ผมแห้ง (Dry hair)

ผมแห้ง ชี้ฟู มักเกิดจากการที่เส้นผมไม่สามารถรักษาความชื้น ส่วนมากเกิดจากการดูแลเส้นผมผิดๆ และสภาพแวดล้อม แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากโรคหรือภาวะบางอย่างก็ได้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผมแห้ง (Dry hair)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผมแห้งเสีย เกิดจากการที่เส้นผมสูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผมไม่มีน้ำหนัก ดูไม่เงางาม
  • สาเหตุของผมแห้งเสีย เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ไดร์เป่าผมร้อนเป็นประจำ สระผมบ่อยเกินไป อยู่ในอากาศร้อนเกินไป รวมถึงการทำสีผมด้วยสารเคมี
  • ปัญหาสุขภาพบางอย่าง ที่ทำให้ผมไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ เช่น โรค Anorexia Nervosa ภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Hypoparathyroidism) และ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • วิธีแก้ผมแห้งได้แก่ หลีกเลี่ยงการสระผมบ่อยเกินไป พยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่ให้ความชุ่มชื้นแก่เส้นผม หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผมบ่อยเกินไป เช่น ไดร์เป่าผล ที่ม้วนผม 
  • ดูแพ็กเกจบำรุงเส้นผมได้ที่นี่

ผมแห้ง (Dry hair) เกิดจากเส้นผมไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ ทำให้ผมเสียความเงางาม ชี้ฟู ไม่เรียบตรง ไร้ชีวิตชีวา และแห้งกร้าน ผมแห้งเกิดได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชายในทุกช่วงวัย แต่มักพบบ่อยมากที่สุดในผู้สูงอายุ

สาเหตุของผมแห้ง

มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดผมแห้งเสีย เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทรีตเมนต์บำรุงผม นวดศีรษะผ่อนคลายวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 387 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • สภาพแวดล้อม ได้แก่
    • การอยู่ในภูมิอากาศที่ร้อนและแห้ง

    • การตากแดดหรือตากลมเป็นเวลานาน

    • การว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีน หรือในน้ำทะเลบ่อยๆ
  • การดูแลเส้นผมที่อาจกระตุ้นให้ผมแห้งเสียได้ ได้แก่
    • การสระผมบ่อยเกินไป

    • การใช้แชมพู ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่มีฤทธิ์รุนแรง

    • การทำสี หรือใช้สารเคมีสัมผัสกับเส้นผม

    • การไดร์ผมเป่าแห้งเป็นประจำ

    • การใช้เครื่องม้วนผม หรือเครื่องหนีบผมไฟฟ้า
  • ปัญหาสุขภาพบางอย่าง ที่ทำให้ผมไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ ได้แก่
    • โรค Anorexia Nervosa : โรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลให้เส้นผมแห้ง เปราะ ขาดร่วง รวมถึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย

    • ภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Hypoparathyroidism) : ภาวะที่ต่อมพาราไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมที่บำรุงเส้นผม เล็บ และกระดูกในเลือดต่ำลง

    • ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) : ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผมแห้งเสีย ขาดง่าย

    • โรค Menkes Syndrome : โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่พบได้น้อย เกิดจากเซลล์ไม่สามารถดูดซึมทองแดง (Copper) ได้เพียงพอ ส่งผลให้สุขภาพผมเสีย

การวินิจฉัยภาวะผมแห้ง

หากเกิดอาการผมแห้งเสียอย่างรุนแรง และแม้จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือวิธีดูแลเส้นผมแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อตรวจสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ รวมถึงตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อหาความผิดปกติด้านสุขภาพ อย่างเช่นภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนพาราไทรอยด์ เป็นต้น

การรักษาอาการผมแห้ง

อาการผมแห้ง สามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น

  • หลีกเลี่ยงการสระผมทุกวัน เพราะแชมพูอาจทำลายน้ำมันที่เคลือบปกป้องเส้นผม ทำให้ผมแห้ง
  • ใช้แชมพูและครีมนวดผมที่เหมาะกับสภาพเส้นผม บำรุงผมด้วยครีมนวดทุกครั้งที่สระผม
  • ใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่ให้ความชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมจากสารเคมี
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหนีบ เครื่องม้วนผม ไดร์เป่าผม หรือโรลไฟฟ้า
  • ควรสวมหมวกเมื่อออกไปข้างนอก และหลีกเลี่ยงการตากแดดตากลมเป็นเวลานาน
  • หากว่ายน้ำ ควรสวมหมวกว่ายน้ำ เพื่อปกป้องเส้นผมจากคลอรีน

ในกรณีที่อาการผมแห้งเกิดจากปัญหาสุขภาพ แพทย์อาจให้ยาหรือใช้การบำบัดอื่นๆ เพื่อรักษาความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งจะทำให้สภาพเส้นผมดีขึ้นด้วย

ดูแพ็กเกจทรีตเมนท์บำรุงผม เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Valencia Higuera, What Causes Dry Hair? (https://www.healthline.com/symptom/dry-hair), May 2018
Dry Hair: Causes, Treatments, and Diagnosis. Healthline. (https://www.healthline.com/health/dry-hair)
12 home remedies for dry hair. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321850)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)