1. คุณกำลังมีอาการหรืออาการแสดงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือไม่?
คุณกำลังรู้สึกอ่อนเพลียง่าย หิวน้ำตลอดเวลา ใช้ห้องน้ำบ่อยขึ้น มองเห็นไม่ชัดหรือไม่? คุณอาจกำลังมีอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงถ้ามีอาการดังกล่าว โดยหากคุณมีอายุมากกว่า 45 ปี เคยได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย มีเชื้อชาติแอฟริกัน อเมริกัน ชนพื้นเมืองอลาสก้า อินเดียแดง เอเชีย-อเมริกัน กลุ่มชาวฮิสแปนิกหรือ Latino หรือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิก คุณควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด รายงานสถิติโรคเบาหวานระดับชาติพบว่ามีคนอเมริกันประมาณ 29.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 9.3% ของประชากรทั้งหมดในประเทศเป็นโรเบาหวาน และแม้ว่าจะมีประชากร 21 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว แต่ยังมีอีก 8.1 ล้านคนที่ยังคงไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน (27.8% ของผู้ป่วยเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค) อาการของโรคเบาหวาน ขึ้นกับแต่ละบุคคลแต่ยิ่งสามารถตรวจพบโรคได้เร็วมากขึ้นเท่าไหร่ก็เป็นการดีเท่านั้น ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการต่างๆ ต่อไปนี้
2. ปัสสาวะบ่อย
การปัสสาวะบ่อยคือการมีปริมาณปัสสาวะมากกว่า 2.5 ลิตรต่อวัน (คนปกติมีปริมาณปัสสาวะประมาณ 1.5 ลิตรต่อวัน) ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายพยายามกำจัดน้ำตาลส่วนเกิน โดยเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะทำการดูดน้ำจากเนื้อเยื่อรอบข้างเพื่อละลายน้ำตาลในเลือด เพื่อทำให้ร่างกายสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะ ทำให้เซลล์ต่างๆ ขับน้ำออกมาสู่กระแสเลือดเพื่อช่วยขับน้ำตาลออก และไตจะไม่สามารถดูดสารน้ำเหล่านี้กลับหลังจากการกรองได้ ทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ การที่ปัสสาวะบ่อยยังทำให้เกิดการขาดน้ำในร่างกาย ทำให้รู้สึกหิวน้ำบ่อยขึ้นได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3. หิวน้ำบ่อย
การหิวน้ำบ่อยเป็นอาการที่เกิดร่วมกับการมีปัสสาวะบ่อย เพราะเมื่อร่างกายดูดน้ำอกจากเนื้อเยื่อต่างๆ เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ จะทำให้มีความต้องการดื่มน้ำมากขึ้น หลายคนอธิบายอาการนี้ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยไม่ขึ้นกับเงื่อนไขใดๆ ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายยังคงชุ่มชื้นตลอดเวลาจึงต้องมีการดื่มน้ำมากขึ้น และหากน้ำที่รับประทานนั้น มีน้ำตาลผสมอยู่เช่นโซดา ชาเย็น หรือน้ำมะนาว ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลสูงมากขึ้น
4. อ่อนเพลียมาก
ร่างกายมนุษย์ก็เหมือนรถ ที่ต้องการแหล่งพลังงานในการทำงาน โดยแหล่งพลังงานหลักของร่างกายก็คือน้ำตาลกลูโคส อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยให้กลายเป็นน้ำตาล ก่อนที่ฮอร์โมนอินซูลินซึ่งหลั่งออกมาจากตับอ่อนจะทำให้เซลล์ต่างๆ ดูดซึมน้ำตาลเหล่านี้ไปใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อเป็นเบาหวาน จะทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้เหมือนปกติ ซึ่งมักเกิดจากการที่เซลล์เกิดการดื้อต่อฮอร์โมน ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายขาดน้ำตาลที่จะนำมาใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจึงมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึ่งบางครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิดว่าอาการอ่อนเพลียดังกล่าวเกิดจากความหิว ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารมากขึ้น
5. รับประทานอาหารมากขึ้น
การรับประทานอาหารมากขึ้นมักเกิดร่วมกับอาการอ่อนเพลีย และการขาดอาหารของเซลล์ จากการที่เซลล์ต่างๆ มีการดื้อต่อฮอรโมนอินซูลินในร่างกายทำให้น้ำตาลอยู่ในกระแสเลือด แต่เซลล์ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้ร่างกายกระตุ้นฮอร์โมนของการหิวส่งสัญญาณไปที่สมองว่าร่างกายกำลังหิว ซึงการรับประทานอาหารที่มากขึ้นอาจทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้
6. อาการชาหรือรู้สึกแปล๊บตามมือหรือเท้า
อาการชา หรือรู้สึกแปล๊บคล้ายถูกเข็มจิ้ม ตามแขนและขาเป็นอาการในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท (Neuropathy) ซึ่งอาการในกลุ่มนี้มักค่อยๆ เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงนานๆ ซึ่งจะทำลายเส้นประสาท ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับ