กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การดูตารางค่าความดันโลหิต

วิธีดูตารางค่าความดันโลหิต หาคำตอบว่า ความดันโลหิตตัวบน-ตัวล่าง คืออะไร ตัวเลขไหนที่ควรกังวล และเท่าไรจึงจะสบายใจได้
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดูตารางค่าความดันโลหิต

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ค่าความดันโลหิต เป็นค่าตัวเลขบอกการทำงานของหัวใจในขณะนั้นว่า มีแรงดัน หรือการสูบฉีดเลือดมากน้อยเท่าไร ประกอบด้วยค่าตัวเลข 2 ค่า ได้แก่ ค่าความดันโลหิตตัวบน และค่าความดันโลหิตตัวล่าง
  • ลักษณะของตัวเลขความดันโลหิตที่แสดงออกมา คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน/ค่าความดันโลหิตตัวล่าง และมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
  • ค่าความดันโลหิตตัวบนปกติจะอยู่ที่ 120-129 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่างปกติจะอยู่ที่ 80-84 มิลลิเมตรปรอท
  • ตัวชี้วัดว่า ค่าความดันของคุณอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีหรือไม่ จะใช้ค่าความดันโลหิตของผู้ที่มีอายุ 18 ปีเป็นเกณฑ์ เพราะช่วงอายุ 18 ปี ถือเป็นวัยที่มีหลอดเลือดและหัวใจสมบูรณ์ที่สุด
  • ค่าความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อความปลอดภัย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหัวใจ และวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจได้ที่นี่)

ค่าความดันโลหิต เป็นค่าที่บอกถึงการทำงานของหัวใจว่า มีแรงดัน หรือสูบฉีดเลือดได้มาก หรือน้อยอย่างไร โดยมี 2 ค่าหลัก ได้แก่ 

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure: SBP) 
  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure: DBP) 

ยกตัวอย่างเช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน มีค่าแรงดัน 120 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่าง มีค่าแรงดัน 80 มิลลิเมตรปรอท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในเชิงการแพทย์ ค่าความดันโลหิตเป็นตัวบอกถึงความยืดหยุ่นของเส้นเลือด เพราะหลักการทำงานของเครื่องวัดความดันจะอาศัยแรงบีบของเครื่องบีบจนเส้นตีบลง 

หากเส้นเลือดมีสารจำพวกไขมันแทรกอยู่ในผนังเส้นเลือดจะทำให้เส้นเลือดแข็งตัวขึ้น ทำให้เครื่องต้องใช้แรงบีบรอบแขนมากขึ้น ส่งผลให้อ่านค่าความดันได้สูงขึ้นนั่นเอง

ที่น่าสนใจคือ คนส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ตนเองควรมีค่าความดันโลหิตเท่าไรจึงจะปกติ หรืออยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ซึ่งสามารถอ้างอิงกับตารางแสดงค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมจากสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ฉบับปรับปรุง 2558 ได้เลย

เปรียบเทียบค่าความดันโลหิตในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป

เมื่อค่าความดันโลหิต SBP และ DBP อยู่ต่างระดับกัน ให้ถือระดับที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์ โดยรายละเอียดค่าความดันโลหิตในระดับต่างๆ มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ค่าความดันโลหิตระดับเหมาะสม (Optimal)

  • SBP น้อยกว่า 120
  • DPB น้อยกว่า 80

ค่าความดันโลหิตปกติ (Normal)

  • SBP 120-129
  • DPB 80/84

ความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปกติ แต่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (High normal)

  • SBP 130-139
  • DPB 85-89

โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 1 (Grade 1 hypertension: Mild)

  • SBP 140-159
  • DPB 90-99

โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 2 (Grade 2 hypertension: Moderate)

  • SBP 160-179
  • DPB 100-109

โรคความดันโลหิตสูง ระดับที่ 3 (Grade 3 hypertension: Severe)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • SBP มากกว่า หรือเท่ากับ 180
  • DPB มากกว่า หรือเท่ากับ 110

ความดันโลหิตตัวบนสูง (Isolated Systolic Hypertension: ISH)

  • SBP มากกว่า หรือเท่ากับ 140
  • DPB น้อยกว่า 90

จากข้อมูลจะเห็นว่า ค่าความดันโลหิตปกตินั้น ความดันโลหิตตัวบนจะอยู่ในช่วง 120-129 มิลลิเมตรปรอท ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่างต้องมีค่า 80-84 มิลลิเมตรปรอท 

หากเกินกว่านี้จะถือว่า อยู่ในภาวะที่มีความดันโลหิตสูง แต่ยังไม่ถือว่าเป็นโรค คือช่วง 130-139/85-89 มิลลิเมตรปรอท 

ระดับความดันโลหิตที่เสี่ยงต่อโรคต่างๆ 

หากค่าความดันโลหิตสูงกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะเริ่มถือว่า อยู่ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 3 ระดับความรุนแรง คือ

  • โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่รุนแรง ค่าความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มิลลิเมตรปรอท 
  • โรคความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงปานกลาง ค่าความดันโลหิตอยู่ในช่วง 160-179/100-109 มิลลิเมตรปรอท
  • โรคความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง ค่าความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า หรือเท่ากับ 180 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่างมากกว่า หรือเท่ากับ 110 

ซึ่งมีบางกรณีที่มีเพียงค่าความดันโลหิตตัวบนสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท แต่ตัวล่างน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่า อยู่ในภาวะความดันโลหิตตัวบนสูงเพียงอย่างเดียว หรือเรียกว่า "ISH"

ข้อควรระวังเกี่ยวกับค่าความดันโลหิตสูง

หากค่าความดันโลหิตตัวบนกับตัวล่างอยู่ต่างระดับกัน ให้ยึดค่าที่รุนแรงกว่าเป็นเกณฑ์ เช่น ค่าความดันโลหิต 165/85 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่าอยู่ในระดับโรคความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงปานกลางแล้ว ถึงแม้ค่าความดันโลหิตตัวล่างจะอยู่ในระดับภาวะความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ก็ตาม

การวัดความดันโลหิตเพื่อดูว่า สุขภาพยังดีอยู่หรือไม่นั้น มักใช้ความดันโลหิตของคนอายุ 18 ปีเป็นเกณฑ์ เนื่องจากช่วงอายุ 18 ปี ถือเป็นวัยที่มีเส้นเลือดและหัวใจสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นหากร่างกายสุขภาพแข็งแรงก็ควรมีค่าความดันโลหิตพอๆ กับช่วงอายุ 18 ปี 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้บางคนอาจมีค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่าปกติ ในทางการแพทย์นั้น หากมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ไม่มีอาการซีด หม้ามืดบ่อย หรือเป็นลมหมดสติ ก็ถือว่า สุขภาพร่างกายปกติ ไม่มีอันตรายอะไร 

เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น ผู้หญิงวัยรุ่นมักจะมีค่าความดันโลหิตต่ำมากในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกายทำงานพร้อมกัน 

แต่ในส่วนค่าความดันโลหิตที่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด สามารถเชื่อถือได้ว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงผิดปกติจริงๆ

หากคุณมีค่าความดันโลหิตสูง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจพัฒนาไปเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตันได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
american college of cardiology ACC/AHA guideline on the primary prevention of Cardiovascular Disease 2019 (https://www.acc.org/latest-in-cardiology/ten-points-to-remember/2019/03/07/16/00/2019-acc-aha-guideline-on-primary-prevention-gl-prevention), 2019.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย,การประเมินความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง,แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (Thai guidelines on the treatment of hypertension), ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม