ความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาต่อการสื่อสาร และการทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ แต่ถ้าหากรักษาเร็ว ก็สามารถหายเป็นปกติได้
ความผิดปกติของการสื่อความหมาย (Disorder of Communication หรือ Communication Disorder) คือภาวะที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ สื่อความ ประมวลข้อมูล และทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ รวมถึงอาจทำผู้ป่วยมีความผิดปกติในการพูดและการใช้ภาษา หรือทำให้ความสามารถในการได้ยินและเข้าใจเนื้อหาผิดไปด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความผิดปกติของการสื่อความหมาย สามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ ดังนี้
- ความผิดปกติด้านการพูด : เป็นภาวะที่กระทบต่อการออกเสียงขณะพูด เช่น
- การออกเสียงผิดปกติ (Articulation Disorder) : คำพูดที่เปล่งออกมาจะไม่ชัดหรือไม่ถูกต้อง จนข้อความที่สื่อสารยากแก่การเข้าใจ
- การพูดติดอ่าง (Fluency Disorder) : การพูดด้วยความเร็วหรือจังหวะที่ผิดไปจากปกติ
- การมีเสียงผิดปกติ (Voice Disorder) : การมีระดับเสียง ความดัง และความยาวของคำพูดผิดปกติ
- ความผิดปกติด้านภาษา : เป็นภาวะที่กระทบต่อการใช้คำพูดหรือการเขียนเพื่อสื่อความหมาย ได้แก่
- สัทวิทยา หรือระบบเสียง : การใช้เสียงที่สร้างระบบภาษา
- ลักษณะโครงสร้าง : โครงสร้างและองค์ประกอบของคำ
- วากยสัมพันธ์ : วิธีการสร้างประโยค
- เนื้อหาของภาษา : ซึ่งส่งผลต่อความหมายของคำหรือประโยคที่สื่อสาร
- วิธีการใช้ภาษา : ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้ข้อความในการสื่อสารที่เหมาะสม
- ความผิดปกติด้านการได้ยิน : หมายถึง ภาวะหูหนวก หรือการได้ยินไม่ชัดเจน คนที่หูหนวกจะไม่สามารถใช้การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารได้ ส่วนคนที่มีการได้ยินไม่ชัดเจน จะมีความสามารถในการฟังอย่างจำกัด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร เพราะอาจส่งผลต่อความสามารถในการพูดและการใช้ภาษาด้วย
- ความผิดปกติด้านการประมวลข้อมูล : ส่งผลต่อการวิเคราะห์ ตีความ และการใช้ข้อมูลในการสื่อสาร
อาการของภาวะความผิดปกติของการสื่อความหมาย
อาการของโรคจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของความผิดปกติ ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่
- การพูดหรือออกเสียงซ้ำๆ
- การใช้คำผิดความหมาย
- ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- ไม่สามารถตีความหรือทำความเข้าใจข้อความได้
สาเหตุของภาวะความผิดปกติของการสื่อความหมาย
บ่อยครั้งที่ความผิดปกติของการสื่อความหมายเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็มีภาวะบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวได้ เช่น
- การมีพัฒนาการของสมองผิดปกติ
- การสัมผัสกับสารพิษบางชนิดของทารกขณะอยู่ในครรภ์
- ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- สมองได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน
- มีความผิดปกติของระบบประสาท
- เส้นเลือดในสมองแตก
- เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร
การวินิจฉัยภาวะความผิดปกติของการสื่อความหมาย
การวินิจฉัยภาวะนี้อย่างถูกต้องจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยการวินิจฉัยอาจประกอบไปด้วย
- การตรวจร่างกายอย่างละเอียด
- การทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อวัดทักษะการคิดและการให้เหตุผล
- การทดสอบการพูดและการใช้ภาษา
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- การสแกนคอมพิวเตอร์ (CT)
- การประเมินความคิดและพฤติกรรม
การรักษาโรคความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คนส่วนใหญ่ที่มีความผิดปกติของการสื่อความหมาย จะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการบำบัดด้านการพูดและการใช้ภาษา ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของความผิดปกติ หากโรคเกิดจากสาเหตุจำเพาะ เช่น การติดเชื้อ ก็ต้องรักษาที่สาเหตุนั้นก่อน
ในเด็กที่มีความผิดปกติ ควรรับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยนักอรรถบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสร้างจุดเด่น รวมถึงอาจให้ผู้ป่วยเรียนรู้รูปแบบการสื่อสารทางเลือกอื่นๆ หากจำเป็นด้วย เช่น การใช้ภาษาสัญลักษณ์ นอกจากนี้การบำบัดร่วมกันเป็นกลุ่มกับผู้ป่วยคนอื่นๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ลองทดสอบทักษะการสื่อสารของตนในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย
การป้องกันโรคความผิดปกติของการสื่อความหมาย
ภาวะความผิดปกติของการสื่อความหมายไม่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ เช่น การป้องกันไม่ให้สมองบาดเจ็บกระทบกระเทือน หรือการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อความผิดปกติดังกล่าวได้
ที่มาของข้อมูล
Anna Zernone Giorgi, What Causes Disorders of Communication? (https://www.healthline.com/symptom/disorders-of-communication), August 2013