กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิตามินดีกับการลดน้ำหนัก

วิตามินดีสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินดีกับการลดน้ำหนัก

วิตามินดีสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

วิตามินดีถูกเรียกว่าเป็นตัวช่วยลดน้ำหนักตามธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าวิตามินดีที่ต่ำกว่าปกติเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน ขณะที่การกินวิตามินดีเป็นอาหารเสริมจะช่วยลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้คงที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณประโยชน์ของวิตามินดีกับการลดน้ำหนัก

นี่คือการค้นพบที่สำคัญของวิตามินดีกับน้ำหนักตัว

1. การอดอาหาร

ในปี 2010 มีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารโภชนาการทางการแพทย์ของอเมริกา(American Journal of Clinical Nutrition)พบว่าการเพิ่มระดับของวิตามินดี(และการกินแคลเซียมจากนม)เพิ่มโอกาสที่น้ำหนักจะลดลงขณะอดอาหาร โดยใช้ผู้เข้าร่วมวิจัย 126 คนเป็นผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินและติดตามน้ำหนักในช่วง 6 เดือน

2. การป้องกันน้ำหนักเพิ่ม

วิตามินดีช่วยขัดขวางไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งมักเกิดในผู้หญิงวัยกลางคน ในปี 2007 มีการศึกษาที่เผยแพร่ในจดหมายเหตุอายุรศาสตร์(Archives of Internal Medicine) ศึกษาในหญิงหมดประจำเดือน 36,282 คน โดยกลุ่มหนึ่งให้กินวิตามินดีขนาด 400 หน่วย และแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมเทียบกับอีกกลุ่มที่ให้กินยาหลอกโดยกินประจำทุกวันเป็นเวลา 3 ปี พบว่ากลุ่มที่กินอาหารเสริมและไม่เคยกินแคลเซียมมาก่อนมีโอกาสน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่กินยาหลอก 11%

3. ความแข็งแรงของหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิตามินดีมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก จากการสึกษาในปี 2007 ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารโภชนาการทางการแพทย์ของอเมริกา(American Journal of Clinical Nutrition) ได้ศึกษาผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจำนวน 63 คน ให้เข้าหลักสูตรการลดน้ำหนัก และให้กินวิตามินดี 400 ยูนิตและแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมทุกวันตลอดหลักสูตรการลดน้ำหนัก 15 สัปดาห์พบว่าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างมาก(เมื่อเทียบกับยาหลอก)

การใช้วิตามินดีเพื่อลดน้ำหนัก

อาหารเสริมที่มีทั้งวิตามินดีและแคลเซียมนั้นอาจมีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก แต่สถาบันโภชนาการแห่งชาติยังไม่ยืนยันว่าการกินวิตามินดีเพียงอย่างเดียว(แทนที่จะกินร่วมกับแคลเซียม)จะช่วยให้น้ำหนักลดได้ ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะพบได้ในอาหารบางอย่าง(เช่น ปลาที่มีไขมัน และนมที่เสริมสารอาหาร) และสามารถสังเคราะห์ได้เองเมื่อร่างกายได้รับแสงแดด แต่การกินวิตามินดีเสริมจะช่วยเพิ่มระดับของวิตามินดีได้ดีกว่า

แม้ว่าวิตามินดีอาจไม่ได้ทำให้น้ำหนักลดด้วยตัวมันเองแต่วิตามินดีอาจช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนักด้วยการสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม (เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน วิตามันดียังช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย) หากต้องการลดน้ำหนักให้สำเร็จต้องกินวิตามินดีเสริมร่วมกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

หากคิดจะกินวิตามินดีเป็นอาหารเสริม ต้องระวังไม่ให้กินวิตามินดีมากเกินไปเพราะทำให้อาเจียน ความหนาแน่นของกระดูกลดลง และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆอีก และต้องทราบว่าการกินวิตามินดีเป็นอาหารเสริมนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัยในสตรีมีครรภ์ มารดาที่ให้นมบุตร เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ หากยังไม่แน่ใจว่าควรกินวิตามินดีเป็นอาหารเสริมดีหรือไม่ควรปรึกษาแพทย์และการรักษาด้วยตนเอง ไม่ไปพบแพทย์หรือไปช้าอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mason C, Vitamin D3 supplementation during weight loss: a double-blind randomized controlled trial (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24622804)
Robert Preidt, Vitamin D Supplements Might Help Some Lose Weight (https://www.webmd.com/diet/obesity/news/20150508/vitamin-d-supplements-might-help-some-lose-weight#1)
Jasmin Collier, Belly fat linked to vitamin D deficiency (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321851.php#1) 21 May 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป