กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัปดาห์ที่ 13-16 ของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สัปดาห์ที่ 13-16 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงสัปดาห์ที่ 13-16 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเริ่มรู้สึกว่าทารกดิ้นครั้งแรก แพทย์จะสามารถฟังเสียงหัวใจของทารกได้ แขนขาเริ่มเคลื่อนไหว มีการหาว มีการเคลื่อนไหวที่ใบหน้า อวัยวะเพศและอวัยวะสืบพันธุ์พัฒนาสมบูรณ์และสามารถระบุเพศของทารกได้ในช่วงเวลานี้

สัปดาห์ที่ 13

ทารก: ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว! ดวงตาจะเคลื่อนเข้าสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม ข้อเท้าและข้อมือถูกสร้างขึ้นเรียบร้อย ในช่วงนี้ศีรษะจะยังมีขนาดใหญ่อยู่ สำหรับส่วนอื่นที่เหลือของร่างกายกำลังเริ่มตามมาติดๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: มดลูกจะขยายขนาดอย่างมาก โดยจะเติมเต็มบริเวณอุ้งเชิงกรานและเริ่มโตขึ้นทางด้านบนภายในช่องท้อง มันอาจรู้สึกเหมือนลูกบอลเรียบและนุ่ม หากก่อนหน้านี้น้ำหนักตัวคุณไม่เพิ่มอย่างที่ควรจะเป็นเพราะว่ามีอาการแพ้ท้อง ช่วงเวลานี้จะเป็นเวลาที่คุณจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น  

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: แนะนำให้แฟนของคุณไปพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามพร้อมคุณ เพราะเค้าจะมีโอกาสได้ฟังเสียงหัวใจทารกในช่วงนี้

สัปดาห์ที่ 14

ทารก: หูของทารกจะขยับจากคอไปอยู่ที่ด้านข้างของศีรษะ และคอจะยาวขึ้น เห็นคางชัดเจนขึ้น เห็นโครงสร้างใบหน้าและลักษณะรอยนิ้วมือที่ชัดเจน โดยทารกกำลังเริ่มตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก ถ้าหน้าท้องถูกผลัก (ถูกกระตุ้น) ทารกจะพยายามขยับตัวหนี

คุณแม่: ช่วงเวลานี้คุณอาจจำเป็นต้องใส่ชุดคลุมท้องแล้ว ผิวหนังและกล้ามเนื้อจะเริ่มยืดออกเพื่อรองรับการเติบโตของทารกในครรภ์ คุณจะเริ่มมีอาการท้องผูก เพราะฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้การเคลื่อนไหวลำไส้ช้าลง

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: พยายามลดอาการท้องผูก โดยการออกกำลังกายปานกลาง ดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอตลอดวัน รับประทานผักและผลไม้เยอะๆ

สัปดาห์ที่ 15

ทารก: ร่างกายของทารกจะถูกปลกคลุมไปด้วยขนนุ่มละเอียดบางๆ หรือเรียกว่า “ลานูโก” (lanugo) และขนนี้จะหายไปเมื่อคลอดแล้ว คิ้วและเส้นผมที่ศีรษะจะเริ่มงอกขึ้น กระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น และทารกอาจดูดนิ้วหัวแม่มือของตนเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: คุณจะรู้สึกได้ว่ามดลูกอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 3-4 นิ้ว บางครั้งในช่วง 5 สัปดาห์ถัดไป คุณจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมของทารก (เรียกว่าการตรวจ quadruple marker screening test) นอกจากนี้คุณอาจได้รับคำแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำไปตรวจ โดยจะนำน้ำคร่ำปริมาณเล็กน้อยไปตรวจในช่วงสัปดาห์นี้จนถึงสัปดาห์ที่ 18 คุณสามารถพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการตรวจที่คุณต้องการตรวจได้

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: แนะนำให้เริ่มเรียนรู้การนอนหลับด้วยการนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะการไหลเวียนเลือดจะดีขึ้นหากนอนฝั่งนี้ คุณสามารถลองหยิบหมอนวางไว้ข้างหลังและระหว่างขาระหว่างการนอน

สัปดาห์ที่ 16

ทารก: คุณอาจได้ยินเสียงหัวใจของทารกเมื่อไปตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก ขนละเอียดบางๆ ที่เรียกว่า ลานูโก อาจงอกขึ้นที่ศีรษะ แขนและขามีการเคลื่อนไหว และระบบประสาทกำลังทำงานในช่วงนี้

คุณแม่: ภายในไม่กี่สัปดาห์ถัดไป คุณจะเริ่มรู้สึกว่าทารกมีการเคลื่อนไหว หรือทารกดิ้นครั้งแรก เราเรียกว่า quickening โดยเมื่อเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้คุณรู้ว่านี่คือทารกในครรภ์ของคุณ ร่างกายของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ปริมาณเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้นเพื่อไปเลี้ยงทารกที่กำลังเติบโต ซึ่งอาจทำให้คุณมีเลือดกำเดาไหลง่าย และคุณอาจเห็นเส้นเลือดขอดที่ขาชัดเจนขึ้น แต่ข่าวดีระหว่างนี้คือ มดลูกของคุณจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้คุณไม่รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยเหมือนช่วงแรก

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ถ้าคุณเริ่มเห็นเส้นเลือดขอดที่ขา คุณอาจจำเป็นต้องสวมถุงน่องที่กระชับ, วางเท้าให้สูงขึ้นหากสามารถทำได้ และออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด

เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายของคุณ

นิ้วมือและนิ้วเท้าเจริญเติบโตชัดเจน มีเปลือกตา คิ้ว ขนตา เล็บ และผม แล้ว กระดูกและฟันแข็งแรงมากขึ้น ทารกสามารถดูดนิ้วหัวแม่มือได้แล้ว มีการหาว และมีการเคลื่อนไหวที่ใบหน้า

อวัยวะสืบพันธุ์และอวัยวะเพศของทารกได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยแพทย์สามารถมองเห็นได้แล้วว่าทารกในครรภ์เป็นเพศชายหรือหญิง ผ่านการตรวจอัลตราซาวด์ แต่ถ้าคุณยังไม่ต้องการรู้เพศของทารก คุณก็สามารถแจ้งแพทย์ได้

https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-13-16#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
16 Weeks Pregnant: Symptoms, Baby Development, and More. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/16-weeks-pregnant-4158998)
13 weeks pregnant: Symptoms, hormones, and baby development. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/300000)
16 weeks pregnant: Symptoms, baby development, and things to do. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/301481)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
แฝดแท้หรือแฝดเทียม? การแยกประเภทของฝาแฝด
แฝดแท้หรือแฝดเทียม? การแยกประเภทของฝาแฝด

คุณไม่สามารถบอกได้แค่จากการดูเสมอไป

อ่านเพิ่ม