การตรวจลูกอัณฑะด้วยตัวเอง How to Do a Testicular Self-Exam

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจลูกอัณฑะด้วยตัวเอง How to Do a Testicular Self-Exam

การตรวจลูกอัณฑะด้วยตัวเอง หรือ TSE (testicular self-exam) เป็นวิธีการอันแสนง่ายที่หนุ่มๆ จะสามารถตรวจเช็คอัณฑะของตัวเองว่าไม่มีสิ่งใดผิดปกติอย่างก้อนเนื้อหรือเนื้องอกซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งลูกอัณฑะ

การตรวจลูกอัณฑะด้วยตัวเอง หรือ TSE จะช่วยให้คุณสามารถตรวจเช็คตัวเองได้ว่าอาจมีสัญญาณของมะเร็งหรือไม่ แม้มะเร็งลูกอัณฑะพบได้ไม่บ่อยนักในเด็กวัยรุ่นแต่จากสถิติพบว่ามะเร็งชนิดนี้พบได้บ่อยมากในชายอายุระหว่าง 15 – 35 ปี

สิ่งสำคัญคือคุณควรพยายามตรวจ TSE ทุกเดือนเพื่อให้คุณรู้สึกคุ้นเคยกับขนาดและรูปร่างปกติของอัณฑะของคุณเอง ซึ่งจะทำให้คุณสังเกตได้ง่ายขึ้นหากวันใดวันหนึ่งมีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น

การตรวจลูกอัณฑะด้วยตัวเองเป็นวิธีการอันแสนง่ายที่หนุ่มๆ จะสามารถตรวจเช็คอัณฑะของตัวเองว่าไม่มีสิ่งใดผิดปกติอย่างก้อนเนื้อหรือเนื้องอกซึ่งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็งลูกอัณฑะ

ขั้นตอนที่ 1 มาเริ่มกันเลย!

แนะนำให้เลือกเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเวลาที่ดีในการตรวจ TSE คือช่วงที่คุณกำลังอาบน้ำหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ เพราะเป็นเวลาที่ถุงอัณฑะมีการคลายตัวมากที่สุดทำให้ง่ายต่อการลูบคลำหาความผิดปกติภายใน ซึ่งความผิดปกติหรือก้อนเนื้ออาจมีขนาดเล็กมากซึ่งมีขนาดประมาณเมล็ดข้าวหรือถั่วเขียว

ขั้นตอนที่ 2 การวางมือ

แนะนำให้ตรวจเช็คอัณฑะทีละข้าง เริ่มด้วยการจับด้านบนของถุงอัณฑะเบาๆ โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนและนิ้วมือเหลืออยู่ด้านล่าง ลูบคลำเบาๆ เพื่อไม่ให้ลูกอัณฑะขยับหรือเคลื่อนย้ายในระหว่างการตรวจ

ระหว่างนิ้วแต่ละนิ้วคุณอาจรู้สึกได้ว่าสัมผัสโดนท่ออสุจิ ที่ทำหน้าที่เชื่อมลูกอัณฑะกับอวัยวะภายในร่างกายด้วย

ขั้นตอนที่ 3 การคลำหาก้อนเนื้อ

ใช้มือเปล่าของคุณโดยไล่นิ้วหัวแม่มือและนิ้วมือทั้งหมดลูบอัณฑะทั้งสองข้างเบาๆ จากบนลงล่าง พยายามคลำว่ามีก้อนเนื้อหรือตุ่มใดๆ หรือไม่ จากนั้นค่อยๆ ไล่นิ้วมือลูบทั้งด้านหน้าและด้านหลังของลูกอัณฑะให้ทั่ว บริเวณด้านหลังส่วนบนของลูกอัณฑะคุณจะสัมผัสได้ถึงหลอดเก็บอสุจิซึ่งจะรู้สึกเหมือนเป็นเนื้อนูนออกมาและคุณอาจรู้สึกเสียววาบเมื่อสัมผัส

แนะนำให้พบแพทย์โดยด่วยหากพบว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น ลูกอัณฑะมีลักษณะบวม มีก้อนเนื้อ หรือลูกอัณฑะมีขนาดหรือสีที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณรู้สึกเจ็บหรือปวดบริเวณขาหนีบ

การพบก้อนเนื้อหรือลูกอัณฑะมีลักษณะบวมนั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป อย่างไรก็ตามคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ซ้ำอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ มะเร็งลูกอัณฑะนั้นสามารถรักษาให้หายได้หากคุณสังเกตุพบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/tse.html


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Perform a Testicular Self-Exam: Advice from Urologist Philip Pierorazio. Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/testicular-cancer/how-to-perform-a-testicular-selfexam-advice-from-urologist-philip-pierorazio)
Testicular Exam: How To Do a Self-Exam & When To See a Doctor. WebMD. (https://www.webmd.com/men/testicular-exam#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)