพร้อมรับประทานได้ง่ายในเตาอบหรือไมโครเวฟภายหลังจากทารกคลอดและคุณกลับมาบ้านแล้ว คุณอาจมีการจัดเตรียมอาหารบางอย่างแช่แข็งไว้ในช่วงเวลานี้เพื่อให้นำมาปรุงให้สุกได้ง่ายในภายหลัง

สัปดาห์ที่ 37

ทารก: ทารกจะมีขนาดประมาณ 21 นิ้ว (วัดจากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักประมาณ 2.9 กิโลกรัม ผิวของทารกจะมีสีอมชมพู และรอยย่นตามผิวหนังจะเริ่มหายไปในช่วงนี้ หัวของทารกจะอยู่ด้านล่างในตำแหน่งของเชิงกราน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณแม่: ขนาดของมดลูกจะมีขนาดใกล้เคียงกับช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำหนักตัวของคุณจะเพิ่มมากถึง 11.3 – 15.9 กิโลกรัม ในช่วงนี้แพทย์อาจตรวจอุ้งเชิงกรานของคุณเพื่อดูความคืบหน้าของการตั้งครรภ์

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: เพื่อเตรียมพร้อมว่าหากเกิดการคลอดก่อนกำหนดขึ้นมา จึงแนะนำให้เตรียมกระเป๋าให้พร้อมไว้สองใบ ใบแรกจะเป็นกระเป๋าสำหรับคุณ ที่ควรมีถุงเท้าหนา เสื้อคลุม ลิปบาล์ม และอะไรก็ตามที่คุณต้องการขณะคลอดลูก และกระเป๋าอีกหนึ่งใบเป็นสิ่งของที่คุณต้องการสำหรับลูกน้อยของคุณ 

สัปดาห์ที่ 38

ทารก: ขนอ่อนที่ปกคลุมร่างกาย, ขนอ่อนลานูโก (lanugo) ,ไขที่ปกคลุมทารก (vernix) จะหายไปในช่วงเวลานี้ ทารกจะได้รับสารภูมิคุ้มกันจากแม่เพื่อป้องกันการเป็นโรคต่างๆ ช่วงนี้ทารกจะเจริญเติบโตช้าลง แต่เซลล์ไขมันใต้ผิวหนังจะสะสมไขมันและมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ทารกมีชีวิตอยู่รอดได้ภายหลังจากคลอดจากมดลูกแล้ว  ช่วงนี้ลูกน้อยของคุณแทบจะพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว

คุณแม่: ร่างกายคุณจะไม่ใหญ่ขึ้นแล้ว แต่จะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวมากขึ้น อย่าลืมเตรียมกระเป๋าที่ใส่ของที่จำเป็นสำหรับการคลอดไว้ คุณจะเหลือเวลาอีกไม่นานเท่านั้นก็จะคลอดแล้ว มากถึง 95% ของทารกจะคลอดภายในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ของวันครบกำหนดคลอดที่แพทย์ได้แจ้งไว้

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: คุณอาจจะต้องพิจารณาว่า ถ้าลูกคุณเป็นผู้ชาย คุณจะให้แพทย์ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือไม่ (Circumcision) การขลิบไม่ใช่เรื่องจำเป็นทางการแพทย์มากนัก เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาหรือวัฒนธรรม

สัปดาห์ที่ 39

ทารก: กล้ามเนื้อแขนและขาของทารกแข็งแรง เล็บมือและเล็กเท้างอกสมบูรณ์แล้ว หัวของทารกจะอยู่ในกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ การที่ทารกกลับหัวลงมา จะทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้นเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณแม่: คุณจะรู้สึกว่าทารกตัวค่อนข้างใหญ่และอึดอัด มดลูกจะใหญ่เต็มพื้นที่กระดูกเชิงกรานและส่วนใหญ่ของหน้าท้อง ทำให้มีแรงผลักดันทุกสิ่งทุกอย่างออกไป ศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของคุณจะเปลี่ยนไป ดังนั้นคุณอาจรู้สึกขยับร่างกายลำบาก งุ่มง่าม มากกว่าปกติ

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: เฝ้าติดตามสัญญาณของการคลอด แต่ไม่จำเป็นต้องจ้องติดตามหรือสังเกตตนเองตลอดเวลามากเกินไป มันอาจจะคลอดในเร็วๆ นี้ หรืออาจจะเป็นสัปดาห์ถัดไปก็ได้ สำหรับความแตกต่างบางประการของอาการเจ็บครรภ์เตือน กับอาการเจ็บครรภ์คลอดจริง คือ อาการเจ็บครรภ์เตือน (false labor pains) จะมีอาการปวดที่บริเวณท้องส่วนล่างและขาหนีบ ขณะที่อาการเจ็บครรภ์คลอดจริง  (true labor pains) อาจจะเริ่มจากหลังส่วนล่าง และอาจแพร่กระจายไปทั่วทั้งช่องท้อง อาการเจ็บครรภ์คลอดจริงจะปวดมากขึ้น แรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะไม่หายไป แม้ว่าจะรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือนอนราบก็ตาม…

สัปดาห์ที่ 40

ทารก:  ทารกเพศชายมักมีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าทารกเพศหญิงเล็กน้อย ขนอ่อนลานูโก (lanugo) จะหลุดร่วงมากขึ้น แต่อาจมีบางส่วนหลงเหลือที่ตัวทารกขณะคลอด โดยจะหลงเหลืออยู่ที่บริเวณหัวไหล่ รอยพับของผิวหนัง และด้านหลังของหู

คุณแม่: เกือบจะถึงเวลาแล้ว! การคลอดควรเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แต่ไม่ต้องกังวลหากถึงวันครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่คลอด เพราะมีเพียง 5% ของทารกเท่านั้นที่คลอดตรงพอดีกับวันครบกำหนดที่คาดการณ์ไว้ ช่วงนี้คุณจะนอนหลับยากขึ้น เพราะคุณจะหาท่าทางที่นอนหลับสบายได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังแนะนำให้พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้วางเท้าสูงถ้าสามารถทำได้

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะอยู่ในช่วงคลอดแล้ว แนะนำว่าอย่ารับประทานอาหารอะไรอีก เนื่องจากอาหารเพียงเล็กน้อยในกระเพาะอาหารจะทำให้คุณมีอาการคลื่นไส้

เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายคุณในช่วงเวลานี้

ทารกยังมีการเจริญเติบโตจนมีร่างกายที่สมบูรณ์ ปอดทารกจะใกล้พัฒนาเต็มที่แล้ว ปฏิกิริยาการตอบสนองจะทำงานประสานกัน ทารกสามารถกระพริบตา ปิดตา หมุนศีรษะ กำมือแน่นได้ และตอบสนองต่อเสียง แสง และสัมผัส

คุณควรรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในทุกๆ วัน ทารกจะกลับหัวลงมาเพื่อเตรียมคลอด โดยกลับหัวลงมาที่บริเวณเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอดทางช่องคลอด

https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-35-40#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
35 Weeks Pregnant: Symptoms, Baby Development, and More. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/35-weeks-pregnant-4159237)
35 Weeks Pregnant: Symptoms, Pictures & More. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/35-weeks-pregnant)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม