dkiในการนับอายุของการตั้งครรภ์ แพทย์จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของรอบประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นวันที่ 1 ดังนั้นในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 จะยังไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น จนกระทั่งผ่านวันที่ 14 ที่มีไข่ตก ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 หากไข่มีการปฏิสนธิกับอสุจิก็จะกลายเป็นตัวอ่อน และพร้อมที่จะฝังตัวที่มดลูกในสัปดาห์ที่ 4 ต่อไป และคุณอาจพบเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย หรือที่เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก อันเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนที่มดลูกอีกด้วย
ถ้าคุณกำลังเป็นคุณแม่มือใหม่ หรือกำลังพยายามตั้งครรภ์อยู่ คุณอาจมีคำถามมากมายหลายข้อเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น รูปร่างของฉันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง? จะเกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายบ้าง? ข้อมูลต่อไปนี้จะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะพบในสัปดาห์ต่างๆ เพื่อช่วยชี้แนะคุณได้ตลอดช่วงเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ ทำให้คุณมีความมั่นใจ และมีความพร้อมสำหรับการเป็นแม่มากยิ่งขึ้น ในแต่ละสัปดาห์จะมีข้อมูลเกี่ยวกับร่างกายของคุณและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อทารก ซึ่งคุณสามารถใช้ได้ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ เรามาเริ่มเรียนรู้กันเลย
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สัปดาห์ที่ 1 และ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร?
ทารก: ช่วงเวลานี้ยากที่จะรู้ได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ดังนั้นแพทย์จะคำนวณระยะเวลาของการตั้งครรภ์โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดของคุณ ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณ จะเริ่มนับว่าคุณมีการตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนที่คุณตั้งครรภ์จริง
คุณแม่: เมื่อเริ่มต้นรอบประจำเดือนจะมีไข่อยู่ภายในถุงน้ำที่เรียกว่าฟอลลิเคิลประมาณ 20 ใบ ถ้ารอบประจำเดือนของคุณคือ 28 วัน วันที่ 14 ของรอบประจำเดือนโดยประมาณคือวันที่มีไข่ตก โดยไข่จะถูกปล่อยออกจากฟอลลิเคิลผ่านมายังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ ในวันที่ 14 หรือมากกว่านั้นเล็กน้อยจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมสำหรับการปฏิสนธินั่นเอง ถ้าคุณกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะมีเพศสัมพันธ์ ถ้าไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ไข่จะเคลื่อนที่ต่อไปยังมดลูก
อย่าผิดหวังหากคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ตั้งแต่ครั้งแรก เพราะการตั้งครรภ์ขึ้นกับปัจจัยด้านอายุของแม่, แต่ละเดือนมีความแตกต่างกัน, และโอกาสของการตั้งครรภ์จะอยู่มีเพียง 25% ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องพยายามมากกว่าหนึ่งครั้ง
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: อย่าลืมไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคทางพันธุกรรม และอันตรายจากสภาพแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะให้กำเนิดลูกที่มีสุขภาพแข็งแรง ที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องรับประทานกรดโฟลิกเสริมวันละ 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) การรับประทานกรดโฟลิกเป็นเวลา 2-3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์จะมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติในทารก ได้แก่ หลอดประสาทไม่ปิด เช่น spina bifida คือความบกพร่องของกระดูกไขสันหลังที่มีถุงยื่นผ่านจากกระดูกไขสันหลังออกมา
สัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร?
ทารก: ขอแสดงความยินดีด้วย! ถ้าไข่ของคุณได้รับการผสมกับอสุจิอย่างสมบูรณ์แล้ว ตัวอ่อนของคุณจะมีขนาดเล็กมากๆ ประมาณขนาดของหัวเข็ม ซึ่งจะยังมองไม่ออกว่าเป็นทารก แต่เป็นเพียงกลุ่มของเซลล์ประมาณ 100 เซลล์ที่กำลังแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ที่ผนังชั้นนอกของเซลล์จะกลายเป็นรก (placenta) ส่วนผนังชั้นในจะกลายเป็นตัวอ่อน (embryo)
คุณแม่: คุณจะยังไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในช่วงเวลานี้
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: หากไม่สามารถรอการตรวจกับแพทย์ได้ แนะนำซื้อคุณซื้อที่ตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจด้วยตนเองที่บ้าน นอกจากนั้นยังมีการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดที่ทำได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลด้วย ซึ่งคุณสามารถทราบผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้มั่นใจว่าการตรวจด้วยตนเองจะให้ผลที่แม่นยำ แนะนำให้อ่านวิธีการใช้เครื่องมือตรวจและทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระหว่างการตรวจต้องสะอาด
สัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร?
ทารก: ตอนนี้ไข่ที่ปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว จะมีการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก เราเรียกว่าการฝังตัว (implantation)
คุณแม่: ในช่วงนี้เป็นช่วงที่คุณอาจคิดว่าประจำเดือนกำลังจะมา แต่ถ้าประจำเดือนเกิดไม่มาขึ้นมา ให้สงสัยไว้ว่าอาจจะเป็นสัญญาณเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ก็ได้ คุณอาจพบเลือดปริมาณเล็กน้อยออกทางช่องคลอด (เลือดล้างหน้าเด็ก) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะตัวอ่อนมีการฝังตัวที่มดลูก ในช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง แต่ถุงน้ำที่หุ้มตัวอ่อน (amniotic cavity) จะมีของเหลวอยู่ภายในรวมถึงมีรกเกิดขึ้น โดยรกที่อยู่ภายในมดลูกจะทำหน้าที่นำออกซิเจนและสารอาหารให้แก่ทารก
เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายจากกลุ่มของอาหารที่แนะนำ และให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพออย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน แต่คุณไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพิ่มเป็นสองเท่าสำหรับคนสองคน เพราะจริงๆ แล้วคุณต้องการพลังงานเพิ่มเพียง 300 แคลอรี่ต่อวันในขณะที่ตั้งครรภ์เท่านั้น และไม่ต้องกังวลเกินไปว่าทารกจะได้รับอาหารไม่เพียงพอจากการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณรับประทานอาหารเพียงพอ ทารกจะได้รับสารอาหารแน่นอน
เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายบ้าง
ไข่ที่ได้รับการผสมจะเติบโตขึ้น และมีถุงน้ำหุ้มตัวอ่อนเกิดขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของตัวอ่อน หรือเรียกอีกอย่างว่า ถุงน้ำคร่ำ (amniotic sac)
นอกจากนี้ “รก” จะเริ่มมีการสร้างขึ้นในช่วงนี้ เป็นอวัยวะรูปร่างกลม ทำหน้าที่นำสารอาหารจากคุณไปสู่ทารก และนำของเสียที่ทารกขับถ่ายออกจากทารกด้วย
ในช่วงนี้จะเริ่มมีโครงหน้าเกิดขึ้น โดยเริ่มจากวงกลมสีดำขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของดวงตา มีการพัฒนาของปาก ขากรรไกรล่างและลำคอ เริ่มมีเซลล์เม็ดเลือดและมีการไหลเวียนเลือดเกิดขึ้น
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 1 เดือนแรก ทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 1/4 นิ้ว ซึ่งเล็กกว่าเมล็ดข้าว
ที่มา : https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-1-4#1